ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ของ ยุทธวิธีทหารราบ

สมัยใหม่ตอนต้น

เตซิโอ ใน "จัตุรัสป้อมปราการ" ในการรบ

เมื่ออาวุธปืนมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเริ่มแพร่หลายในหมู่ทหารราบเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อาวุธปืนต้องการการฝึกเพียงเล็กน้อย ไม่นานจึงทำให้ดาบ คทา ธนูและอาวุธอื่นล้าสมัยไป ไพก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปขบวนไพก์และยิงอยู่ได้นานกว่ามาก เมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 อาวุธปืนกลายเป็นอาวุธหลักในหลายกองทัพ อาวุธปืนหลักในเวลานั้นได้แก่อาร์ควิบัส แม้ว่าจะมีความแม่นยำแน่นกว่าธนู แต่อาร์ควิบัสสามารถเจาะทะลุเกราะส่วนใหญ่ในเวลานั้นและต้องการการฝึกเล็กน้อย เพื่อเป็นการตอบโต้ เกราะจึงมีการทำให้หนาขึ้น ทำให้หนักมากและแพง ผลคือ ควิแรส (cuirass) เข้ามาแทนฮอเบิร์ก (hauberk) และชุดเกราะเต็มยศ และมีเพียงทหารม้าที่ทรงคุณค่าที่สุดเท่านั้นที่สวมใส่มากกว่าเสื้อแผ่นซับ

ทหารที่ถืออาร์ควิบัสปกติมีการจัดเป็นสามแถว เพื่อให้แถวหนึ่งยิงได้ ส่วนอีกสองแถวบรรจุกระสุน ยุทธวิธีนี้ทำให้รักษาการยิงปืนอย่างต่อเนื่อง และชดเชยความไม่แม่นยำของอาวุธได้ มีการวางเครื่องกีดขวางทำจากไม้หรือพลไพก์อยู่หน้าพลอาร์ควิบัสเพื่อหยุดทหารม้า ตัวอย่างเช่นในยุทธการที่นากาชิโนะ

มอริสแห่งนัสเซา ผู้นำกบฏดัตช์ในคริสต์ทศวรรษ 1580 สร้างนวัตกรรมทางยุทธวิธีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการแบ่งทหารราบออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ และเคลื่อนที่ได้มากกว่า แทนจัตุรัสอุ้ยอ้ายและเคลื่อนไหวช้าแบบเดิม[11] การริเริ่มการระดมยิงช่วยชดเชยความไม่แม่นยำของปืนคาบษิลาและมีใช้ครั้งแรกในการรบในทวีปยุโรป ณ นิวพอร์ทในปี 1600 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องอาศัยทหารที่ฝึกอย่างดีซึ่งสามารถรักษารูปขบวนได้ระหว่างที่บรรจุและบรรจุกระสุนใหม่ กอปรกับมีการควบคุมและผู้นำที่ดีกว่า ผลโดยรวมคือทำให้นายทหารและทหารมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น บางทีมีการอ้างว่ามอริสเป็นผู้สร้างเหล่านายทหารสมัยใหม่

นวัตกรรมของเขามีการดัดแปลงเพิ่มเติมโดย กุสตาฟ อะดอล์ฟ ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วของการระดมยิง โดยใช้ปืนคาบศิลาล้อล็อกและกระสุนปลอมกระดาษ ขณะที่เพิ่มการเคลื่อนที่โดยลดเกราะหนักเสีย[12] บางทีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สุดคือการเพิ่มจำนวนพลปืนคาบศิลาและลดความจำเป็นสำหรับพลไพก์โดยการใช้ดาบปลายปืนแบบเสียบ[13] ข้อเสียคือปืนคาบศิลาจะใช้ยิงไม่ได้อีกเมื่อติดดาบ ดาบปลายปืนแบบเบ้าชนะปัญหาดังกล่าวได้ แต่ปัญหาทางเทคนิคว่าจะรักษาให้ดาบติดกับปืนอย่างไรนั้นใช้เวลาในการแก้ไขให้สมบูรณ์

ทหารราบหน้ากระดานของปรัสเซียเข้าตีในยุทธการที่โฮเฮินฟรีดแบร์กปี 1745

เมื่อปัญหานี้ได้รับการแก้ไขในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 การปฏิบัติที่ยอมรับคือทั้งสองฝ่ายยิงก่อนแล้วจึงบุกประชิดด้วยดาบปลายปืนที่ติดแล้ว การกระทำเช่นนี้ต้องอาศัยการคำนวณอย่างระวังเพราะยิ่งแนวใกล้กันมากเท่าไร การระดมยิงชุดแรกก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ตัวอย่างที่ขึ้นชื่อที่สุดตัวอย่างหนึ่ง คือ ที่ฟองเทนอย ในปี 1745 เมื่อมีการอ้างว่าทหารบริเตนและฝรั่งเศสเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายยิงก่อน[14]

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เน้นการป้องกันและโจมตีที่มั่นป้อมค่ายและเลี่ยงการรบเว้นเสียแต่เงื่อนไขอำนวยอย่างยิ่งเท่านั้น[15] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีและอาวุธทหารราบหมายความว่ามีความเต็มใจยอมรับการรบมากขึ้น ฉะนั้นการฝึก วินัยและการรักษารูปขบวนจึงมีความสำคัญมากขึ้น มีหลายเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ข้อหนึ่งคือจนกว่ามีการประดิษฐ์ดินปืนไร้ควัน การรักษาการติดต่อกับทหารทั้งสองฝั่งของบุคคลบางทีเป็นทางเดียวที่จะทราบได้ว่าจะรุกหน้าไปทางใด ทหารราบในแนวเส้นมีความเปราะบางต่อการเข้าตีของทหารม้าอย่างยิ่ง นำให้มีการพัฒนาจัตุรัส แม้ยังไม่ทราบ แต่ทหารม้าที่ทลายจัตุรัสที่รักษาไว้ดีนั้นพบน้อย

สมัยใหม่ตอนปลาย

นโปเลียน

นโปเลียน โบนาปาร์ตมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต่อสภาพของการสงคราม หากจะให้ยกมรดกยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียนในการสงครามมาหนึ่งอย่าง จะได้แก่การใช้และการเสริมแต่งการใช้กองทัพกระจายอย่างกว้างขวาง คือ เขาแยกกลุ่มหน่วยในกองทัพของเขาเพื่อให้กระจายออกไปในพื้นที่กว้างกว่า แต่ยังให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชากลางของเขา ไม่เหมือนกับกาลก่อนที่กลุ่มแยกจะรบเป็นอิสระต่อกัน แบบนี้ทำให้เขาบังคับการรบโดยหันทิศทางหรือล้อมกองทัพข้าศึก ขณะที่ในอดีต กองทัพจะต่อสู้เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันหรือเพราะมีการดำเนินกลยุทธ์แบบจู่โจมซึ่งทำให้กองทัพพบอุปสรรคอย่างแม่น้ำ

เขาอาศัยแถวตอนอย่างหนัก ซึ่งแถวตอนเป็นรูปขบวนความกว้างน้อยกว่าหนึ่งร้อยคน และประกอบด้วยทั้งกองพลน้อยในรูปขบวนติดแน่นและส่วนใหญ่รุกเข้าปะทะด้วยดาบปลายปืน การเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องและมวลของรูปขบวนนี้สามารถเจาะผ่านแนวของข้าศึกส่วนใหญ่ได้ แต่มีความอ่อนไหวถึงเจาะโดยการยิงที่ฝึกมาดีหรือปริมาณมากเพราะรูปขบวนนี้ไม่สามารถยิงระหว่างบุกได้ ข้อได้เปรียบหลักคือความสามารถในการเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็วและวางกำลังเป็นเส้นตรงได้ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารที่ฝึกอย่างดีและมีแรงจูงใจอย่างที่นโปเลียนมีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ต่อมาเขาใช้รูปขบวนลำดับผสมซึ่งสามารถประกอบด้วยทหารหนึ่งหน้ากระดานหรือมากกว่า สนับสนุนโดยแถวตอนตั้งแต่หนึ่งแถวตอนขึ้นไป ซึ่งทำให้มีอำนาจยิงขยายของหน้ากระดาน กับความสามารถตอบโต้อย่างรวดเร็วของแถวตอนสนับสนุนอยู่

รูปขบวนแถวตอนทำให้หน่วยเคลื่อนได้รวดเร็ว การบุกประชิดที่มีประสิทธิภาพมาก (เนื่องจากจำนวนมาก) หรือสามารถก่อจัตุรัสอย่างรวดเร็วเพื่อต้านทานการเข้าตีของทหารม้า แต่โดยสภาพแล้ว มีปืนคาบศิลาบางส่วนเท่านั้นที่สามารถเปิดฉากยิงได้ หน้ากระดานทำให้ได้ด้านหน้าของปืนคาบศิลาใหญ่กว่ามากจึงมีสมรรถนะการยิงสูงกว่า แต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างกว้างขวางเพื่อให้หน่วยเคลื่อนที่ไปพร้อมกันขณะที่รักษาหน้ากระดานไว้

ระเบียบผสมยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิยมยุทธวิธีของฝรั่งเศส ขณะที่กองทัพฝรั่งเศสมีวินัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจุดแข็งทั้งของรูปขบวนหน้ากระดานและแถวตอน ขณะที่เลี่ยงจุดอ่อนติดตัวรูปขบวนเหล่านั้นบางส่วน นโปเลียนใช้รูปขบวนดังกล่าวอย่างกว้างขวางเมื่อบังคับบัญชากองทัพใหญ่

รูปขบวนนี้แซงหน้ากองทัพอื่นในวเลานั้นซึ่งเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ เพื่อรักษาหน้ากระดานให้ตรงและชิดกัน เพื่อป้องกันทหารม้าจากด้านใน ช่องว่างสามารถเฝ้ารักษาได้ด้วยการยิงปืนคาบศิลา แต่หน้ากระดานโดยทั่วไปจำเป็นต้องมีแนวตรงกันและอาจเสียรูปขบวนไปได้แม้พื้นดินคลื่นลอนลาดที่ดูราบเมื่อทหารแต่ละคนช้าลงหรือเร็วขึ้นเมื่อข้ามที่ดินต่างระดับกัน ทางแก้เดียวคือการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ และแถวตอนมีการดำเนินกลยุทธ์ในสนามรบทางยุทธวิธี ฉะนั้นมีโอกาสโอบหรือชนะกลยุทธ์ข้าศึก หรือที่สำคัญกว่านั้น สะสมกำลังต่อจุดอ่อนในแนวข้าศึก

นโปเลียนยังเป็นผู้ใช้ปืนใหญ่ตัวยง เขาเริ่มอาชีพของเขาเป็นนายทหารปืนใหญ่ และใช้ปืนใหญ่ได้ผลดีเนื่องจากความรู้เชี่ยวชาญของเขา กองทัพฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสมีแรงจูงใจอย่างสูง และหลังการปฏิรูปปี 1791 ได้รับการฝึกอย่างดีในหลักนิยมใหม่สุด

สุดท้ายนโปเลียนปราชัย แต่ยุทธวิธีของเขามีการศึกษาจนล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้เมื่ออาวุธที่มีการปรับปรุงขึ้นทำให้การเข้าตีของทหารราบคราวละมาก ๆ มีอันตรายมากยิ่งขึ้น

ยุทธวิธีนอกแบบ

ประเทศซึ่งไม่เคยเป็นมหาอำนาจสำคัญของโลกใช้ยุทธวิธีทหารราบแบบอื่น ในแอฟริกาใต้ อิมปี (กรมทหาร) ของซูลูขึ้นชื่อจากยุทธวิธีเขากระทิง ซึ่งมีการแบ่งทหารออกเป็นสี่กลุ่ม สองกลุ่มด้านหน้า และอีกหนึ่งกลุ่มทางซ้ายและขวา ทั้งสี่กองจะล้อมหน่วยข้าศึก เข้าประชิดและทำลายด้วยแอสซะไกสั้น ขณะที่ชาวซูลูที่มีอาวุธปืนคอยยิงรบกวน นักรบซูลูทำให้ข้าศึกประหลาดใจ และบ่อยครั้งชนะข้าศึก แม้ต่อกับข้าศึกที่มีอาวุธดีกว่าและมียุทธภัณฑ์มากกว่าอย่างกองทัพบริติช

ชาวซูดานต่อสู้กับข้าศึกโดยใช้พลปืนเล็กยาวจำนวนหนึ่งเพื่อล่อพลปืนเล็กยาวของข้าศึกให้อยู่ในพิสัยของพลหอกซูดานที่ลอบเร้นอยู่ ในนิวซีแลนด์ ชาวเมารีซ่อนอยู่ในบังเกอร์ป้อมสนามหรือปาซึ่งสามารถรับการเข้าตีจากอาวุธที่ทรงอำนาจอันดับต้น ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ ก่อนล่อกำลังฝ่ายตรงข้ามเข้าสู่การซุ่มโจมตี บางทีชนพื้นเมืองจะติดอาวุธด้วยอาวุธที่คล้ายหรือเหนือกว่าประเทศจักรวรรดินิยมที่ตนกำลังต่อสู้ด้วย ระหว่างยุทธการที่ลิตเติลบิกฮอร์น พันโท จอร์จ คัสเตอร์และทหารห้าจากสิบสองกองร้อยแห่งกรมทหารม้าที่ 7 ถูกทำลายโดยเผ่าซูและไชแอน[16]

กลยุทธ์ทหารราบนอกแบบมักทำให้ข้าศึกตามแบบตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ ระหว่างสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง ชาวโบเออร์ใช้กลยุทธ์กองโจรต่อสู้กับกองทัพบริติชตามแบบ พลยิงแม่นชาวโบเออร์สามารถฆ่าทหารบริติชจากระยะหลายร้อยหลา การเข้าตีด้วยพลยิงแม่นอย่างต่อเนื่องนี้บีบให้ทหารราบบริติชสวมเครื่องแบบสีกากีแทนสีแดงตามประเพณี ชาวโบเออร์มีความคล่องตัวกว่าทหารราบบริติชมาก ฉะนั้นปกติจึงสามารถเลือกได้ว่าการรบจะเกิดขึ้นที่ใด กลยุทธ์นอกแบบเหล่านี้บังคับให้ฝ่ายบริติชต้องรับยุทธวิธีนอกแบบของตนบ้าง

หลังปี 1945

สงครามเกาหลีเป็นความขัดแย้งหลักครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการริเริ่มใช้เครื่องมือใหม่ รวมทั้งวิทยุขนาดเล็กและเฮลิคอปเตอร์ การส่งด้วยร่มชูชีพซึ่งมักกระจายทหารจำนวนมากทั่วสนามรบ ถูกแทนที่ด้วยปฏิบัติการเคลื่อนที่ทางอากาศโดใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงคนอย่างแม่นยำ เฮลิคอปเตอร์ยังให้การยิงสนับสนุนหลายครั้ง และสามารถใช้เร่งรุดเพื่อโจมตีอย่างแม่นยำต่อข้าศึก ฉะนั้นทหารราบจึงมีอิสระพิสัยไกลเกินตำแหน่งปืนใหญ่อยู่กับที่แต่เดิม ทหารราบยังสามารถปฏิบัติการหลังแนวข้าศึก แล้วนำกำลังออกทางอากาศในภายหลังได้ ทำให้เกิดมโนทัศน์การโอบแนวตั้ง (ซึ่งเดิมเป็นแนวคิดสำหรับกำลังส่งทางอากาศ) ซึ่งข้าศึกไม่ได้ถูกกระหนาบจากทางซ้ายหรือขวา แต่จากบนฟ้า

หมู่โรมาเนียแห่ง TAB-77 APC นี่เป็นการจัดเรียงตรงแบบของโซเวียต โดยมีปืนกลอเนกประสงค์พีเค และปืนกลเบาอาร์พีเคตรงกลาง และทหารสองนายมีปืนเล็กยาวจู่โจมเอเค 47 และเครื่องยิงลูกระเบิดอาร์พีจี-7 ตรงปีก ทหารอีกนายเป็นผู้ประสานงานหรือให้อำนาจการยิงเสริมตามความจำเป็น

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธหัตถี