ยุทธวิธีทหารราบเคลื่อนที่ ของ ยุทธวิธีทหารราบ

การเข้าตีของทหารราบโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

มีการพัฒนายุทธวิธีทหารราบใหม่โดยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการสงครามยานเกราะ ซึ่งปรากฏในบลิทซ์ครีก การรบประกอบด้วยทหารราบทำงานร่วมกับรถถัง อากาศยาน ปืนใหญ่มากกว่าที่เคยเป็นมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรบผสมเหล่า ตัวอย่างหนึ่งของการรบผสมเหล่าคือจะมีการส่งทหารราบไปหน้ารถถังเพื่อค้นหาทีมต่อสู้รถถัง วิทยุพกพาทำให้ผู้บัญชาการสนามสื่อสารกับกองบังคับการได้ ทำให้มีการถ่ายทอดคำสั่งได้ทันที

การพัฒนาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือวิธีการขนส่ง ทหารไม่ต้องเดิน (หรือขี่ม้า) จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยยานยนต์ยังมีน้อยอยู่ เยอรมนีใช้ม้าเพื่อการขนส่งในสงครามโลกครั้งที่สองมากกว่าในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกองทัพบริติชเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 1944 ยังไม่ได้ใช้ยานยนต์ทั้งหมด แม้มีรถบรรทุกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว แต่ความคล่องตัวของรถบรรทุกไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพราะการคุมเชิงกันในการสงครามสนามเพลาะ ตลอดจนภูมิประเทศที่ถูกทำลายย่อยยับที่แนวหน้าและประสิทธิภาพต่ำของยานพาหนะในเวลานั้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สามารถเคลื่อนย้ายทหารราบจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้โดยใช้รถกึ่งสายพาน รถบรรทุกหรือแม้แต่อากาศยาน ซึ่งทำให้ทหารราบพักผ่อนดีขึ้นและสามารถรบได้เมื่อถึงเป้าหมายแล้ว

มีการวางกำลังพลร่ม เป็นทหารราบแบบใหม่เช่นกัน ทหารเหล่านี้ติดอาวุธเบาและกระโดดร่มหลังแนวข้าศึกเพื่อหวังจู่โจมข้าศึกโดยไม่ให้ตั้งตัว ฝ่ายเยอรมันใช้ครั้งแรกในปี 1940 เพื่อยึดวัตถุประสงค์สำคัญและยึดไว้นานพอให้กำลังเพิ่มเติมมาถึง ทว่าพลร่มต้องการการสนับสนุนทันท่วงทีจากกำลังรบหลัก กองพลส่งทางอากาศที่ 1 ของบริเตนถูกกวาดล้างที่อาร์นเฮม หลังถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง

เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามรถถัง ทหารราบสงครามโลกครั้งที่สองมีตัวเลือกน้อยมากนอกจากระเบิดที่เรียก "โมโลตอฟค็อกเทล" (ทหารจีนใช้ครั้งแรกต่อรถถังญี่ปุ่นรอบเซี่ยงไฮ้ในปี 1937[17]) และปืนเล็กยาวต่อสู้รถถัง ทั้งสองอย่างไม่มีประสิทธิภาพมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายานเกราะมีทหารราบสนับสนุน ทั้งสองวิธี รวมทั้งทุ่นระเบิดต่อสู้รถถังในเวลาต่อมา ซึ่งบางส่วนสามารถติดกับรถถังด้วยแม่เหล็ก ต้องอาศัยผู้ใช้เข้าใกล้ พัฒนาการภายหลังอย่างบาซูกา พีไอเอที และพันแซร์เฟาสท์ ทำให้การเข้าตีมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อยานเกราะจากระยะไกล ฉะนั้น รถถังจึงถูกบีบให้มีหมู่ทหารราบสนับสนุน โดยเฉพาะในเขตซากเมือง

นาวิกโยธินโดดเด่นขึ้นมาระหว่างสงครามแปซิฟิก ทหารเหล่านี้มีสามารถในการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกระดับที่เคยทราบมาก่อน ในฐานะทหารราบนาวิก ทั้งนาวิกโยธินญี่ปุ่นและอเมริกันได้รับการสนับสนุนจากเรือ อย่างเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน และเรือบรรทุกเครื่องบินที่พัฒนาใหม่ เช่นเดียวกับทหารราบปกติ นาวิกโยธินใช้วิทยุสื่อสารกับส่วนสนับสนุน และสามารกเรียกการทิ้งระเบิดทางทะเลและอากาศได้อย่างรวดเร็ว

ความแพร่หลายของเฮลิคอปเตอร์หลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เกิดยุทธวิธีการเคลื่อนที่ทางอากาศอย่างการโอบทางอากาศ

ยุทธวิธีหมู่

ยุทธวิธีรุก

ยุทธวิธีหมู่ก้าวร้าวคล้ายกันทั้งสองฝ่าย แม้รายละเอียดในอาวุธ จำนวนและรายละเอียดของหลักนิยมแตกต่างกัน เป้าหมายหลักคือการรุกคืบด้วยวิธีการยิงและเคลื่อนที่โดยให้มีกำลังพลสูญเสียน้อยที่สุด ระหว่างที่รักษาประสิทธิภาพและการควบคุมหน่วย

ชุดเยอรมันจะชนะ ฟอยเออร์คัมฟ์ (การยิงปะทะ) จากนั้นยึดตำแหน่งสำคัญ ชุดปืนเล็กยาวและปืนกลไม่ได้แยกกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของกรุพเพอ แม้ทหารมักยิงได้ตามใจ ชัยจะเป็นของฝ่ายที่สามารถสะสมการยิงถูกเป้าหมายมากที่สุดและเร็วที่สุด โดยทั่วไปทหารได้รับคำสั่งให้หยุดยิงจนข้าศึกอยู่ในระยะ 600 เมตรหรือน้อยกว่า เมื่อทหารเปิดฉากยิงใส่เป้าหมายใหญ่เป็นหลัก ทหารจะถูกยิงจากระยะไม่เกิน 400 เมตร

ชุดเยอรมันมีสองรูปขบวนหลักระหว่างเคลื่อนที่บนสนามรบ เมื่อรุกคืบในไรเฮอ (Reihe) หรือแถวตอนเดี่ยว ซึ่งผู้บังคับหมู่นำแถว ตามด้วยพลปืนกลและผู้ช่วย ตามด้วยพลปืนเล็กยาว โดยมีผู้ช่วยผู้บังคับหมู่เคลื่อนที่ปิดท้าย ไรเออเคลื่อนที่ส่วนใหญ่บนเส้นทางและปรากฏเป็นเป้าขนาดเล็กจากด้านหน้า ในบางกรณี สามารถวางกำลังปืนกลขณะที่ชุดที่เหลือยึดด้านหลัง ในกรณีส่วนใหญ่ ทหารใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศ อยู่หลังกำบัง และวิ่งออกสู่ที่โล่งเมื่อไม่มีกำบัง

ไรเฮอยังสามารถก่อเป็นชึทเซนเคทเทอหรือแถวขยายได้โดยง่าย มีการวางกำลังปืนกล ณ จุดนั้น ส่วนพลปืนเล็กยาวเติมขึ้นมาทางฝั่งขวา ซ้ายหรือทั้งสองฝั่ง ผลคือได้แนวขาดตอนซึ่งทหารอยู่ห่างกันห้าก้าว เข้ากำบังเมื่อใดก็ตามที่หาได้ ในพื้นที่ซึ่งการต้านทานรุนแรง ชุดจะดำเนินการ "ยิงและเคลื่อนที่" ซึ่งอาจใช้โดยทั้งหมู่ หรือชุดปืนกลนั่งลงขณะที่พลปืนเล็กยาวรุกหน้า ผู้บังคับบัญชามักระวังไม่ยิงปืนกลจนถูกการยิงของข้าศึกบีบ วัตถุประสงค์ของการยิงปะทะไม่จำเป็นต้องเป็นไปเพื่อทำลายข้าศึก แต่เพื่อปราบ ทำให้เงียบหรือทำให้หมดสมรรถภาพ

ระยะสุดท้ายของการปฏิบัติหมู่บุก คือ การยิงต่อสู้ การรุก การโจมตีและการยึดครองตำแหน่ง

การยิงต่อสู้ เป็นตอนของหน่วยยิง ผู้บังคับตอนดังกล่าวปกติสั่งให้พลปืนกลเบาเปิดฉากยิงใส่ข้าศึก หากมีกำบังอยู่มากและผลการยิงที่ดีเป็นไปได้ พลปืนเล็กยาวจะเข้าร่วมรบด้วยเร็ว พลปืนเล็กยาวส่วนมากต้องอยู่ที่แนวหน้าภายหลังเพื่อเตรียมการโจมตี ปกติพลปืนเล็กยาวยิงแยกกันยกเว้นผู้บังคับบัญชาสั่งให้พุ่งไปยังเป้าหมายเดียว

การรุก เป็นตอนที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าในรูปขบวนอย่างหลวม ปกติพลปืนกลเบาเป็นแนวการเข้าตี ยิ่งพลปืนเล็กยาวตามหลังพลปืนกลเบาไกลมากเท่าใด ปืนกลด้านหลังยิ่งสามารถยิ่งผ่านพลปืนเล็กยาวได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

การโจมตี เป็นการบุกหลักในการปฏิบัติของหมู่ ผู้บังคับบัญชาโจมตีเมื่อใดที่เขามีโอกาสไม่ใช่เมื่อได้รับคำสั่งให้ทำเช่นนั้น ทั้งตอนรีบรุดไปโจมตีระหว่างที่ผู้บังคับบัญชานำทาง ตลอดการโจมตี ต้องประจัญบานข้าศึกด้วยอัตราการยิงสูงสุด พลปืนกลเบาเข้าร่วมในการโจมตี ยิงระหว่างเคลื่อนที่ไปด้วย หมู่ใช้ระเบิดมือ ปืนพกกล ปืนเล็กยาว ปืนพก และพลั่วสนามพับได้ และพยายามฝ่ายการต้านทานของข้าศึก หมู่ต้องจัดระเบียบใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อการโจมตีสิ้นสุด

เมื่อครอบครองตำแหน่ง ชุดพลปืนเล็กยาวจัดกลุ่มเป็นกลุ่มละสองหรือสามคนรอบพลปืนเล็กยาวเพื่อให้ได้ยินผู้บังคับตอน

รูปขบวนพื้นฐานของชุดอเมริกันคล้ายกับรูปขบวนพื้นฐานของเยอรมัน แนวชุดของสหรัฐมีทหารกระจายออกโดยมีหัวหน้าชุดและทหารปืนเล็กยาวอัตโนมัติบราวน์นิง (BAR) นำหน้าพลปืนเล็กยาวเป็นแนวอยู่ด้านหลังประมาณ 60 ก้าว รูปขบวนนี้ควบคุมและดำเนินกลุยทธ์ได้ง่าย และเหมาะสมสำหรับพื้นที่ข้ามซึ่งเปิดโล่งต่อการยิงด้วยปืนใหญ่ เคลื่อนผ่านเส้นทางมีกำบังแคบ ๆ และการเคลื่อนที่เร็วในป่า หมอก ควันและความมืด

แถวขยาย คล้ายกับรูปขบวนชึทเซนเคทเทอ ในรูปขบวนดังกล่าว มีการวางกำลังชุดเป็นแถวยาวประมาณ 60 ก้าว ซึ่งเหมาะสมสำหรับการโผเร็วสั้น ๆ แต่ควบคุมได้ไม่ง่าย รูปลิ่มชุด เป็นทางเลือกของแถวขยาย และเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่พร้อมในทุกทิศทางหรือโผล่ออกจากกำบัง ลิ่มมักใช้ห่างจากพิสัยการยิงของพลปืนเล็กยาวเพราะมีความเปราะบางมากกว่าแถวขยาย

ในบางโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชุดทำงานแยกกันเพื่อยึดตำแหน่งของข้าศึก ผู้บังคับบัญชาสั่งชุดให้เข้าตีเป็นหมู่ย่อย "ชุดเอเบิล" ประกอบด้วยพลลาดตระเวนปืนเล็กยาวสองนาย ซึ่งคอยหาตำแหน่งข้าศึก "ชุดเบเกอร์" ประกอบด้วยพล BAR และพลปืนเล็กยาวสามนาย จะเปิดฉากยิง "ชุดชาร์ลี" ประกอบด้วยหัวหน้าชุดและพลปืนเล็กยาวห้านายที่เหลือจะโจมตี การโจมตีจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ที่เป็นไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคืบหน้าของหมู่อื่น หลังการโจมตี หมู่จะรุก หลบหากำบังและติดดาบปลายปืน และจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วใส่ข้าศึก ยิงและรุกในพื้นที่ที่ทหารฝ่ายตรงข้ามยึดครอง ปกติมีการยิงดังกล่าวในตำแหน่งยืนด้วยอัตราเร็ว หลังยึดตำแหน่งข้าศึกแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้หมู่ป้องกันตำแหน่งนั้นหรือรุกต่อ

รูปขบวนวิธีแบบบริติชขึ้นอยู่กับพื้นที่และประเภทการยิงของข้าศึกที่พบ มีการใช้ห้ารูปขบวนหมู่เป็นหลัก บล็อบ แถวตอนเรียงหนึ่ง แถวตอนหลวม หัวลูกศรนอกแบบ และแถวตอนเปิดระยะ รูปขบวนบล็อบ ซึ่งใช้ครั้งแรกในปี 1917 หมายถึงการรรวบรวมเฉพาะกิจทหาร 2 ถึง 4 นาย หลบซ่อนดีที่สุดเท่าที่ทำได้ รูปขบวนแถวตอนเรียงหนึ่งตามแบบใช้เฉพาะในบางสถานการณ์เท่านั้น เช่น เมื่อหมู่รุกอยู่หลังรั้วต้นไม้ รูปขบวนแถวตอนหลวมเป็นแนวกระจัดกระจายมากกว่าเล็กน้อยซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว แต่เสี่ยงถูกข้าศึกยิง หัวลูกศรสามารถวางกำลังอย่างรวดเร็วจากปีข้างใดข้างหนึ่งและสามารถหยุดจากทางอากาศได้ยาก แถวตอนเปิดระยะยอดเยี่ยมสำหรับการโจมตีขั้นสุดท้าย แต่เปราะบางหากถูกยิงจากทางปีก

หมู่บริติชปกติจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มเบรนประกอบด้วยชุดปืนเบรนสองนาย และรองผู้บังคับบัญชาซึ่งประกอบเป็นหนึ่งส่วน ด้านส่วนหลักอันประกอบด้วยพลปืนเล็กยาวและผู้บังคับหมู่เป็นอีกชุดหนึ่ง กลุ่มใหญ่กว่าที่ประกอบด้วยผู้บังคับหมู่นั้นรับผิดชอบต่อการประชิดข้าศึกและรุกทันทีเมื่อถูกยิง เมื่ออยู่ภายใต้การยิงอย่างมีประสิทธิภาพ พลปืนเล็กยาวเข้าสู่ "การยิงและเคลื่อนที่" เต็มรูปแบบ พลปืนเล็กยาวได้รับคำสั่งให้หมอบลงกับพื้นเมื่อถูกยิง แล้วคลานไปยังตำแหน่งยิงที่ดี พวกเขาเล็งอย่างรวดเร็วและยิงอย่างอิสระจนกว่าผู้บังคับหมู่สั่งหยุดยิง ในบางโอกาส กลุ่มเบรนรุกโดยห้วงการเปลี่ยนกำบัง ไปยังตำแหน่งที่จะเปิดฉากยิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมักเป็นตำแหน่งที่ทำมุม 90 องศากับการโจมตีหลัก ในกรณีนี้ทั้งสองกลุ่มจะยิงคุ้มกันให้แก่กัน การโจมตีสุดท้ายเป็นหน้าที่ของพลปืนเล็กยาวซึ่งได้รับคำสั่งให้ยิงจากสะโพกระหว่างที่บุกเข้าไป

ยุทธวิธีรับ

ยุทธวิธีหมู่รับของเยอรมันเน้นย้ำความสำคัญของบูรณาการกับแผนใหญ่กว่าและหลักการในที่ตั้งที่กระจัดกระจายในทางลึก คาดหมายว่ากรุพเพอจะขุดหลุมลึก 30 ถึง 40 เมตร (ความลึกสูงสุดที่ผู้บังคับหมู่สามารถควบคุมดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ) มีคำกล่าวว่ากำบังอื่นอย่างต้นไม้เดี่ยว ๆ และสันเนินดึงดูดการยิงของข้าศึกมากเกินไปและมีใช้น้อย เมื่อขุด สมาชิกหมู่คนหนึ่งจะยืนยาม ช่องว่างระหว่างหมู่ที่ขุดลงไปอาจเหลืออยู่ แต่คุมกันด้วยการยิง การวางปืนกลเป็นหัวใจสำคัญของการรับของหมู่เยอรมัน ซึ่งได้รับตำแหน่งทางเลือกหลายตำแหน่ง ปกติวางห่างกัน 50 เมตร

มีการวางกำลังทหารหนึ่งคู่ในหลุมบุคคล สนามเพลาะหรือคู ทหารคู่นั้นยืนใกล้กันเพื่อให้สื่อสารกัน ส่วนย่อยขนาดเล็กอาจแยกกันเล็กน้อย จึงลดผลของการยิงจากข้าศึก หากข้าศึกไม่ระดมทันที จะมีการใช้การตั้งรับขั้นที่สอง การตั้งมั่นในสนามเพลาะ (entrenching) สนามเพลาะเหล่านี้มีการสร้างอยู่หลังแนวหลักโดยที่ทหารสามารถอยู่หลังกำบังได้จนกว่ามีความจำเป็นต้องเรียกใช้

ปืนกลทำหน้าที่ยิงปะทะรับจากพิสัยมีประสิทธิภาพ โดยที่พลปืนเล็กยาวซ่อนอยู่ในหลุมบุคคลจนถึงการโจมตีของข้าศึก ระเบิดมือของข้าศึกที่ตกใส่ตำแหน่งของหมู่เลี่ยงได้โดยการดำหลบแรงระเบิดหรือขว้างหรือเตะระเบิดมือกลับ ยุทธวิธีนี้อันตนรายมาก และแหล่งข้อมูลของสหรัฐรายงานว่าทหารอเมริกันเสียมือหรือเท้าเพราะเหตุนี้

ในส่วนหลังของสงคราม มีการเน้นการรับยานเกราะ ตำแหน่งรับสร้างอยู่บน "เครื่องกีดขวางป้องกันรถถัง" ซึ่งประกอบด้วยอาวุธต่อสู้รถถังอย่างน้อยหนึ่งชิ้น ตลอดจนการสนับสนุนจากปืนใหญ่ที่มีผู้สังเกตชี้นำ เพื่อขัดขวางรถถังที่รุกล้ำตำแหน่งรับ หมู่มักลาดตระเวนมักมีอาวุธต่อสู้รถถังด้วย

ยุทธวิธีหมวด

ตอนเป็นหน่วยย่อยของกองร้อย ปะรกอบด้วยสามตอนโดยมีสำนักงานใหญ่หมวด กำลังของหมวดทหารราบมาตรฐานแตกต่างกันระหว่าง 25 ถึง 36 นาย

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธหัตถี