มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ

มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ (อังกฤษ: Enhanced Fujita scale, หรือ EF-Scale) เป็นมาตราฉบับปรับปรุงของมาตราฟูจิตะ โดยได้รับการแก้ไขเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการสำรวจและการตรวจสอบความเสียหายของพายุทอร์นาโด เพื่อปรับความเร็วลมให้ใกล้เหมาะสมกับความเสียหายจากพายุที่อยู่ในระดับนั้นมากขึ้น รวมถึงมีการสร้างมาตรฐานในการอธิบายสิ่งที่คลุมเครือในก่อนหน้านี้ได้ดียิ่งขึ้น และการเพิ่มระดับของความเสียหายให้มากขึ้นและอธิบายตัวแปรต่าง ๆ เช่นคุณภาพสิ่งก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้นมาตรานี้ได้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะโดย National Weather Service (NWS) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐ ในการประชุม American Meteorological Society ในแอตแลนตาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 มันถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2547 โดยเป็นโครงการปรับปรุงมาตราฟูจิตะของ National Wind Institute ที่ Texas Tech University โดยทางมหาวิทยาลัยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาและวิศวกรโยธาจำนวนมากมาช่วยเหลือในการพัฒนาโครงการนี้[1]มาตราส่วนนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาหนึ่งปีหลังจากการประกาศสู่สาธารณะ เมื่อบางส่วนของรัฐฟลอริด้าตอนกลางถูกพายุทอร์นาโดหลายลูกเข้าปะทะ ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงเป็นอย่างมากโดยได้ระดับ EF3 ในระดับใหม่ มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะถูกใช้เป็นครั้งแรกในแคนาดาเมื่อพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นใกล้เมืองเชลเบิร์น รัฐออนแทรีโอ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 โดยเป็นพายุระดับ EF1[2]

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราเมร์กัลลี มาตราโบฟอร์ต มาตราโมส มาตราทองคำ