สมัยกลาง ของ ยุทธวิธีทหารราบ

หลังจักรวรรดิโรมันล่มสลาย ยุทธวิธีที่หลักแหลมจำนวนมากที่โรมันใช้ก็หายไปด้วย เผ่าต่าง ๆ เช่น วิสิกอทและแวนดัล นิยมโถมใส่ข้าศึกในกลุ่มขนาดใหญ่ เผ่าชนเหล่านี้มักชนะการรบต่อข้าศึกที่ก้าวหน้ากว่าโดยใช้ความจู่โจมและกำลังคนที่เหนือกว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เกิดจากการแบ่งจักรวรรดิโรมัน สร้างกองทัพที่มีประสิทธิภาพ ทหารเกณฑ์ได้รับค่าจ้างงามและมีผู้บัญชาการที่ได้รับการศึกษาในยุทธวิธีและประวัติศาสตร์ทางทหาร อย่างไรก็ดี กองทัพอาศัยทหารม้าเป็นหลัก ทำให้ทหารราบเป็นส่วนที่เล็กกว่าของกำลังโดยรวม

ไวกิงสามารถต่อกรศัตรูที่แข็งแกร่งกว่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความจู่โจมและความคล่องตัว ไวกิงสามารถตัดสินว่าจะเข้าตีเมื่อใดและที่ใด ดุจกองโจรในสงครามอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเพราะเรือท้องแบน ซึ่งสามารถทำให้ลักลอบเข้าไปลึกในแผ่นดินยุโรปทางแม่น้ำก่อนดำเนินการเข้าตี โดยข้าศึกไม่ทันตั้งตัวอยู่บ่อยครั้ง อารามเป็นเป้าหมายบ่อย ๆ เพราะมักไม่ค่อยได้รับการคุ้มครองอย่างดี และมักมีปริมาณสิ่งของมีค่าอยู่พอสมควร ไวกิงน่าเกรงขามในการรบ แต่ยิ่งน่าเกรงขามยิ่งขึ้นอีกเมื่อมีเบอเซอเกอร์

การรบในยุคกลางมักมีขนาดเล็กกว่าการรบที่เกี่ยวข้องกับกองทัพโรมันและกรีซในสมัยโบราณ กองทัพมีการกระจายอำนาจมากกว่า (ซึ่งคล้ายกับรัฐในยุคนั้น) มีการจัดระเบียบการส่งกำลังและยุทธภัณฑ์อย่างเป็นระบบน้อย ผู้นำมักขาดประสิทธิภาพ ฐานะอำนาจของผู้นำมักขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด ไม่ใช่ความสามารถ ทหารส่วนใหญ่ภักดีต่อเจ้าศักดินามากกว่ารัฐของพวกตน และการไม่อยู่ใต้บังคับภายในกองทัพก็พบดาษดื่น อย่างไรก็ดี ข้อแตกต่างใหญ่สุดระหว่างสงครามสมัยก่อนและสงครามในยุคกลางได้แก่การใช้ทหารม้าหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัศวิน อัศวินสามารถไล่กวดทหารราบที่ติดอาวุธาดบ ขวานและกระบองอย่างง่ายดาย ตรงแบบทหารราบมีจำนวนมากกว่าอัศวินระหว่างห้าถึงสิบต่อหนึ่ง ทหารราบสนับสนุนอัศวินและคุ้มกันของแย่งชิง (loot) ใด ๆ ที่รูปขบวนนั้นมี ทหารราบที่ติดอาวุธด้วยหอกสามารถตอบโต้ภัยคุกคามที่เกิดจากทหารม้าข้าศึก ในโอกาสอื่น หลุม ขวาก แวกอนหรือบ่อไม้ปลายแหลมสามารถใช้เพื่อป้องกันทหารม้าที่กำลังบุกประชิดได้ ส่วนพลธนูยิงลูกศรใส่ทหารม้าข้าศึก ทหารอังกฤษใช้ขวากเพื่อป้องกันอัศวินฝรั่งเศสในยุทธการที่อาแซ็งกูร์ในปี 1415

พลไพก์มักมาทดแทนในชุมชนและหมู่บ้านที่ไม่สามารถมีกำลังทหารม้าหนักขนาดใหญ่ ไพก์อาจยาวได้ถึง 5.5 เมตร ส่วนหอกมีความยาวเพียง 2.4 เมตร พลธนูสามารถผสมเข้ากับกำลังพลหอกหรือพลไพก์เพื่อยิงห่าลูกศรใส่ข้าศึก ส่วนหอกหรือไพก์ตรึงข้าศึกอยู่กับที่ โพลอาร์มได้รับการปรับปรุงอีกครั้งด้วยการสร้างแฮลบัด แฮลบัดสามารถมีความยาวเท่ากับหอก แต่มีหัวเป็นขวานเพื่อให้ผู้ใช้ฟันหรือสับทหารม้าข้าศึกที่อยู่ด้านหน้าของขวานหรือปลายบางตรงฝั่งตรงข้าม ชาวญี่ปุ่นก็มีโพลอาร์มเหมือนกัน นางินาตะประกอบด้วยก้านยาว 1,8 เมตร และใบมีด 0.76 เมตร หญิงมักใช้นางินาตะเพื่อเฝ้าปราสาทเมื่อไม่มีชาย

ทหารราบล้อมกรุงเยรูซาเล็มระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่ง

หน้าไม้ ซึ่งไม่ต้องอาศัยพลธนูที่ผ่านการฝึก พบใช้บ่อยในกองทัพซึ่งการฝึกอย่างกว้างขวางที่จำเป็นสำหรับธนูยาวนำมาปฏิบัติจริงไม่ได้ ข้อเสียใหญ่สุดของหน้าไม้คือเวลาบรรจุกระสุนช้า เมื่อมีตัวช่วยดึงเหล็กกล้าและกลไก หน้าไม้จึงทรงพลังยิ่งกว่าแต่ก่อน ชุดเกราะสามารถป้องกันธนูยาวและหน้าไม้เก่าได้ แต่ไม่สามารถหยุดลูกหน้าไม้จากอาวุธปรับปรุงเหล่านี้ได้ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2 สั่งห้ามหน้าไม้เหล็กเกล้าและกล แต่การใช้อาวุธร้ายแรงนี้ก็ได้เริ่มต้นไปแล้ว

อาวุธดินปืนอย่างแรก ๆ ปกติประกอบด้วยท่อโลหะผูกกับเสาไม้ ปกติอาวุธเหล่านี้สามารถยิงได้เพียงครั้งเดียว ปืนใหญ่มือเหล่านี้มีความแม่นยำไม่มาก และปกติใช้ยิงจากกำแพงนครหรือในการซุ่มโจมตี เช่นเดียวกับหน้าไม้ ปืนใหญ่มือไม่ต้องอาศัยทหารที่ผ่านการฝึกและสามารถเจาะเกราะที่ทหารข้าศึกสวมใส่ได้ พลยิงระยะไกลเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองด้วยทหารที่มีอาวุธประชิด อัศวินจะอยู่สองข้างของกำลังนี้และบุกใส่ข้าศึกเพื่อทำลายหลังอ่อนกำลังจากการระดมยิงเหล่านี้แล้ว การริเริ่มอาวุธปืนเป็นเค้าลางการปฏิวัติทางสังคม เพราะชาวนาที่ไม่รู้หนังสือสามารถฆ่าอัศวินชั้นสูงได้

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธนา เปื้องกลาง