การสงครามทหารราบตามประเภท ของ ยุทธวิธีทหารราบ

การสงครามป่า

การสงครามป่าเป็นรูปเป็นร่างจากประสบการณ์ของมหาอำนาจในเขตปฏิบัติการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ภูมิประเทศแบบป่ามีแนวโน้มแบ่งแยกหน่วย มักแบ่งการรบออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีความเป็นอิสระและความเป็นผู้นำสูงขึ้นในหมู่ผู้นำด้อยอาวุโส และมหาอำนาจทุกประเทศเพิ่มระดับการฝึกและระดับประสบการณ์ที่จำเป็นแก่นายทหารด้อยอาวุโสและนายทหารชั้นประทวน แต่การสู้รบซึ่งผู้นำหมู่หรือหมวดพบว่าตนต่อสู้อยู่เพียงลำพังยังต้องการอำนาจการยิงสูงขึ้นด้วย ฉะนั้น พลรบทุกคนจึงพบวิธีเพิ่มอำนาจการยิงของทั้งหมู่และหมวด เจตนาคือรับประกันว่าหมู่และหมวดสามารถต่อสู้ตามลำพังได้

ยกตัวอย่างเช่นญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนอาวุธหนักในแต่ละหมู่ หมู่ "เสริมกำลัง" ใช้ตั้งแต่ปี 1942 เป็นต้นมาปกติมี 15 นาย หมู่ญี่ปุ่นมีอาวุธอัตโนมัติประจำหมู่หนึ่งชิ้น (ปืนกลที่ป้อนจากซองกระสุนและเบาพอให้พลปืนหนึ่งคนและพลแบกกระสุนผู้ช่วยหนึ่งคนบรรทุกได้) พลแม่นปืนที่ได้รับมอบหมายยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดด้วย เช่นเดียวกับแกรนาเดียร์พร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดยาว อัตราการจัดและยุทธภัณฑ์ของหมู่ยังรวมชุดเครื่องยิงลูกระเบิด ที่นักประวัติศาสตร์เรียกผิดว่า "ปืนครกเข่า" ที่จริงแล้วเป็นปืนครกเบาจนาด 50 มม. ซึ่งยิงกระสุนระเบิดแรงสูง เรืองแสงและควันได้ไกลถึง 400 เมตร ปืนครกนี้ตั้งอยู่บนพื้นและยิงโดยเหยียดแขน ผู้ควบคุมปืนปรับพิสัยการยิงโดยปรับความสูงของสลักในลำกล้อง (ทำให้ปืนครกยิงได้ผ่านรูเล็ก ๆ ในร่มไม้ของป่า)

ผลคือแต่ละหมู่บัดนี้เป็นหน่วยรบที่พึ่งพาตนเองได้ แต่ละหมู่มีสมรรถนะอาวุธอัตโนมัติ ในบทบาทตั้งรับ สามารถตั้งปืนกลเพื่อสร้าง "ย่านกระสุนตก" ซึ่งไม่มีข้าศึกใดสามารถรุกและรอดชีวิตได้ ในการเข้าตี หมู่สามารถยิงห่ากระสุนเพื่อบังคับให้ข้าศึกก้มหัวลงระหว่างที่ทหารฝ่ายเดียวกันรุก ปืนครกเบาทำให้หัวหน้าหมู่มีสมรรถนะ "ปืนใหญ่กระเป๋า" โดยอ้อม ปืนครกสามารถยิงกระสุนระเบิดแรงสูงและกระสุนสังหารเพื่อไล่ข้าศึกออกจากป้อมสนามดินและที่ซ่อน ปืนครกสามารถยิงควันเพื่ออำพรางการรุก หรือกระสุนเรืองแสงเพื่อส่องเป้าหมายข้าศึกยามวิกาล พลแม่นปืนยังทำให้หัวหน้าหมู่มีสมรรถนะฆ่าเป้าเล็กระยะไกล

สี่หมู่ประกอบเป็นหนึ่งหมวด ไม่มีตอนกองบังคับการ มีเพียงผู้บังคับหมวดและรองผู้บังคับหมวดเท่านั้น ในทางปฏิบัติ หนึ่งหมวดสามารถต่อสู้เป็นหน่วยรบที่เป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาหน่วยอื่น

