ชื่อ ของ ราชวงศ์หยวน

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ อี้จิง และ อาณัติแห่งสวรรค์

ก่อนหน้านี้ชาวมองโกลมีจักรวรรดิของตนที่ชื่อ (อิค มองกูล อูลุส) (Ikh Mongol Uls) (ikh: ยิ่งใหญ่, uls: รัฐ, ประเทศ; รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่)[2] หรือ จักรวรรดิมองโกล ที่ยังไม่ได้ครอบครองดินแดนจีนของราชวงศ์ซ่ง จนในรัชสมัยของมองเกอ ข่าน (ค.ศ. 1251– 1259) พระเชษฐาของกุบไลข่าน นำกองทัพบุกดินแดนจีนตอนล่างของราชวงศ์ซ่งและประกาศอาณัติแห่งสวรรค์ มองเกอ ข่านได้รับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน มาใช้และตั้งชื่อเรียกจักรวรรดิว่า "จีน" (, จงกั๋ว; ที่แปลว่า อาณาจักรศูนย์กลางของโลก) ถือว่าเป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ตรงกับภาษามองโกล คำว่า ดุมต้าตู อูลุส (Dumdadu ulus) มองเกอ ข่านได้พยายามประกาศใช้ภาษาจีนเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารในดินแดนที่ยึดได้ และเรียกราษฎรในจักรวรรดิว่า ชาวจีน (中國人 จงกั๋ว จื้อ เริน; ภาษามองโกล: ดุมต้าตูชูต) เพื่อความเป็นเอกภาพและหนึ่งเดียว ซึ่งทำให้ดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของมองโกลไม่พอใจและทำให้จักรวรรดิแตกแยกในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 1271 (พ.ศ. 1814) กุบไลข่านได้ประกาศตั้งชื่อจักรวรรดิใหม่ว่า ต้าหยวน (จีน: 大元; พินอิน: Dà Yuán; เวด-ไจลส์: Ta-Yüan) หรือ ราชวงศ์หยวน[3] "ต้าหยวน" (大元) มาจากประโยคหนึ่งของจีนที่ว่า "大哉乾元" (ดา ไจ๋ เคี้ยงหยวน / "เคี้ยงนั้นยิ่งใหญ่, เป็นปฐม") ใน ซึ่งคำว่า "เคี้ยง" () เป็นแฉกแรกของศาสตร์อี้จิง[4][5] ตรงกับภาษามองโกลที่ว่า ได ออน อูลุส (Dai Ön Ulus) นอกจากนี้คำว่า อิค หยวน อูลุส (Ikh Yuan Üls) หรือ เยเคอ หยวน อูลุส (Yekhe Yuan Ulus) ในภาษามองโกลคำว่า ไดออน (Dai Ön) เป็นคำทับศัพท์ภาษาจีนคำว่า ต้าหยวน มักจะใช้ร่วมกับคำว่า "เยเคอ มองกูล อูลุส" ("Yeke Mongghul Ulus") (ที่แปลว่า "รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่") บางครั้งมีการประสมเป็นคำว่า ได ออน เยเคอ มองกูล อุลุส (Dai Ön Yeke Mongghul Ulus)[6] (อักษรมองโกล: ), แปลว่า "รัฐหยวนมองโกลอันยิ่งใหญ่"[7]

ราชวงศ์หยวนเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกในฐานะ "ราชวงศ์มองโกล"[8] หรือ "ราชวงศ์มองโกลแห่งประเทศจีน",[9] ราชวงศ์หยวนมองโกลมักถูกมองว่าเป็นชนเผ่าคนเถื่อนที่เข้าปกครองประเทศจีน เหมือนราชวงศ์แมนจู ของชาวแมนจู[10] หรือ "ราชวงศ์แมนจูแห่งประเทศจีน"[11] ในเวลาต่อมาที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ราชวงศ์ชิง