คำศัพท์เฉพาะทาง ของ มือปืนกราดยิง

สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ได้ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น" โดยไม่นับรวมการป้องกันตนเอง เหตุรุนแรงที่เกิดจากแก๊งค์หรือขบวนการค้ายาเสพติด การเสียชีวิตจากลูกหลง และความขัดแย้งภายในครอบครัว

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ ได้ให้คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงว่า "บุคคลที่มีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่จำกัดและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มือปืนกราดยิงจะใช้อาวุธปืนและไม่มีรูปแบบหรือวิธีการในการเลือกเหยื่อ"[2]

นักวิชาการบางคนวิพากษ์วิจารณ์คำศัพท์เฉพาะทางว่า "active shooter" ว่ามีการใช้อาวุธแทงหมู่จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน เช่น ในเบลเยี่ยม (การโจมตีในสถานรับเลี้ยงเด็กเดนเดอร์มอนด์ มีผู้ใหญ่เสียชีวิต 1 ราย และทารก 2 ราย) ในแคนาดา (ทางแทงกันที่คาลการีในปี พ.ศ. 2557) ในจีน (การแทงกันในปักกิง พ.ศ. 2551 ผู้ใหญ่เสียชีวิต 1 ราย) ในญี่ปุ่น (การสังหารหมู่ที่โรงเรียนโอซากาและเหตุแทงคนในซางามิฮาระ มีเด็กเสียชีวิต 8 ราย และผู้ใหญ่เสียชีวิตขณะนอนหลับ 19 ราย) และที่เพนซีเวเนีย (โรงเรียนมัธยมภูมิภาคแฟรงคลิน ไม่มีผู้เสียชีวิต) รอน บอร์ช แนะนำว่า การสังหารหมู่อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากการโจมตีด้วยทั้งอาวุธปืนและไม่ใช่อาวุธเปิดเกิดเพิ่มมากยิ่งขึ้นทั่วโลก รวมถึงการใช้การโจมตีด้วยยานพาหนะ วัตถุระเบิด อุปกรณ์ในการก่อความไม่สงบ การแทง การฟัน และการโจมตีด้วยสารที่เป็นกรด ซึ่ง เทา เบราน์ และ หน่วยงานป้องกันความรุนแรง (Violence Prevention Agency: VPA) ได้สนับสนุนการใช้คำอธิบายที่สามารถให้ความหมายแม่นยำมากยิ่งขึ้นสำหรับการโจมทีที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก (mass casualty attacker: MCA)[4]

ในคู่มือการฝึกของตำรวจ ตำรวจจะตอบสนองต่อเหตุการณ์มือปืนกราดยิงแตกต่างจากการช่วยเหลือตัวประกันและการปิดล้อมผู้ต้องสงสัย[5][6] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตอบสนองต่อผู้ต้องสงสัยติดอาวุธ โดยจะเคลื่อนกำลังเพื่อบีบวงให้ผู้ต้องสงสัยอยู่ในขอบเขตที่กำหนด รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พยายามเจรจากับผู้ต้องสงสัย และรอทีมปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ เช่นหน่วยสวาต

หากเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่ามือปืนตั้งใจจะสังหารผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจะฆ่าตัวตาย พวกเขาอาจจะใช้ยุทธวิธีในการจัดการ เช่น การปรับใช้กำลังและดำเนินการในทันที (Immediate action rapid deployment)[7][8]

คำจำกัดความของรัฐบาลกลางสหรัฐ

ในสหรัฐ พระราชบัญญัติให้ความช่วยเหลือการสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง ค.ศ. 2012 ได้ผ่านหลังจากเหตุยิงกันในโรงเรียนประถมแซนดีฮุก ในนิวทาวน์ รัฐคอนเนตทิคัต โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ชี้แจงอำนาจตามกฎหมายสำหรับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการสืบสวนแก่หน่วยงานระดับรัฐ[9][10][11][12] คำจำกัดความของ "active shooter" ได้รับการอนุมัติในเวลาต่อมาโดยทำเนียบขาว กระทรวงยุติธรรม รวมไปถึงสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ รวมถึงสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (ฟีมา) และกระทรวงศึกษาธิการ คือ:

...บุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปมีส่วนร่วมในการฆ่าหรือพยายามฆ่าผู้อื่นในพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่น โดยในคำจำกัดความนี้คือการใช้อาวุธปืนหนึ่งหรือหรายกระบอกของมือปืน[13][14]

ตรงกันข้ามกับคำจำกัดความของการสังหารหมู่หรือการฆาตกรรมหมู่ คำจำกัดความของมือปืนกราดยิงนั้นประกอบด้วยการใช้อาวุธปืน แต่ไม่รวมถึงเกณฑ์ขั้นต่ำในการเสียชีวิต (ซึ่งอาจไม่มีผู้เสียชีวิตเลยก็ได้)[10]

โครงการศึกษาเกี่ยวกับมือมือปืนกราดยิงของเอฟบีไอ

ตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติ เอฟบีไอได้เริ่มโครงการซึ่งรวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับมือปืนกราดยิงและพัฒนาทรัพยากรสำหรับการฝึกในการสนับสนุนการช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น เพื่อตอบสนอง และฟื้นตัวจากการโจมตี[13][14] โดยขอบเขตของโครงการนี้ไม่ใช่เฉพาะเกี่ยวกับการสังหารหมู่หรือการกราดยิงหมู่เท่านั้น แต่เป็น "การศึกษาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์การกราดยิงและสิ่งที่สาธารณชนอาจต้องเผชิญ"[15] คือเหตุการณ์เกี่ยวกับชาวแก๊งค์และยาเสพติดที่อยู่นอกขอบเขตเริ่มต้นของโครงการนี้[15][16] ซึ่งรายงานฉบับแรกของเอฟบีไอได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเอฟบีไอได้เผยแพร่รายงานความคืบหน้าประจำปีและแผนทบทบทวนระยะ 20 ปี[17][15][18][19][20][21]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2557 เกี่ยวกับเหตุการณ์มือปืนกราดยิงครอบคลุมช่วงปี พ.ศ. 2543 ถึง 2556 และเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลกลางสหรัฐระบุและศึกษาเหตุการณ์มือปืนกราดยิงที่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงในช่วงเวลาสำคัญ ๆ โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้น 160 ครั้ง และมีผู้เสียชีวิต 486 รายรวมอยู่ในการศึกษานี้ โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิด 6.4 เหตุการณ์ต่อปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี 2549 และเกิดเหตุการณ์ 16.4 ครั้งต่อปีระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง 2556[20]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2565 ความถี่ของเหตุการณ์มือปืนกราดยิงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 โดยมี 61 เหตุการณ์ เพิ่มขึ้น 40 จากปี พ.ศ. 2563 และ 30 จากปี พ.ศ. 2561 และ 2562 มีผู้เสียชีวิต 103 รายและบาดเจ็บ 140 รายในเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2564 (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) โดยในปี พ.ศ. 2564 เหตุการณ์มือปืนกราดยิงที่เกิดขึ้นมากขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่หลากหลายมากขึ้น และมือปืนกราดยิงในปี พ.ศ. 2564 เป็นผู้ชายเกือบทั้งหมด (ยกเว้น 1 ราย) โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 61 ราย ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจับกุม 30 ราย ถูกหน่วยบังคับใช้กฎหมายสังหาร 14 ราย ฆ่าตัวตายด้วยตนเอง 11 ราย และถูกพลเมืองดีติดอาวุธสังหาร 4 ราย[19][21]

รายงานของเอฟบีไอ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์มือปืนกราดยิงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 โดยมีผู้เสียชีวิต 100 ราย บาดเจ็บ 213 ราย (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) โดยเกิดเหตุการณ์ขึ้น 50 ครั้ง ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจับกุม 29 ราย ถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสังหาร 7 ราย ถูกพลเมืองดีติดอาวุธสังหาร 2 ราย ฆ่าตัวตายด้วยตนเอง 9 ราย และหลบหนีไปได้ 3 ราย[22]

ใกล้เคียง

มือปืน/โลก/พระ/จัน มือปืนตรัยภาค มือปืนกราดยิง มือปืน 2 สาละวิน มือปืนดาวพระเสาร์ มือปืนเพชรตัดเพชร มือปืน (ภาพยนตร์) มือปืนพระอาทิตย์ มือปืนดาวพระศุกร์ มือถือไมค์ หัวใจปิ๊งรัก

แหล่งที่มา

WikiPedia: มือปืนกราดยิง https://www.nytimes.com/interactive/2022/06/22/us/... https://web.archive.org/web/20220622111531/https:/... https://www.dhs.gov/xlibrary/assets/active_shooter... http://www.msasecurity.net/Portals/91068/docs/MSA%... http://eventscribe.com/2016/NACCHOSummit/QRcode.as... https://info.publicintelligence.net/LAactiveshoote... https://web.archive.org/web/20220711053639/https:/... https://web.archive.org/web/20161010221610/https:/... https://www.ncbrt.lsu.edu/images/news/tacticalmaga... https://www.ncjrs.gov/App/abstractdb/AbstractDBDet...