การลิดรอนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก ของ รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549

การควบคุมสื่อ

หัวหน้าคณะปฏิรูป ฯ ตาม คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549[68] ได้สั่งให้กระทรวงไอซีที "ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการรับฟังข่าวสาร และการเสนอความคิดเห็น ได้มีการควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อโทรทัศน์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

การควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต

  • กรณีกระทรวงไอซีทีออกคำสั่งให้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมบทความทางวิชาการหลายสาขา ทั้ง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ รวมทั้งมีกระดานข่าวสาธารณะให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ปิดลง ตั้งแต่เวลา 20.00น. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า[69] แต่ต่อมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายสมเกียรติ ตั้งนโม เว็บมาสเตอร์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยกล่าวว่าจากการหาข่าวในทางลับนั้น เรื่องการปิดเว็บไซต์ไม่เกี่ยวกับ คปค. แต่อย่างใด การดำเนินการครั้งนี้เป็นการจัดการนอกคำสั่งของคนในกระทรวงไอซีที ซึ่งนายสมเกียรติก็ทราบว่าเป็นลูกน้องใคร "เพื่อเสี้ยมให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไปชนกับ คปค." ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่ตกเป็นเหยื่อของแผนการดังกล่าว[70] จนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ตัวแทนกระทรวงไอซีที ได้แถลงยอมรับต่อศาลว่า ออกคำสั่งให้บล็อกเว็บไซต์จริงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 - เวลา 15.00 น. ของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่หลังจากนั้นได้ยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์เนื่องจากสถานการณ์ยึดอำนาจได้คลี่คลาย แต่ไม่ทราบว่าการยกเลิกการบล็อกนั้นได้คลายการล็อก IP ทั้ง 30 เว็บไซต์ของบริษัทไทยอิสดอตคอมครบถ้วนหรือไม่ เมื่อศาลรับทราบข้อเท็จจริงจากกระทรวงไอซีทีแล้ว จึงออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงไอซีทีคลายบล็อกของเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนแล้ว[71]

การควบคุมรายการโทรทัศน์

  • เย็นวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สถานีโทรทัศน์ไทยทุกช่องได้ยุติรายการปกติและ เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี และวิดีโอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงแทน
  • วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการประชุมสั้น ๆ ของพลเอกสนธิ โทรทัศน์ไทยทุกช่องได้ถูกควบคุมโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 คปค. ได้เรียกประชุมผู้บริหารสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่กองบัญชาการทหารบก และสั่งให้หยุดเผยแพร่ข้อคิดเห็นของสาธารณชน รวมถึงการแสดงความคิดเห็นผ่านบริการส่งข้อความที่ด้านล่างของจอโทรทัศน์ด้วย คปค. ไม่ได้กล่าวว่าการห้ามนี้มีผลถึงหนังสือพิมพ์และเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ต[72]
  • ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร เช่น การประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่หน้าสยามสแควร์[38]
  • เคเบิลทีวีช่อง CNN, BBC, CNBC, NHK และช่องข่าวต่างประเทศอีกหลายช่องถูกเซ็นเซอร์ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกตัดออก[73]
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 หนังสือพิมพ์ The Guardian เปิดเผยว่า มีทหารติดอาวุธนั่งอยู่ในห้องข่าวและห้องควบคุมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง[74]
  • วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ และบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 9 อสมท แสดงความรับผิดชอบลาออกจากช่อง 9 อสมท เพราะออกอากาศประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงที่เกิดรัฐประหาร[75]
  • วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550 พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.ได้เชิญผู้บริหารสื่อซึ่งมีทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุ จำนวนประมาณ 50 คน จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง และผู้บริหารสถาวิทยุของรัฐรวมทั้งสถานีวิทยุชุมชน มาร่วมหารือที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง วิทยุทุกสถานี ไม่แพร่ภาพกระจายเสียงข้อความหรือแถลงการณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี และแกนนำของพรรคไทยรักไทย[76]
  • สั่งบล็อกเว็บ CNN และรายการ CNN ทางโทรทัศน์ ที่มีการถ่ายทอดการสัมภาษณ์ของทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เพื่อไม่ให้ประชาชนไทยได้รับรู้ข่าวสารของทักษิณ สนองนโยบายล่าสุดของทหารที่ไม่ให้เสนอข่าวและความคิดเห็นของทักษิณ ชินวัตร[77]

การยุติการกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ

สถานีวิทยุชุมชนประมาณ 300 คลื่น ปิดตัวลง[78]

การห้ามชุมนุมทางการเมือง

  • ได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้มีการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษจำคุก 6 เดือน
  • เมื่อวันที่ 20 กันยายน ทหารได้จับกุม ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ นายทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย ขณะกำลังประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[27]
  • นักศึกษาหญิงไม่ทราบชื่อคนหนึ่ง ถูกตำรวจจับกุมตัวไป ขณะกำลังอ่านแถลงการณ์ต่อต้านการทำรัฐประหาร ในการประท้วงที่หน้าห้างสยามเซ็นเตอร์[39] ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบชะตากรรมของเธอ[39]

การห้ามเดินทาง

  • ได้จำกัดสิทธิ์ในการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยในภาคเหนือและภาคอีสาน คืนวันที่ 25 กันยายน ครูจากจังหวัดเชียงรายประมาณ 100 คนได้นั่งรถเพื่อไปร่วมงานสังคมที่จังหวัดชลบุรี ขณะกำลังผ่านด่านตรวจ ทหารได้สั่งให้หยุดรถและไม่อนุญาตให้ไปต่อ เพราะผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงรายไม่อนุญาต[79]
  • ประชาชนที่จะเดินทางพร้อมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นจำนวนมากเข้ามาในกรุงเทพฯ จะต้องให้ที่ว่าการอำเภอทำหนังสือรับรอง

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549 http://english.people.com.cn/200609/20/eng20060920... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/revolut... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/whiteco... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601080&si... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://www.cnn.com/2006/WORLD/asiapcf/09/23/thaila... http://www.cnn.com/interactive/world/0609/gallery.... http://www.cnn.com/video/player/player.html?url=/v... http://www.feer.com/articles1/2006/0609/free/p023....