มาตราที่ทำโดยคนไข้ ของ มาตราประเมินความซึมเศร้า

คำถาม 2 อย่างใน Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2)[6]


(1) During the past month, have you often been bothered by feeling down, depressed, or hopeless?


(1) ในเดือนที่ผ่านมา บ่อยครั้งมีอาการไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือสิ้นหวังหรือไม่


(2) During the past month, have you often been bothered by little interest or pleasure in doing things?


(2) ในเดือนที่ผ่านมา บ่อยครั้งมีอาการเบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่

มาตราวัดความซึมเศร้าบางอย่างทำโดยคนไข้ยกตัวอย่างเช่น Beck Depression Inventory เป็นชุดคำถามที่คนไข้แจ้งเอง (self-report) ที่ถามถึงอาการเช่น ฉุนเฉียวง่าย อ่อนล้า น้ำหนักลด ไม่สนใจทางเพศ รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือกลัวถูกลงโทษ[7]เป็นมาตราวัดที่ทำโดยคนไข้เพื่อกำหนดการมีและความรุนแรงของอาการที่เข้ากับเกณฑ์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV)[8]จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ศ. นพ. อารอน ที. เบ็ก ออกแบบชุดคำถามนี้ในปี 2504[7]

มาตรา Geriatric Depression Scale (GDS) เป็นเครื่องวัดที่ทำโดยคนไข้อีกอย่างหนึ่ง แต่ในกรณีนี้ใช้กับคนสูงอายุ และสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับอ่อนจนถึงปานกลางแต่แทนคำตอบที่เลือกได้ 5 อย่าง GDS มีเพียงคำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เท่านั้น[9][10]

ส่วนมาตรา Zung Self-Rating Depression Scale คล้ายกับ GDS ตรงที่ว่า มีชุดคำตอบเหมือนกันทุกข้อมาตรานี้ มีคำถาม 20 คำถาม 10 คำถามใช้คำเชิงบวก และ 10 คำถามเป็นคำเชิงลบแต่ละคำถามมีคะแนน 1-4 ขึ้นอยู่กับคำตอบ 4 คำตอบคือ "a little of the time (น้อยครั้ง)", "some of the time (บางครั้ง)", "good part of the time (มากครั้ง)", and "most of the time (โดยมาก)"[11]

เซตคำถาม Patient Health Questionnaire เป็นมาตราวัดความซึมเศร้าที่แจ้งเองยกตัวอย่างเช่น Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9) เป็นรูปแบบย่อยหนึ่งของ Primary Care Evaluation of Mental Disorders (PRIME-MD) ที่มีคำถาม 9 คำถามโดยคนไข้แจ้งเอง[12]ส่วน Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2) เป็น PHQ-9 แบบย่อโดยมีเพียงแค่ 2 คำถามเพื่อใช้คัดกรองว่า คนไข้มีอารมณ์ซึมเศร้าและการสูญความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมปกติหรือไม่คำตอบว่ามีสำหรับคำถามใดคำถามหนึ่งล้วนชี้ว่าต้องตรวจสอบเพิ่มขึ้น[6]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 แสดงว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้คำถามแบบ 2Q เพื่อคัดกรองโรคซึมเศร้า และคำถามแบบ 9Q เพื่อประเมินโรคซึมเศร้า โดยที่คำตอบว่า "มี" ในข้อใดข้อหนึ่งใน 2Q และคะแนน 7 ขึ้นใน 9Q จะมีผลเป็นการพิจารณาของแพทย์เพื่อการวินิจฉัย[13]

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราเมร์กัลลี มาตราโบฟอร์ต มาตราโมส มาตราทองคำ