ระบอบเผด็จการ ของ รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2557

 
 
 
 
 
 
 
 
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรัฐประหาร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คณะรักษาความสงบแห่งชาติคณะรัฐมนตรีสภานิติบัญญัติแห่งชาติสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นองค์การทรงอำนาจที่สุดหลังรัฐประหาร ซึ่งคณะรัฐประหารควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ มีการกำหนดให้หัวหน้าคณะ (พลเอกประยุทธ์) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ยังไม่มีนายกรัฐมนตรี และกำหนดตัวสมาชิกดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ พลเอกประยุทธ์ตั้งต้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเช่นในรัฐประหารปี 2549 จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 คสช. ออกประกาศ 132 ฉบับ คำสั่ง 214 ฉบับ และคำสั่งหัวหน้า คสช. อีก 207 ฉบับ[36]
  • คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ ประกอบด้วยนายทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยมีทหารควบคุมกระทรวงสำคัญ ๆ นอกเหนือจากกระทรวงด้านความมั่นคงอย่างเดียว จนสุดท้ายเกิดความไร้สามารถและความผิดพลาดร้ายแรงจนต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเป็นพลเรือนที่มีความสามารถมากกว่าแทน[35]:284
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นสภาตรายางของคณะรัฐประหาร ในบรรดาสมาชิกจากการแต่งตั้ง 250 คน เป็นทหาร 145 คน (58%) ซึ่งมีผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพทุกนายตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาด้วย นอกจากนี้ยังมีคติเห็นแก่ญาติ คือมีการแต่งตั้งอดีตผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมรุ่น จปร. และน้องชายของประยุทธ์ด้วย นับเป็นการตั้งตระกูลการเมืองในระบอบทหาร[35]:285 สภานี้คล้ายกับข้อเรียกร้องสภาประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศของ กปปส.[37] มีการยุบสภาดังกล่าวในปี 2558 หลัง สนช. ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ
  • สภาปฏิรูปแห่งชาติมีสมาชิกจากการแต่งตั้ง 250 คนเพื่อประมวลข้อเสนอการปฏิรูปประเทศ เป็นสภาที่ไม่มีอำนาจ แต่เป็นวิธีของ คสช. ในการตอบแทนขบวนการต่อต้านทักษิณในประชาสังคมและสังคมการเมืองซึ่งเปิดทางให้รัฐประหารครั้งนี้[35]:286 เพื่อให้คนเหล่านี้มีพื้นที่สาธารณะในการแสดงข้อเรียกร้องของพวกตน สมาชิกสภาฯ นี้มองเห็นโอกาสในการผลักดันวาระของพวกตน และช่วยค้ำจุนระบอบรัฐประหารโดยการประสานงานกับคนหลายกลุ่ม และสร้างฐานสนับสนุนในสังคม[35]:286

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2557 http://www.mrecic.gov.ar/el-gobierno-argentino-exp... http://www.humanrights.asia/news/ahrc-news/AHRC-ST... http://www.sbs.com.au/news/article/2014/05/23/thai... http://www.minrel.gob.cl/gobierno-de-chile-condena... http://www.appdisqus.com/2014/06/11/dtac-4g.html# http://asiancorrespondent.com/123598/thai-anti-cou... http://www.asiasentinel.com/politics/thai-generals... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics...