ภูมิหลัง ของ ยุทธการที่ฝรั่งเศส

แนวมาฌีโน

ดูบทความหลักที่: แนวมาฌีโน

ช่วงทศวรรษที่ 1930 ฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันที่ชื่อ "แนวมาฌีโน" (Ligne Maginot) ตามแนวพรมแดนร่วมกับเยอรมัน ตลอดเส้นนี้เต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และอาวุธ จุดประสงค์ของแนวป้องกันนี้คือทางฝรั่งเศสสามารถลดจำนวนกำลังคนในการรบกับเยอรมันโดยตรงและสามารถบังคับให้เยอรมนีเลือกส่งกองทัพหลักเข้าบุกผ่านเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสจึงจะสามารถส่งหน่วยทหารมือดีที่ไปรบกับทหารเยอรมันในเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นนอกตัวประเทศของฝรั่งเศสเอง เป็นกลายหลีกเลี่ยงการทำลายล้างเหมือนในสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนหลักของแนวมาฌีโนเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณพรมแดนทที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ และลากยาวตามแนวชายแดนร่วมกับเยอรมัน ผ่านป่าอาร์แดนจนไปถึงชายแดนเบลเยียม ช่วงที่ขนานไปตามแนวชายแดนเบลเยียมเป็นส่วนที่มีการป้องกันไม่หนาแน่นเท่ากับส่วนที่ติดกับชายแดนของเยอรมนี พื้นที่ของป่าอาร์แดนนั้นเต็มไปด้วยต้นไม้และหุบเขาจึงทำให้มีการต่อเติมและสร้างแนวป้องกันลำบาก พลเอกอาวุโสฟีลิป เปแต็ง นั้นได้ประกาศว่า "อาร์แดนไม่มีวันแตก" ตราบใดที่ "บทบัญญัติพิเศษ" เมื่อกองทัพหลังของเยอรมันโผล่ออกมาจากอาร์แดนด้วยการตีขนาบ จะต้องถูกทำลายอย่างแน่นอน ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพฝรั่งเศส พลเอกมอริส กาเมอแล็ง เองก็เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนั้นปลอดภัยมากจากการถูกโจมตีเช่นกันและยังได้กล่าวไว้ว่า "มันไม่เคยเอื้ออำนวยต้องยุทธการใหญ่ๆ" ด้วยความเชื่อเช่นนี้ทำให้ฝรั่งเศสวางกำลังทหารไว้ในพื้นที่นี้เพียงสิบกองพล พวกเขาเชื่อว่าแนวมาฌีโนนั้นแข็งแกร่งพอที่จะถ่วงเวลาให้กองทัพฝรั่งเศสระดมพลไปที่แนวรบและโต้กลับได้อย่างรวดเร็ว

การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี

ดูบทความหลักที่: การบุกครองโปแลนด์

ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมันก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง[7][8] ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ของปีนั้นและประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ โอกาสที่ทางโซเวียตนั้นจะเข้ามาช่วยเหลือโปแลนด์ไม่มีอีกแล้วเพราะความตกลงมิวนิกในปี 1938 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตพึ่งลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันซึ่งรวมไปถึงการแบ่งดินแดนของโปแลนด์ และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสทำได้แค่เพียงมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งนั้นวางแผนที่จะให้มันเป็นสงครามที่นานจึงสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมทำการรับมือกับการรุกรานจากเยอรมนี และทำให้เศรษฐกิจสงครามของเยอรมันอ่อนตัวลงโดยการปิดล้อมการค้า[9]

สงครามลวง

ดูบทความหลักที่: การรุกซาร์ลันท์ และ สงครามลวง

7 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสยกกำลัง 98 กองพล (มีเพียง 28 กองพลที่เป็นทหารกองหนุน) พร้อมยานเกราะ 2,500 คันออกนอกแนวมาฌีโนราว 5 กิโลเมตรเพื่อไปยังซาร์ลันท์ เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของเยอรมนีซึ่งถูกป้องกันโดย 43 กองพลเยอรมัน (กว่า 32 กองพลเป็นทหารกองหนุน) และไม่มียานเกราะเลย จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าในทุกมิติ กองพลฝรั่งเศสรุดหน้าไป 5 กิโลเมตรจนเกือบจะถึงแนวซีคฟรีทของเยอรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ในวันที่ 17 กันยายน พลเอกกาเมอแล็งเปลี่ยนใจ มีคำสั่งให้ถอนกำลังกลับมาหลังแนวมาฌีโน ยุทธศาสตร์ของพลเอกกาเมอแล็งคือรอจนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษมีความพรั่งพร้อมด้านยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เสียก่อน ภายหลังจบการรุกซาร์ลันท์ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าสงครามลวง (Phoney War) หรือที่เยอรมนีเรียกว่าสงครามนั่ง (Sitzkrieg) ฮิตเลอร์หวังว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะยอมรับการยึดครองโปแลนด์และประนีประนอมสันติภาพโดยเร็ว ฮิตเลอร์เสนอข้อตกลงสันติภาพไปยังสองมหาอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม[10]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่บะดัร ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก