ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ของ รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549

ปฏิกิริยาของตลาดการเงิน

เงินบาทได้ลดค่าจาก 37.280 บาทต่อ ดอลลาร์อเมริกา USD เป็น 37.900 บาทต่อ ดอลลาร์อเมริกา เป็นการลดค่าในวันเดียวมากที่สุดในรอบ 3 ปี กองทุน Thai Fund Inc. ในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ได้ ลดค่า 10.9% ภายใน 2 วัน ดัชนี Nikkei ตกลงไปถึง 177.78 จุด หรือประมาณ 1.12% ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นก่อนปิดตลาดที่ 15874.28 จุด ส่วนที่ New York ดัชนี Dow Jones ร่วงไปถึง 14.09 จุด ปิดตลาดที่ 11540.91 จุด[80]

ระดับความน่าเชื่อถือ

แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ ได้เตือนว่า อาจมีการลด เรตติงสินเชื่อ (debt rating) ไทย จาก BBB+ ตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น[81]

มูดี้ส์ แถลงการณ์ว่าฐานะทางการเงินของไทยและความสามารถในการใช้จ่ายนอกประเทศ น่าจะเข้มแข็งพอเพียงต่อความสั่นคลอนทางการเมืองชั่วขณะที่เป็นผลมาจากการยึดอำนาจ มูดี้ส์จึงไม่เปลี่ยนแปลงอันดับเกี่ยวกับประเทศไทยแต่อย่างใด อันดับความน่าเชื่อถือเงินตราทั้งในและต่างประเทศของรัฐบาลไทยยังคงอยู่ที่อันดับ BAA 1 อันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดของพันธบัตรเงินกู้ยังคงอยู่ที่ A 3 และอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดของเงินตราต่างประเทศในรูปเงินฝากอยู่ที่ BAA 1[82]

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทหลังจากเกิดรัฐประหารด้วยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงกลางดึก ค่าเงินบาทที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้ปรับตัวอ่อนค่าลงถึง 60 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อตลาดเงินเปิดในตอนเช้า (ตลาดสิงคโปร์) ผู้ส่งออกมีการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างปกติ และล่าสุดค่าเงินบาทได้กลับมาแข็งค่าขึ้น โดยที่ ธปท.ไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางวันนี้ทางผู้บริหารของ ธปท. ได้ดำเนินประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น[22]

ปฏิกิริยาต่างชาติ โดยเน้นด้านเศรษฐกิจ[25] มีความเห็นดังนี้

  • "ไอเอ็มเอฟกำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์การก่อรัฐประหารในไทยอย่างใกล้ชิด แต่ยังเห็นว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบในตลาดการเงิน" (นายบิล เมอร์เรย์ โฆษกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ)
  • นักวิเคราะห์ของฟิตช์ กล่าวว่า สถานะของสภาพคล่องของไทยนั้นจัดอยู่ในระดับแข็งแกร่ง และเชื่อว่าจะสามารถรับมือกับสภาวะช็อคที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้
  • นางซูซาน ชว็อป ผู้แทนการค้าสหรัฐ คาดว่า มีผลกระทบต่อการเจรจาเอฟทีเอกับไทย
  • นายซาโตรุ โอกาซาวาระ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การเงินของญี่ปุ่น กล่าวว่า การที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงอยู่จะส่งผลให้ค่าเงินบาทไม่สามารถฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ผลกระทบจากการทำรัฐประหารครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบกับค่าเงินบาทเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินสกุลอื่น ๆ ของเอเชียอีกด้วย
  • นายมาร์แชล กิทท์เลอร์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การเงินของ ธนาคารดอยทช์แบงก์สาขาสิงคโปร์กล่าวว่า การทำรัฐประหารไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในระยะยาวเนื่องจากการทำรัฐประหารครั้งนี้ถือเป็นปัญหาความไม่สงบภายในประเทศไทยเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549 http://english.people.com.cn/200609/20/eng20060920... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/revolut... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/whiteco... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601080&si... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://www.cnn.com/2006/WORLD/asiapcf/09/23/thaila... http://www.cnn.com/interactive/world/0609/gallery.... http://www.cnn.com/video/player/player.html?url=/v... http://www.feer.com/articles1/2006/0609/free/p023....