มาตราที่ทำโดยนักวิจัย ของ มาตราประเมินความซึมเศร้า

มาตราวัดความซึมเศร้าบางอย่างทำโดยนักวิจัยยกตัวอย่างเช่น Hamilton Depression Rating Scale มีคำถาม 21 คำถามโดยแต่ละถามสามารถมีคำตอบที่เป็นไปได้ 3-5 อย่างตามลำดับความรุนแรงผู้ตรวจสอบต้องเลือกคำตอบต่อคำถามแต่ละคำถามโดยสัมภาษณ์คนไข้และโดยสังเกตอาการจิตแพทย์ชาวอังกฤษ ศ. นพ. แม็กซ์ แฮมิลตัน ออกแบบชุดคำถามนี้ในปี พ.ศ. 2503 โดยเป็นแบบวัดความซึมเศร้าอย่างหนึ่งในบรรดาสองอย่างที่ใช้มากที่สุดโดยนักวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยา[2][3]อีกอย่างที่ใช้มากก็คือ Montgomery-Åsberg Depression Rating Scale ซึ่งเป็นรายการคำถาม 10 คำถามที่ทำโดยนักวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยา[2][4]มาตราอื่นรวมทั้ง Raskin Depression Rating Scale ซึ่งวัดความรุนแรงของอาการคนไข้ในเรื่อง 3 เรื่อง คือ รายงานปาก พฤติกรรม และอาการทุติยภูมิของความซึมเศร้า[5]

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราเมร์กัลลี มาตราโบฟอร์ต มาตราโมส มาตราทองคำ