ประเภท ของ ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม

ระบบลงคะแนนแบบคะแนนรวมใช้บัตรลงคะแนนแบบให้คะแนน ซึ่งผู้ลงคะแนนให้คะแนนผู้สมัครที่ละรายเป็นคะแนนที่กำหนดให้ เช่น ตั้งแต่ 0 ถึง 9[13] หรือ 1 ถึง 5 ในระบบที่ง่ายที่สุดนั้นผู้สมัครทุกคนจำเป็นจะต้องได้คะแนนเสมอ จากนั้นคะแนนของแต่ละผู้สมัครแต่ละคนจะถูกรวม และผู้สมัครรายที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะ (วิธีนี้จะง่ายกว่าระบบคะแนนสะสมซึ่งไม่สามารถให้คะแนนได้มากกว่าที่กำหนดไว้สำหรับผู้สมัคร)

ในบางระบบยังยอมให้ผู้ลงคะแนนสามารถทำเครื่องหมาย งดออกเสียง สำหรับผู้สมัครได้เป็นรายบุคคลแทนการลงเป็นจำนวนน้อยแทน ในกรณีนี้ คะแนนของผู้สมัครจะเป็นคะแนน เฉลี่ย จากผู้ลงคะแนนคนอื่นที่ให้คะแนนผู้สมัครรายนี้ อย่างไรก็ตาม บางวิธีคำนวนจะเว้นผู้สมัครรายที่ได้รับคะแนนน้อยเกินเกณฑ์เพื่อเป็นการไม่ทำให้ค่าเฉลี่ยต่ำเกินไป[14][15]

ในการแข่งขันบางประเภทนั้นจะต้องใช้เกณฑ์คะแนนตัดสินโดยผู้ตัดสิน มีการใช้มัชฌิมตัดทอนเพื่อตัดคะแนนสูงสุดและต่ำสุดออก ตัวอย่างเช่น การลงคะแนนแบบคะแนนรวมที่ใช้มัชฌิมตัดทอนนำมาใช้ในการตัดสินการแข่งขันสเกตเพื่อไม่ให้คะแนนของลำดับที่สามมากระทบตำแหน่งสัมพันธ์ของผู้แข็งขันในลำดับแรกและลำดับที่สองที่เข้าเส้นชัยก่อน (อิสระของตัวเลือกที่ไม่เกี่ยวข้อง) การใช้มัชฌิมตัดทอนเพื่อลดปัญหาการมีอคติจากผู้ตัดสินบางคนที่มีแรงจูงใจแอบแฝงในการให้คะแนนผู้แข่งขันบางคนสูงหรือต่ำเกินไป

อีกวิธีหนึ่งในการนับบัตรแบบคะแนนรวมนั้นคือการหาค่ามัธยฐานของผู้สมัครทีละราย และจึงเลือกผู้สมัครที่มีคะแนนมัธยฐานสูงที่สุด วิธีนี้ยังเรียกอีกชื่อว่า การตัดสินแบบเสียงข้างมาก (majority judgement)[16][17] ซึ่งอาจจะมีผลกระทบในลดผลลัพธ์ไม่ให้เกินจริง ประเด็นที่อาจเป็นข้อเสียของระบบนี้คืออาจเกิดคะแนนเสมอได้หลายวิธีถึงแม้ว่าจะมีวิธีแก้ไม่ให้ผลลัพธ์เสมอกัน[16] อีกหนึ่งผลกระทบของการใช้มัธยฐานคือเมื่อมีการรวมบัตรลงคะแนนที่มีคะแนนรวมเป็นศูนย์เข้าไปจะส่งผลในการหาผู้ชนะการเลือกตั้ง

บัตรลงคะแนนในแบบ STAR ซึ่งใช้บัตรลงคะแนนแบบคะแนนรวม ในการนับคะแนนนั้นจะต้องเพิ่มเติมขั้นตอนในการเลือกผู้ชนะจากผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดสองลำดับแรก

อีกแบบย่อยหนึ่งเรียกว่า ระบบการลงคะแนนแบบสตาร์ (STAR) ซึ่งย่อมาจาก "Score Then Automatic Runoff" แปลตรงตัวว่า "ให้คะแนนแล้วจากนั้นจะเป็นการรันออฟโดยอัตโนมัติ" ในระบบนี้ ผู้ลงคะแนนแต่ละรายอาจให้คะแนนใดในบัตรลงคะแนน ตั้งแต่ศูนย์จนถึงคะแนนสูงสุดที่กำหนดให้ โดยสามารถให้คะแนนผู้สมัครได้ทุกราย ในการนับคะแนน จากผู้สมัครสองรายที่ได้คะแนนสูงสุด ผู้ชนะคือผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากผู้ลงคะแนนจำนวนมากที่สุด[18] หลักการนี้ถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2014 โดยผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์เพื่อวิทยาศาสตร์การเลือกตั้ง เคลย์ เชนท์รัป[19] ในขั้นตอนที่เป็นการรันออฟถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขยุทธศาสตร์ในการบิดเบือนผลคะแนนที่พบในระบบการนับคะแนนแบบปกติ[20] อาทิเช่น การลงคะแนนแบบกระสุน (bullet voting)[21]

การลงคะแนนแบบคะแนนรวมที่ยอมให้ลงคะแนนได้เพียงสองแบบ (เช่น 0 และ 1 เป็นต้น) จะเทียบเท่ากับระบบคะแนนอนุมัติ (approval voting) ซึ่งในกรณีผู้ลงคะแนนจะต้องเลือกผู้สมัครรายที่ชอบกี่รายก็ได้ โดยรายใดที่ได้คะแนนอนุมัติรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ

คำว่า "การลงคะแนนแบบพิสัย" (range voting) ใช้ในการอธิบายทฤษฎีเลือกตั้งที่ผู้ลงคะแนนสามารถให้คะแนนเป็นจำนวนจริงภายในช่วงพิสัย [0,1] ซึ่งง่ายต่อการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ แต่เกณฑ์วัดนี้ไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติจริงในการเลือกตั้ง และสามารถประมาณการลงคะแนนได้หลายหลายวิธี เช่น การใช้แถบเลื่อนในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น[22][23][24][25]

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม http://independentpoliticalreport.com/2017/06/utah... http://RangeVote.com http://www.socialchoiceandbeyond.com/scabpage38.ht... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17496140 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1885569 http://scorevoting.net/WarrenSmithPages/homepage/r... http://bolson.org/voting/essay.html //doi.org/10.1007%2F978-3-642-02839-7_3 //doi.org/10.1007%2FBF01726327 //doi.org/10.1016%2Fj.electstud.2013.11.003