กองทัพบริติชเคยสู้รบอย่างกว้างขวางในป่าและไร่ใหญ่ยางพาราแห่งมาลายาระหว่างเหตุวิกฤต และเกาะบอร์เนียวกับอินโดนีเซียระหว่างการเผชิญหน้า ผลจากประสบการณ์เหล่านี้ทำให้บริติชเพิ่มอำนาจการยิงระยะใกล้ของพลปืนเล็กยาวปัจเจกโดยการแทนปืนเล็ยาวลี-เอ็นฟิลด์แบบลูกเลื่อนสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองด้วยอาวุธอัตโนมัติที่เบากว่าอย่างปืนเล็กสั้นเอ็ม2 ของอเมริกันและปืนกลมือสเตอร์ลิง

อย่างไรก็ดี กองทัพบริติชมีอาวุธอัตโนมัติของชุดที่ดีอยู่ในครอบครองแล้ว (เบรน) และยังมีการจัดสรรให้หนึ่งกระบอกต่อหมู่ เบรนเป็นอำนาจการยิงส่วนใหญ่ของหมู่ แม้หลังการริเริ่มปืนเล็กยาวบรรจุเอง (สำเนากึ่งอัตโนมัติของ FN-FAL ของเบลเยียม) ฝ่ายบริติชไม่วางกำลังปืนครกในระดับหมู่ แต่มีปืนครกขนาด 2 นิ้ว 1 กระบอกในระดับหมวด

ฝ่ายกองทัพสหรัฐใช้วิธีแตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยเชื่อว่าประสบการณ์ในเวียดนามแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของหมู่ขนาดเล็กลงที่มีสัดส่วนของอาวุธหนักสูงกว่า หมู่ทหาร 12 นายโดยปกติติดอาวุธด้วยปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติและปืนเล็กยาวอัตโนมัติ 1 กระบอกถูกลดเหลือ 9 นาย ผู้บังคับหมู่ถือปืนเอ็ม16 และวิทยุเอเอ็น/พีอาร์ซี-6 เขาบังคับบัญชาชุดยิง 2 ชุด ชุดละ 4 นาย (หนึ่งชุดยิงมีหัวหน้าชุดยิงถือเอ็ม16 แกรนาเดียร์ถือเอ็ม16/203 พลปืนเล็กยาวอัตโนมัติที่ได้รับมอบหมายถือเอ็ม16 ที่มีขาทราย กับพลปืนต่อสู้รถถังถือปืน LAW และเอ็ม16)

หนึ่งหมวดประกอบด้วยสามหมู่ร่วมกับชุดปืนกลสองสามนาย (ผู้บังคับหมู่ถือเอ็ม16 พลปืนถือปืนกลเอ็ม60 และพลปืนผู้ช่วยถือเอ็ม16) นอกจากชุดปืนกลเอ็ม60 สร้างอำนาจการยิงมากกว่าในระดับหมวด ผู้บังคับหมวดสามารถจัดเรียงชุดเพื่อให้การยิงคุ้มกัน โดยใช้สามหมู่ที่เหลือเป็นส่วนดำเนินกลยุทธ์ การผสมเอ็ม16/203 เป็นประดิษฐกรรมของอเมริกันโดยเฉพาะ (ร่วมกับเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม79 ซึ่งเป็นที่มาของปืน) เอ็ม16/203 ไม่มีพิสัยของปืนครก 50 มม. ของญี่ปุ่น ทว่า ถือคล่องมือกว่า และสามารถยิงลูกระเบิดแรงสูงโดยอ้อมได้ และให้การสนับสนุนด้วยทั้งกระสุนควันและเรืองแสง กองทัพสหรัฐยังมีปืนครก 60 มม. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและมีสมรรถนะมากกว่าปืนครก 50 มม. ของญี่ปุ่น แต่เป็นปืนหนักเกินกว่าสำหรับใช้ในระดับหมู่หรือแม้แต่ระดับหมวด จึงมีใช้เฉพาะในระดับกองร้อย

ความบกพร่องของรูปขบวนสหรัฐยังเป็นพลปืนเล็กยาวอัตโนมัติ ซึ่งย้อนไปถึงสมัยพลปืนเล็กยาวอัตโนมัติเบรานิงในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐพบว่าปืนเล็กยาวอัตโนมัติเป็นตัวแทนที่ไม่ดีของปืนกลจริง ปืนเล็กยาวที่ยิงแบบอัตโนมัติต่อเนื่องจะร้อนเกินง่าย และเปลี่ยนลำกล้องไม่ได้ สมัยหลังสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐใช้มินิมิของเบลเยียมเพื่อแทนเอ็ม16 อัตโนมัติ ด้วยลำกล้องเปลี่ยนใช้กันได้และซองกระสุนใหญ่กว่า อาวุธนี้ ซึ่งเรียกเอ็ม249 ในพัสดุของสหรัฐ ซึ่งให้การยิงอัตโนมัติต่อเนื่องตามต้องการได้

กองทัพสาธารณรัฐสิงคโปร์ซึ่งมีประสบการณ์ 100% ในภูมิประเทศป่าตลอดจนไร่ใหญ่ยางพาราเป็นหลัก ใช้แนวโน้มดังกล่าวไปอีกหนึ่งขั้น รูปขบวนประกอบด้วยทหาร 7 นาย แต่มีพลปืนอัตโนมัติหมู่ 2 นาย (ด้วยอาวุธอัตโนมัติ 5.56 มม.) แกรนาเดียร์สองนายถือเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม16/203 และพลปืนต่อสู้รถถังหนึ่งนายถือเครื่องยิงจรวดและปืนเล็กยาวจู่โจม

ฉะนั้นกล่าวสั้น ๆ คือ การสงครามป่าเพิ่มจำนวนการรบปะทะสั้น ๆ หรือฉับพลันในระดับหมวดหรือแม้แต่ระดับหมู่ ผู้บังคับหมวดและหมู่จำเป็นต้องมีความสามารถปฏิบัติอย่างอิสระมากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายดังนี้ แต่ละหมู่ (หรืออย่างน้อยหมวด) จำเป็นต้องมีการจัดสรรอาวุธอย่างสมดุลเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย

การสงครามภูเขา

ระหว่างสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน กองทัพบกและกองทัพอากาศโซเวียตต่อสู้กับกำลังที่เรียก มุญาฮีดีน แม้กองทัพโซเวียตมีอำนาจการยิงสูงกว่าและยุทโธปกรณ์สมัยใหม่กว่ามุญาฮีดีน แต่ไม่สามารถทำลายล้างได้อย่างเด็ดขาดเพราะความยากของการตอบโต้กลยุทธ์กองโจรในเขตภูเขา

เมื่อมีการส่งมอบขีปนาวุธสติงเกอร์ให้มุญาฮีดีน พวกเขาเริ่มใช้มันซุ่มโจมตีเฮลิคอปเตอร์ของโซเวียตและอากาศยานปีกตรึงในละแวกสนามบินทหาร ทั้งนี้ เพราะสติงเกอร์มีประสิทธิภาพเฉพาะในพิสัย 15,000 ฟุต (4,600 เมตร) มุญาฮีดีนจึงจำเป็นต้องโจมตีอากาศยานขณะนำเครื่องขึ้นหรือลงจอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สติงเกอร์ไม่ใช่ "อาวุธที่ชนะสงคราม" แม้สติงเกอร์มีผลสำคัญต่อการดำเนินสงคราม แต่ไม่ได้ใช้ยิงอากาศยานตกมากนัก แต่บังคับฝ่ายโซเวียตให้ดัดแปรยุทธวิธีเฮลิคอปเตอร์ของตน เฮลิคอปเตอร์เริ่มประสานงานใกล้ชิดกับกำลังภาคพื้นดินมากขึ้น อากาศยานปีกตรึงเริ่มบินที่ระดับความสูงสูงขึ้น และมีการเพิ่มระบบป้องกันอิเล็กทรอนิกส์ยานเกราะและต่อต้านขีปนาวุธเพื่อช่วยป้องกันจากสติงเกอร์

ฝ่ายโซเวียตตอบโต้ยุทธวิธีของมุญาฮีดีนหลายทาง มีการใช้สเปซนาซอย่างกว้างขวางในปฏิบัติการพิเศษโดยการวางกำลังด้วยเฮลิคิปเตอร์เข้าสู่พื้นที่ที่ระบุว่าเป็นพื้นที่ที่มุญาฮีดีนผ่าน หรือเป็นจุดซุ่มโจมตี ยุทธวิธีของสเปซนาซมีประสิทธิภาพต่อมุญาฮีดีนเพราะใช้ยุทธวิธีคล้ายกับที่มุญาฮีดีนใช้ รถถังและอากาศยานมีประสิทธิภาพน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบเนื่องจากภูมิประเทศและการเคลื่อนที่ของข้าศึก เทคโนโลยีเดียวที่มีผลกระทบสำคัญต่อมุญาฮีดีนได้แก่ทุ่นระเบิดและเฮลิคอปเตอร์ แม้ว่าต่อมามุญาฮีดีนพบวิธีหลบเลี่ยงทั้งสอง

เมื่อปฏิบัติการของโซเวียตหยุดชะงัก พวกเขาเริ่มเอาคืนต่อประชากรพลเรือนที่สนับสนุนมุญาฮีดีน การที่เฮลิคอปเตอร์ของโซเวียตทิ้งระเบิดหมู่บ้านอัฟกานิสถานเพื่อตอบโต้การโจมตีทหารโซเวียตไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ในโอกาสอื่น เฮลิคอปเตอร์ทิ้งทุ่นระเบิดจากอากาศยานลงในทุ่งและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือยิงปศุสัตว์ด้วยอาวุธเฮลิคอปเตอร์ โดยปราศจากการสนับสนุนของชาวบ้าน มุญาฮีดีนถูกบีบให้บรรทุกอาหารของพวกตนนอกเหนือไปจากอาวุธและยุทธภัณฑ์ทางทหาร อีกยุทธวิธีที่ใช้บ่อยอย่างหนึ่งคือการปิดล้อมและตรวจค้นหมู่บ้านหามุญาฮีดีน ยุทธวิธีเหล่านี้คล้ายกับที่สหรัฐใช้ในเวียดนาม หรือเยอรมันใช้ต่อพลพรรคโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง

ยุทธวิธีทหารราบตามแบบโดยทั่วไปมีการดัดแปรก่อนนำไปใช้ในการสงครามภูเขาเนื่องจากฝ่ายตั้รับปกติแล้วมีข้อได้เปรียบอย่างเด็ดขาดเหนือฝ่ายเข้าตีโดยการยึดที่สูง และบังคับให้ข้าศึกเข้าตีขึ้นเข้ามาต่อตำแหน่งที่มีสนามเพลาะที่ตระเตรียมอย่างดี ฉะนั้น โดยทั่วไปจึงเลี่ยงการโจมตีทางด้านหน้าโดยการนำกลยุทธ์ปิดล้อมมาใช้และการตัดเส้นทางส่งกำลัง ฉะนั้นจึงสร้างการล้อมประชิด ยุทธวิธีนี้เปลี่ยนในสงครามคาร์กิลปี 1999 เมื่อกำลังอินเดียได้รับภารกิจใหญ่ในการขับไล่ผู้รุกรานและทหารปากีสถานที่พรางตัวที่ยึดตำแหน่งภูเขาสูง แทนที่ใช้ยุทธวิธีปิดล้อม กองทัพอินเดียโจมตีที่ตั้งกองทัพปากีสถานจากด้านหน้า แต่ยุทธวิธีดังกล่าวมีการดัดแปรอย่างเข้มข้นโดยการใช้กำบังปืนใหญ่หนักที่มักยิงในบทบาทโดยตรงและการโจมตีทางอากาศอย่างไม่หยุดหย่อนก่อนหน้าการเข้าตีภาคพื้นดิน เนื่องจากการเข้าตีในเวลากลางวันจะเป็นการฆ่าตัวตาย การเข้าตีทั้งหมดจึงกระทำภายใต้อำพรางของความมืดเพื่อลดกำลังพลสูญเสียให้น้อยที่สุด ปฏิบัติการดังกล่าวใช้เวลาแต่ประสบความสำเร็จ และกองทัพอินเดียยึดตำแหน่งทั้งหมดหลังการสู้รบนานสองเดือน

ทหารอิรักที่ผ่านการฝึกอบรมของอเมริกันกำลังขึ้นยูเอช-60 ด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์ทหารเหล่านี้สามารถจับกุมผู้ก่อความไม่สงบและตีโฉบฉวยตำแหน่งของกลุ่มดังกล่าวได้โดยไม่ทันตั้งตัว

การสงครามสนามเพลาะ

ทหารราบบริติชในสนามเพลาะระหว่างยุทธการที่แม่น้ำซอม

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยอาวุธสมัยใหม่มีอำนาจพิฆาตสูงขึ้น อย่างปืนใหญ่และปืนกล ทำให้มีการเปลี่ยนยุทธวิธีทหารราบเป็นการสงครามสนามเพลาะ การบุกประชิดของทหารราบแบบคราวละมาก ๆ ปัจจุบันเป็นการฆ่าตัวตายโดยสภาพ และแนวรบด้านตะวันตกหยุดนิ่ง

ยุทธวิธีสามัญที่ใช้ระหว่างขั้นแรก ๆ ของการสงครามสนามเพลาะคือการระดมทิ้งระเบิดแนวสนามเพลาะข้าศึก ซึ่ง ณ จุดนั้นทหารราบฝ่ายเดียวกันจะผละจากความปลอดภัยของสนามเพลาะของพวกตน รุกข้ามแผ่นดินไม่มีเจ้าของ และยึดสนามเพลาะข้าศึก อย่างไรก็ดี ยุทธวิธี "การทิ้งระเบิดเบื้องต้น" ส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ สภาพของแผ่นดินไม่มีเจ้าของ (ซึ่งเต็มไปด้วยลวดหนามและเครื่องกีดขวางอื่น) เป็นปัจจัยหนึ่ง สำหรับหน่วยหนึ่งในการเข้าไปยังแนวสนามเพลาะข้าศึก หน่วยจำเป็นต้องข้ามพื้นที่นี้ ยึดตำแหน่งข้าศึก แล้วเผชิญกับการตีโต้ตอบของกองหนุนฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของปืนใหญฝ่ายเดียวกันในการข่มทหารราบและปืนใหญ่ข้าศึก ซึ่งบ่อยครั้งถูกจำกัดด้วย "เครื่องป้องกันระเบิด" (บังเกอร์) เขื่อนหินทิ้ง กระสุนที่เลวหรือเพียงการยิงที่ไม่แม่นยำ

กำลังพลสูญเสียที่เกิดจากการยิงของปืนกลนั้นนำไปสู่การวางกำลังปืนกลเบาอย่างปืนลิวอิสในหน่วยทหารขนาดเล็ก การสงครามสนามเพลาะยังนำไปสู่การพัฒนาการออกแบบระเบิดมือใหม่ ระเบิดปืนยาวและปืนครกเบา ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวแทนของการเพิ่มอำนาจการยิงที่มีให้ผู้บังคับบัญชาระดับล่างใช้ มีการเน้นทหารทั่วไป (field craft) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกองทัพบริติชและเครือจักรภพ โดยยุทธวิธีลาดตระเวนกลางคืนและการตีโฉบฉวยไม่นานทำให้ต้องมีทักษะการอ่านแผนที่และนำทางที่สูงขึ้น ทหารราบปี 1914 พอใจที่จะฝึกกับปืนเล็กยาวและดาบปลายปืน และปกติเข้าตีในรูปขบวนกองพัน เมื่อถึงปี 1917 ทหารนั้นคุ้นชินกับระเบิดมือ ระเบิดมือปืนยาว ปืนกลเบาและอาวุธชำนัญพิเศษอย่างอื่น และปกติรุกหน้าโดยใช้ยุทธวิธีระดับหมวดหรือตอน[18]

พัฒนาการอย่างหนึ่งคือ การยิงคืบ (creeping barrage) ซึ่งมีการยิงปืนใหญ่หน้าทหารราบที่กำลังรุกทันทีเพื่อกวาดข้าศึกที่ขวางทาง วิธีนี้มีส่วนสำคัญในการรบในช่วงหลังอย่างยุทธการที่อาร์รัส (1917) ซึ่งสันเขาวีมีเป็นส่วนหนึ่ง ยุทธวิธีดังกล่าวอาศัยการประสานงานอย่างใกล้ชิดในยุคก่อนการใช้วิทยุอย่างแพร่หลาย และเมื่อการวางสายโทรศัพท์ท่ามกลางกระสุนมีอันตรายอย่างยิ่ง เพื่อตอบโต้ ฝ่ายเยอรมันคิดค้านการรับยืดหยุ่น และใช้ยุทธวิธีแทรกซึมซึ่งทหารกระแทกแทรกซึมสนามเพลาะส่วนหน้าของข้าศึกในทางลับ โดยปราศจากการยิงปืนใหญ่หนักซึ่งเป็นการเตือนการเข้าตีที่ใกล้จะถึงล่วงหน้า กองทัพฝรั่งเศสและบริติช/เครือจักรภพยังมีการพัฒนายุทธวิธีทหารราบที่คล้ายกัน[19] ฝ่ายสัมพันธมิตรนำรถถังมาใช้เพื่อเอาชนะภาวะชะงักงันของตำแหน่งอยู่กับที่ แต่กลไกที่เชื่อถือไม่ได้ทำให้รถถังไม่สามารถรบรรลุวัตถุประสงค์ได้

ฝ่ายเยอรมันใช้สตอร์มทรูปเปอร์ได้ผลดีในปี 1918 ระหว่างปฏิบัติการมีคาเอล โดยฝ่ายแนวสนามเพลาะของฝ่ายสัมพันธมิตรและทำให้ทหารราบสนับสนุนแห่กันผ่านรอยแตกกว้างในแนวรบ แม้กำลังเยอรมันส่วนใหญ่เดินเท้า แต่ไม่นานก็คุกคามกรุงปารีส มีเพียงการต้านทานที่ยืดเยื้อและเหนียวแน่น การใช้กองหนุน และปัญหาลอจิสติกส์และกำลังคนของเยอรมันป้องกันมิให้ฝ่ายสัมพันธมิตรปราชัย หลังการรุกฤดูใบไม้ผลินี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดฉากการตีโต้ตอบหลายครั้งด้วยรถถังและทหารราบโจมตีหน่วยเล็กหลายครั้ง ซึ่งมีการคุ้มกันโดยการสนับสนุนทางอากาศและฉากปืนใหญ่อย่างเข้มข้นสั้น ๆ ระหว่างที่กำลังทหารราบหลักติดตามและยึดจุดต้านทานแข็งแรง วิธีนี้บีบให้ฝ่ายเยอรมันล่าถอยและหลังเวลาไม่ถึงสามเดือน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดินแดนเป็นจำนวนมากจนเยอรมันต้องยอมเจรจายุติสงครามในที่สุด

การสงครามในเมือง

การสงครามในเมืองมีรากเหง้าจากยุทธวิธีและยุทธศาสตร์หลายอย่าง พลรบในเมืองจะเผชิญับปัญหาอย่างผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งปลูกสร้างและการเคลื่อนที่ที่จำกัด ต่างจากการรบสมัยนโปเลียน ทหารสมัยใหม่ถูกจำกัดด้วยตรอกแคบ ๆ และถนน ซึ่งทำให้ฝ่ายตรงข้ามทำนายหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของยานยนต์อีกฝ่ายหนึ่งโดยใช้อาวุธอย่างระเบิดแสวงเครื่อง อาร์พีจีและปืนใหญ่ได้ ซึ่งบีบให้ทหารราบต้องผลักดันภัยคุกคามนี้ออกไป

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธนา เปื้องกลาง