ยาลดความอ้วนร่วมสมัย ของ ยาลดความอ้วน

ผู้ป่วยบางคนพบว่า การควบคุมอาหาร และ การออกกำลักาย เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้; สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้, ยาลดความอ้วนจะเป็นที่พึ่งสุดท้าย. การสั่งยาลดน้ำหนัก บางครั้งจะประกอบไปด้วย ยากระตุ้น ซึ่งแนะนำให้ใช้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และ นั่นเป็นข้อจำกัดที่ในกลุ่มผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการลดดน้ำหนักยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี[ต้องการอ้างอิง]

โอลิสแตท

โอลิทสแตท (เซนิคาล) ลดการดูดซึมไขมันที่บริเวณลำไส้เล็กโดยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไลเปซจากตับอ่อน. อาการข้างเคียงจากการใช้ยาโอลิทสแตทที่พบได้บ่อย ได้แก่ การเคลื่อนของไขมันผ่านทางลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นมัน (สะเทียทอเรีย).แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยลง อาการเหล่านี้จะดีขึ้น. เบื้องต้นยาตัวนี้จะสั่งได้เฉพาะแพทย์เท่านั้น ยาตัวนี้เคยได้รับการยอมรับจาก FDA และจัดให้เป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 .[15] .ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2010, องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการทบทวน และ ให้เพิ่มข้อความบนเอกสารกำกับยาในเรื่องของความปลอดภัย เกี่ยวกับยาเซนิคาล ว่า มีการรายงานว่ามีการเกิดพิษและเป็นอันตรายอย่างรุนแรงกับตับ ซึ่งพบได้น้อย โดยพบการรายงานการเกิดพิษกับตับจำนวน 13 รายจากการใช้ยาเซนิคาลทั้งหมด 40 ล้านคน[16]

โลคาเซริน

โลคาเซริน เบลวิก ได้รับการยอมรับในวันที่ 28 มิถุนายน 2012 ให้สามารถใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคร่วม. น้ำหนักเฉลี่ยที่ลดได้จากการศึกษาพบว่ามีรายงานอยู่, แต่อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ พบว่าเกิดเป็นเนื้องอก.[ต้องการอ้างอิง]

จากส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งทำโดยอารีนา ฟาร์มาซูติคอล และต่อมาได้เสนอเพื่อขอให้ FDA ตรวจสอบ:

At the end of Year 1 of the BLOOM trial, using Intent-to-Treat with Last Observation Carried Forward analysis (ITT-LOCF), the proportion of patients achieving at least 5% body weight loss in the lorcaserin group (47.5%) was more than twice that achieved by the placebo group (20.3%). Nearly three times as many patients achieved at least 10% weight loss in the lorcaserin group (22.6%) than in the placebo group (7.7%). Lorcaserin patients who completed the first year of the trial according to the protocol lost an average of 8.2% of their baseline weight, or approximately 18 pounds, at the end of Year 1 as compared to approximately 7 pounds in the placebo group. In Year 2, patients who continued to take lorcaserin were significantly better able to maintain their Year 1 weight loss than those who were switched to placebo.

In Year 1, lorcaserin caused significant decreases in waist circumference, BMI, glycemic parameters, high-sensitivity C-reactive protein, and fibrinogen levels compared to placebo. Total cholesterol, LDL cholesterol and triglyceride levels at Year 1 were significantly lower in the lorcaserin group than in the placebo group. Lorcaserin did not increase heart rate or blood pressure; rather, heart rate, systolic blood pressure and diastolic blood pressure decreased slightly but significantly with lorcaserin treatment compared to placebo. Quality of life, measured by the Impact of Weight on Quality of Life-Lite questionnaire, improved in both treatment groups, with a greater improvement in the lorcaserin group than in the placebo group.

At the end of Year 1, 55.4% of patients in the lorcaserin group and 45.1% of patients in the placebo group remained enrolled in the study, and 7.1% and 6.7% of patients, respectively, discontinued the study due to an adverse event. Among the most frequent adverse events reported with lorcaserin were headache (18.0% vs. 11.0%, lorcaserin vs. placebo); dizziness (8.2% vs. 3.8%); and nausea (7.5% vs. 5.4%). The rates of serious adverse events were similar in both treatment groups. The rates of depression and the incidence of anxiety and suicidal thoughts were low in both treatment groups. Lorcaserin caused no significant increase compared to placebo in the incidence of new cardiac valvulopathy.

ไซบูทรามีน

ไซบูทรามีน (รีดักติล หรือ เมริเดีย) เป็นยาที่ทำให้ เบื่ออาหาร หรือกดความอยากอาหาร, ลดความต้องการของการอยากรับประทานอาหาร. ไซบูทรามีน อาจเพิ่มความดันโลหิตสูง และเป็นสาเหตุให้ปากแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ

ในอดีต, ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการบันทึกไว้ว่า ยาเมริเดียนเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะโรคอ้วนที่มีอันตรายน้อย. ศาลแขวงของสหรัฐอเมริกาของอำเภอในภาคเหนือของรัฐโอไฮโอต้องยกฟ้องคดี จำนวน 113 ราย ที่ยื่นฟ้องว่ายาไม่ได้ผลในการรักษา แต่พบว่าไม่มีข้อมูล หรือหลักฐานสนับสนุนมากพอ.[17]

ไซบูทรามีน ได้ถูกถอนออกจากตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา, [18] อังกฤษ[19] ยุโรป, [20] ออสเตรเลีย, [21] แคนาดา, [22] ฮ่องกง [23] และ โคลัมเบีย.[24] ความเสี่ยนงของยาตัวนี้ (กล้ามเนื้อหัวใจตาย แบบไม่คุกคาม และโรคหลอดเลือดสมองแตก) พบการรายงานว่ามีมากกว่าข้อดี.[25]

ไรโมนาแบนท์

ไรโมนาแบนท์ (เอคอมเพลีย) เป็นยาที่เพิ่งนำมาใช้ในการเป็นยาลดความอ้วน. ยาตัวนี้คือ สาร แคนาบินอยด์ (CB1) รีเซ็บเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองโดยจะลดความอยากอาหาร.[26] และยาตัวนี้อาจมีผลเพิ่มอุณหภูมิในร่างการ ดังนั้นก็จะมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นด้วย.[26]

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักลดจากการใช้ยาไรโมนาแบนท์พบว่า ไม่ได้มีผลมากกว่าการใช้ยาลดน้ำหนักตัวอื่น ๆ [26] และเนื่องจากการคำนึงถึงความปลอดภัย และ ภาวะทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ ยาตัวนี้จึงไม่ได้รับการยอมรัลให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา หรือ แคนาดา ทั้งในการเป็นยารักษาภาวะโรคอ้วน และ ยาหยุดบุหรี่.[ต้องการอ้างอิง]

ซาโนฟี่ - อแวนติส ได้รับการยอมรับให้มีการจำหน่ายยาไรโมนาแบนท์ได้ในท้องตลาด ในการใช้เป็นยารักษาภาวะโรคอ้วนในประเทศทางยุโรป โดยมีข้อจำกัดการใช้.[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม, ในเดือนคุลาคม ปี 2008, ยูโรเปี้ยนเมดิซินเอเจนซี่ (EMEA) ได้เสนอว่า ยา เอคอมเพลีย ไม่มีขายแล้วในประเทศอังกฤษr.[ต้องการอ้างอิง] หนึ่งเดือนต่อมา ซาโนฟี่ - อแวนติส ตัดสินใจขที่จะหยุดการศึกษาการใช้ยาไรโมนาแบนท์ในทุก ๆ ข้อบ่งใช้ [โปรดขยายความ]

เมทฟอร์มิน

ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยา เมทฟอร์มิน (กลูโคฟาส) สามารถลดน้ำหนักได้.[27]ยาเมทฟอร์มินจะจำกัดหรือลดปริมาณกลูโคสซึ่งถูกสร้างโดยตับ และเพิ่มปริมาณการเผาผลาญกลูโคส .[28]

อีเซนาไทด์

ยา อีเซนาไทด์ (ไบเอ็ทต้า) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เนิ่น โดยเป็นยาที่มีโครงสร้างคล้าย ฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งลำไส้เล็กจะสร้างขึ้นเมื่อมีอาหารผ่านเข้ามา. ฤทธิ์อื่น ๆ ของฮอร์โมน GLP-1 คือ จะขยายเวลาที่ลำไส้จะว่างจากอาหารยาวนานขึ้น และท้ำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น.ผู้ป่วยโรคอ้วนบางคนมีภาวะพร่องฮอร์โมน GLP-1, และควบคุมอาหารเพื่อลดฮอร์โมน GLP-1 .[29] ไบเอ็ทตา เป็นยาที่เพิ่งมีการใช้ในการรักษา โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. ผู้ป่วยบางคน ไม่ทั้งหมด พบว่าพวกเขาน้ำหนักลดเมื่อใช้ยาไบเอ็ทต้า. ข้อเสียเปรียบของยาไบเอ็ทต้าคือจะต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละ 2 ครั้ง. และในผู้ป่วยบางคน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้รุนแรง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการรักษาเริ่มต้นซึ่งไบเอ็ทต้าถูกกำหนดให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยาที่เหมือนกันอีกตัว คือ ไซมิน ซึงเป็นยาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน และ ได้มีการนำมาทดลองใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน.[ต้องการอ้างอิง]

แพรมลินไทด์

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (April 2012)

แพรมลินไทด์ (ซิมลิน) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนอะไมลิน ซึ่งในคนปกติฮอร์โมนนี้จะหลั่งมาจากตับอ่อนเมื่อมีการรับประทานอาหาร ผลอื่น ๆ ของอะไมลินที่มีต่อร่างกาย คือ ยาจะขยายเวลาที่ลำไส้จะว่างจากอาหารยาวนานขึ้น และเพิ่มช่วงเวลาอิ่มให้นานขึ้น. ยาลดน้ำตาลจำนวนมากที่พร่องเอะไมลิน. ปัจจุบันนี้ ไซมิน เป็นเพียงตัวเดียวที่ได้รับการยอมรับให้ใช้คู่กับอินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม ไซมิน ได้มีการนำมาทดลองใช้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานเพื่อใช้รักษาภาวะดรคอ้วนด้วย ข้อเสียเปรียบของยาไซมิน คือ จะต้องฉีดพร้อมรับประทานอาหาร

ยาอื่น ๆ

ยาลดน้ำหนักตัวอื่น ๆ จะทำให้เกดภาวะแทรกซ้อนซึ่งต้องพบแพทย์ ได้แก่ ความดันในหลอดเลือดแดงในปอดสูงร้ายแรง (fatal pulmonary hypertension) และ เกิดภาวะโรคลิ้นหัวใจซึ่งเกิดจากยา รีดั๊กซ์ และ ยา เฟน-เฟน, และภาวะเลือดออกจากโรคหลอดเลือดแตกในสมอง ซึ่งเกิดจาก ยา ฟีนิลโพรพาโนลามีน.[30][31] ยาต่าง ๆ เหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มของแอมเฟตามีน.

โปรแกรมการลดน้ำหนักที่ไม่ได้สั่งการรักษาโดยแพทย์ และไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักซึ่งมีเป็นจำนวนมากโดยโฆษณาผ่านสื่อทางอินเทอร์เน็ต. องค์การอาหารและยา (FDA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้มีการระวังการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้, [32] เนื่องจาก ทั้งความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพยังไม่ปรากฏแน่ชัด.[33]ในแต่ละคนที่เกิดภาวะกลัวอ้วน หรือโรค อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา และนักกีฬาบางคน พยายามที่จะควบคุมน้ำหนักโดยใช้ ยาระบาย ยาควบคุมน้ำหนัก หรือ ยาขับปัสสาวะ, ทั้ง ๆ ที่ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการลดไขมันในร่างกาย.[34] ผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นยาระบาย จะทำให้เกิดภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่กล้ามเนื้อและ/หรือที่หัวใจตามมาได้. ไพรูเวท เป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันแพร่หลายในการนำมาใช้iลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อย . อย่างไรก็ตาม, ไพรูเวท ซึ่งสามารถพบได้ในแอ๊ปเปิ้ลแดง, เนยแข็ง และไวน์แดง ยังไม่ถูกนำมาศึกษากันมากมายรวมทั้งผลที่ลดน้ำหนักได้ก็ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่.[35]

Phเฟนเทอร์มีน / โทพิราเมท

ดูบทความหลักที่: Phentermine/topiramate

การใช้ยาร่วมกันของ เฟนเทอร์มีน และ โทพิราเมท, ในชื่อกาค้าว่า คิวซิมเนีย (ก่อนหน้านี้มีชื่อว่า คิวเน็กเซีย) ได้รับการยอมรับโดยองค์การอาหารและยา (FDA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อววันที่ 17 กรกฎาคม 2012 ให้ใช้ในการรักษาภาวะโรคอ้วนโดยให้ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและโปรแกรมการออกกำลังกาย [36]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาลดความอ้วน http://trove.nla.gov.au/ndp/del/article/52188122 http://www.cbc.ca/health/story/2007/01/02/rimonaba... http://hc-sc.gc.ca/dhp-mps/medeff/advisories-avis/... http://www.hc-sc.gc.ca/ahc-asc/media/advisories-av... http://media.aace.com/press-release/research-shows... http://news.google.com/newspapers?nid=1301&dat=193... http://www.medicinenet.com/acarbose-oral/article.h... http://www.nature.com/nrd/journal/v5/n11/abs/nrd21... http://www.peptimmune.com http://bf4dv7zn3u.search.serialssolutions.com/?ctx...