เหตุการณ์ ของ ยุทธการที่ฝรั่งเศส

แนวรบตอนเหนือ

9 พฤษภาคม เวลา 21:00 น. มีคำสั่งใช้รหัส Danzig ไปยังกองพลเยอรมันทุกหน่วยเพื่อสั่งใช้ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองทัพเยอรมันเปิดฉากเข้ายึดประเทศลักเซมเบิร์กโดยไร้การต่อต้าน[11] กองทัพกลุ่ม B เปิดปฏิบัติการเข้ารุกตีประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในตอนกลางคืน เมื่อเข้าสู้เช้าวันที่ 10 พฤษภาคม หน่วยพลร่มเยอรมันจากกองพลเหินเวหาที่ 7 (7. Flieger-Division) และกองพลร่อนอากาศที่ 22 (22. Luftlande-Division) ทิ้งตัวจากอากาศและเข้าจู่โจมกรุงเฮกและเส้นทางสู่เมืองรอตเทอร์ดามอย่างไม่ทันตั้งตัว หน่วยพลร่มเยอรมนี้เป็นหน่วยเคลียร์ทางเพื่อให้กองทัพกลุ่ม B รุกได้อย่างสะดวก[12]

กองบัญชาการฝรั่งเศสตอบโต้ทันควันโดยการส่งกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสขึ้นเหนือเพื่อปฏิบัติตามแผลดีล ซึ่งถือเป็นหน่วยทหารที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส แต่เมื่อกองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสข้ามชายแดนสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็พบว่ากองทัพเนเธอร์แลนด์ถูกรุกตีจนต้องถอยร่นอย่างเต็มกำลังไปป้องกันเมืองแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียม[13]

บุกครองเนเธอร์แลนด์

เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีแนวป้องกันทางน้ำที่เรียกว่าปราการฮอลแลนด์เป็นแนวต่อต้านสำคัญทางบก ลุฟท์วัฟเฟอจึงได้รับมอบหมายโจมตีและยึดครองกรุงเฮกในปฏิบัติการที่เรียกว่า "ยุทธการที่เดอะเฮก" เครื่องบินที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง 247 ลำ, เครื่องบินต่อสู่ 147 ลำ, เครื่องบินลำเลียงยูห้าสิบสอง 424 ลำ และเครื่องบินสะเทินน้ำ 12 ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องบินต่อสู้เพียง 144 ลำ ซึ่งกว่าครึ่งในจำนวนนี้ถูกทำลายตั้งแต่วันแรก เครื่องบินลำที่เหลือก็กระจายตัวต่อสู่และยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้เพียงไม่กี่ลำ ปฏิบัติการต่อต้านของเนเธอร์แลนด์เสียเครื่องบินไปทั้งหมดถึง 110 ลำ[14]

ยุทธการของลุฟท์วัฟเฟอในครั้งนี้กลับประสบความล้มเหลว เนเธอร์แลนด์ยังรักษากรุงเฮกไว้ได้อยู่[15] แม้ฝ่ายเยอรมันสามารถยึดลานบินโดยรอบกรุงเฮกไว้ได้แต่ก็เสียทหารและเครื่องบินลำเลียงจำนวนมาก แต่ก็ถูกทหารเนเธอร์แลนด์สามารถยึดคืนได้ก่อนสิ้นวัน[16] ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของเนเธอร์แลนด์สามารถยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้ 96 ลำ[15] เครื่องบินลำเลียงของลุฟท์วัฟเฟอถูกยิงตก 125 ลำและเสียหาย 47 ฝ่ายเยอรมันใช้ทหารพลร่มในครั้งนี้กว่า 4,000 นาย ในจำนวนนี้กว่า 1,200 นายตกเป็นเชลยและถูกย้ายไปค่ายกักกันเชลยบนเกาะบริเตนใหญ่[17]

เมืองรอตเทอร์ดามหลังถูกทิ้งระเบิด

กองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสไม่สามารถสกัดกั้นกองพลยานเกราะที่ 9 (9. Panzer-Division) ที่มาถึงเมืองรอตเทอร์ดามในวันที่ 13 พฤษภาคม ในวันเดียวกันนี้ การโต้กลับทางด้านตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ประสบความล้มเหลว ทหารเนเธอร์แลนด์ต้องถอยร่นมายังแนวปราการฮอลแลนด์ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในค่ำวันที่ 14 พฤษภาคม เมื่อลุฟท์วัฟเฟอใช้เครื่องบินไฮง์เคิล เฮ 111 ทิ้งระเบิดที่เมืองรอตเทอร์ดาม รัฐบาลเนเธอร์แลนด์กลัวว่าหายนะแบบเดียวจะเกิดขึ้นกับเมืองอื่น จึงยอมจำนนต่อเยอรมนีอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเสด็จลี้ภัยไปประเทศอังกฤษและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่นั่น ศึกครั้งนี้ได้คร่าชีวิตทหารเนเธอร์แลนด์ 2,357 นายและพลเรือน 2,559 คน[18]

บุกครองเบลเยียม

กองทัพเยอรมันมีอำนาจเหนือน่านฟ้าเบลเยียมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจากการลาดตระเวนของเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอจึงสามารถทำลายเครื่องบิน 83 ลำจาก 179 ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ภายในเวลา 24 ชั่วโมงตั้งแต่เริ่มบุก ฝ่ายเบลเยียมมุ่งเน้นไปที่การต้านทางบกและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านทางอากาศ ทำให้ท้ายที่สุด ลุฟท์วัฟเฟอมีอำนาจครองน่านฟ้าทั้งหมดของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ[19]

กองทัพกลุ่ม B ของเยอรมันที่บุกเข้ามาจากทางเนเธอร์แลนด์ มีการจัดวางกำลังที่อ่อนด้อยลงกว่าตอนแรก ทำให้เมื่อถูกรุกตีลวงโดยกองทัพที่ 6 ของฝรั่งเศส ฝ่ายเยอรมันก็ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงทันที ขณะเดียวกัน แนวต้านของเบลเยียมที่คลองอัลเบิร์ตมีความเข้มแข็งมาก ทางแยกบริเวณแม่น้ำมิวเซอและอัลเบิร์ตอยู่ภายใต้การป้องกันโดยป้อมปราการเอเบิน-เอมาเอล ปราการขนาดใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในยุโรป การรุกของเยอรมันดูท่าจะต้องล่าช้าออกไป[20]

แผนที่ที่ตั้งของปราการเอเบิน-เอมาเอล

ความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการทั้งหมด ตามแผนแล้ว ฝ่ายเยอรมันจำเป็นปะทะกับทัพหลักของสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนที่กองทัพกลุ่ม A จะตั้งฐานที่มั่นแล้วเสร็จ ที่สุดแล้ว ในเช้าวันที่ 10 พฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันไม่มีทางเลือก จึงได้จัดหน่วยจู่โจมพิเศษ ใช้เครื่องร่อนลงด้านบนของปราการเอเบิน-เอมาเอล เพื่อทำลายปืนใหญ่หลักของป้อมปราการ ขณะเดียวกัน หน่วยพลร่มจะเข้ายึดสะพานข้ามคลองอัลเบิร์ต ฝ่ายเบลเยียมโต้กลับหลายหนแต่ก็ถูกขัดขวางโดยลุฟท์วัฟเฟอ การที่ปราการที่แกร่งที่สุดได้แตกลงสร้างความตกตะลึงแก่บรรดาผู้นำทหารของเบลเยียม กองบัญชาการใหญ่เบลเยียมสั่งการให้ถอยทัพมาตั้งหลักที่แนว KW ซึ่งเร็วกว่าที่คิดไว้ถึงห้าวัน ข่าวความพ่ายแพ้ที่ชายแดนเบลเยียมทำให้ฝรั่งเศสวิตกมาก ฝรั่งเศสโน้มน้าวให้เบลเยียมต่อสู้ต่อไปเพื่อถ่วงเวลาให้ฝรั่งเศสสร้างแนวรับที่ฌ็องบลู

แนวรบตอนกลาง

จังหวัดอาร์แดน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ยุทธการที่เซอด็อง

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่บะดัร ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก