รถไฟฟ้าชานเมือง_สายนครวิถี
รถไฟฟ้าชานเมือง_สายนครวิถี

รถไฟฟ้าชานเมือง_สายนครวิถี

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (อังกฤษ: S.R.T. Red Line Mass Transit System, Nakhon Withi Line)[1] หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน (นครปฐม–บางซื่อ–ฉะเชิงเทรา) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดและเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)โครงการมีระยะทางทั้งหมด 117.5 กิโลเมตร 31 สถานี ในเส้นทางหลัก และ 12.5 กิโลเมตร 6 สถานี ในเส้นทางแยกทั้งสองช่วง เป็นเส้นทางหลักในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเกิดขึ้นจากการรวมเส้นทางรถไฟชานเมืองสายตะวันตก (หัวลำโพง-นครปฐม) และรถไฟชานเมืองสายตะวันออก (หัวลำโพง-ชุมทางฉะเชิงเทรา) เข้าด้วยกันตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันตก (พื้นที่นครปฐม ตลอดจนกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออก (พื้นที่อ่อนนุช-ลาดกระบัง และฉะเชิงเทรา) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง และยังสามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานหลักทั้งสามแห่งด้วยระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานที่มีแนวเส้นทางขนานตลอดทั้งโครงการฝั่งตะวันออก รองรับประชาชนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกให้สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และจากใจกลางกรุงเทพมหานครออกสู่จังหวัดบริวาร ไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยทั้งฝั่งตะวันตก (ศาลายา) และตะวันออก (ลาดกระบัง) และสู่จังหวัดโดยรอบได้อย่างรวดเร็วปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ส่วนแรก (บางซื่อ–ตลิ่งชัน) ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ในทันที เนื่องจากต้องรอการก่อสร้างอาคารสถานีกลางบางซื่อและการสั่งซื้อระบบรถไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาว่าจ้างของการก่อสร้างเส้นทางในสายสีแดงเข้ม โครงการให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการ ส่วนที่เหลือได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน–ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน–ศิริราช และช่วงบางซื่อ–หัวหมาก อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลการก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2565 และช่วงศาลายา–นครปฐม ช่วงพญาไท–แม่น้ำ ช่วงหัวหมาก–หัวตะเข้ และช่วงหัวตะเข้–ฉะเชิงเทรา ยังเป็นเพียงแผนงาน

รถไฟฟ้าชานเมือง_สายนครวิถี

ขบวนรถ ฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 2000
รูปแบบ รถไฟรางหนัก
ระบบจ่ายไฟ 25 kV AC จ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง

กม.
รฟท. สายตะวันออก
ฉะเชิงเทรา
บางเตย
คลองบางพระ
คลองแขวงกลั่น
เปรง
คลองอุดมชลจร
คลองหลวงแพ่ง
หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ)
เชื่อม 3 สนามบิน: อู่ตะเภา
สุวรรณภูมิ
ลาดกระบัง
บ้านทับช้าง
สีเหลือง ศรีกรีฑา – กลันตัน
หัวหมาก
รามคำแหง
คลองตัน
มักกะสัน
( เออาร์แอล: ราชปรารภ)
แม่น้ำ
คลองเตย
เพลินจิต
 สายนครวิถี  แม่น้ำ
พญาไท
 สายธานีรัถยา  หัวลำโพง
ราชวิถี
( สายธานีรัถยา  สามเสน)
0 กรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลาง)
ศูนย์ซ่อมบำรุง
เออาร์แอล: ดอนเมือง
 สายธานีรัถยา  ดอนเมือง
(รถไฟสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ)
บางซ่อน
พระราม 6
แม่น้ำเจ้าพระยา
บางกรวย-(กฟผ.)
ธนบุรี-ศิริราช
จรัญสนิทวงษ์
บางบำหรุ
คลองบางกอกน้อย
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
 สายนครวิถี  ธนบุรี
ตลิ่งชัน
ส่วนต่อขยายด้านตะวันตก
บ้านฉิมพลี
ศาลาธรรมสพณ์
ศาลายา
คลองมหาสวัสดิ์
วัดงิ้วราย
นครชัยศรี
ท่าแฉลบ
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยท่าแฉลบ
ต้นสำโรง
นครปฐม
(รถไฟสายใต้)
อาณัติสัญญาณ ETCS Level1
จำนวนสถานี 3 (ปัจจุบัน) 22 (โครงการ)
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ความเร็ว ความเร็วสูงสุด160 km/h (99 mph)
ความเร็วบริการ110 km/h (68 mph) (เฉพาะสายนครวิถี)
สถานะ เปิดให้บริการ
เปิดเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ที่ตั้ง นครปฐม, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา
รางกว้าง 1.000 เมตร
ระยะทาง ปัจจุบัน 15 กม. (9.32 ไมล์) จากโครงการ 127.5 กม. (79.22 ไมล์)
ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรไฟฟ้าบางซื่อ
ปลายทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา (โครงการ) , กรุงเทพอภิวัฒน์ (ปัจจุบัน)
นครปฐม (โครงการ) , ตลิ่งชัน (ปัจจุบัน)
จำนวนทางวิ่ง 2
ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนเข้าประมูล

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าชานเมือง_สายนครวิถี http://www.bkkmrtmasterplan.com http://www.youtube.com/watch?v=Glc2PE63lk8 http://www.railway.co.th/resultproject/project_red... https://mgronline.com/business/detail/965000009334... https://web.archive.org/web/20130518232233/http://... https://web.archive.org/web/20150924084532/http://... https://en.wikipedia.org/wiki/European_Train_Contr... https://www.infoquest.co.th/2020/8706