ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค

ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค

ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค (เยอรมัน: Habsburgermonarchie) ราชาธิปไตยโดเนา (เยอรมัน: Donaumonarchie) หรือ จักรวรรดิฮาพส์บวร์ค เป็นคำนิยามอย่างกว้าง สมัยใหม่ซึ่งบัญญัติโดยนักประวัติศาสตร์เพื่อใช้แสดงถึงดินแดนและอาณาจักรต่าง ๆ ของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสาขาออสเตรีย ถึงแม้ว่าในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1438 ถึง 1806 (เว้นช่วงไปใน ค.ศ. 1742 ถึง 1745) เชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คจะถือครองพระราชอิสริยยศจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยก็ตาม แต่ตัวจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เอง (ซึ่งจักรพรรดิทรงมีอำนาจปกครองแต่เพียงเล็กน้อย) ก็ไม่ได้ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกกันในปัจจุบันว่าราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คจุดเริ่มต้นของรัฐราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คเริ่มนับจากการที่พระเจ้ารูด็อล์ฟที่ 1 ทรงได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์เยอรมนี ใน ค.ศ. 1273 และการที่ทรงได้รับดัชชีออสเตรีย เป็นดินแดนประจำราชวงศ์เมื่อ ค.ศ. 1282 ใน ค.ศ. 1482 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 ทรงได้ครองเนเธอร์แลนด์ ผ่านทางการอภิเษกสมรส ดินแดนทั้งสองอยู่ในเขตแดนของจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ และถูกส่งต่อไปยังจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งทรงได้รับสืบทอดสเปนและอาณานิคมมาจากทางฝั่งพระราชมารดา และได้ปกครองเหนือจักรวรรดิฮาพส์บวร์คในช่วงแพ่ไพศาลที่สุด การสละราชสมบัติของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ใน ค.ศ. 1556 นำไปสู่การแบ่งดินแดนต่าง ๆ ที่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คถือครอง ระหว่างพระอนุชา แฟร์ดีนันท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนพระองค์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1521 และได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย มาตั้งแต่ ค.ศ. 1526 กับพระราชโอรส พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ก่อให้เกิดการแบ่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คออกเป็นสาขาสเปน (ปกครองคาบสมุทรไอบีเรีย เนเธอร์แลนด์ บร์ูกอญ และดินแดนในอิตาลี) ซึ่งมาสิ้นสุดเชื้อสายใน ค.ศ. 1700 และสาขาออสเตรีย (ซึ่งถือครองบัลลังก์จักรวรรดิ ฮังการี โบฮีเมีย และพระราชอิสริยยศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) และมีสาขาย่อยแตกออกไปจากสาขานี้อีก ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1564 ถึง 1665 แต่หลังจากนั้นก็รวมกันเป็นรัฐร่วมประมุขภายใต้ราชวงศ์เดียวรัฐราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คเป็นรัฐที่มีพระประมุขร่วมกัน โดยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือสถาบันร่วมใด ๆ ยกเว้นราชสำนักฮาพส์บวร์คเอง โดยดินแดนทั้งนอกและในจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ต่างมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน รัฐองค์ประกอบ (Composite State) กลายมาเป็นรูปแบบรัฐราชาธิปไตยที่พบได้ทั่วไปใน ยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างสมัยใหม่ตอนต้น[2][3] การรวมดินแดนของจักรวรรดิฮาพส์บวร์คเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรรษที่ 19 โดยดินแดนต่าง ๆ ถูกรวบรวมและจัดตั้งเป็นจักรวรรดิออสเตรีย ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1804 ถึง 1867 และพัฒนาไปเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1867 ถึง 1918[4][5]ก่อนที่จะล่มสลายลงหลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ ดินแดนของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (สาขาออสเตรีย) มักจะถูกเรียกโดยนามนัยว่า "ออสเตรีย" และเมื่อถึงราว ๆ ค.ศ. 1700 ศัพท์ภาษาละติน monarchia austriaca (ราชาธิปไตยออสเตรีย) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการกล่าวถึงดินแดนเหล่านี้[6] ภายในเขตแดนของจักรวรรดิ ดินแดนอันกว้างใหญ่นี้ประกอบไปด้วยดินแดนที่สืบทอดมาแต่เดิมก่อน ค.ศ. 1526 เรียกว่า เอิบลันด์ (Erblande) ดินแดนของราชบัลลังก์โบฮีเมีย ดินแดนเนเธอร์แลนด์ของสเปนเดิม ซึ่งเป็นดินแดนหนึ่งของดินแดนราชวงศ์ฮาพส์บวร์คตั้งแต่ ค.ศ. 1714 ถึง 1794 ดินแดนสวามิภักดิ์ (fief) บางส่วนในอิตาลี และนอกพรมแดนจักรวรรรดินั้นประกอบไปด้วยดินแดนทั้งหมดของราชบัลลังก์ฮังการี และดินแดนที่ได้มาจากการขับไล่จักรวรรดิออตโตมัน ศูนย์กลางของราชวงศ์อยู่ที่เวียนนา ยกเว้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1583 ถึง 1611 ซึ่งย้ายไปอยู่ที่ปราก[7]

ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค

• ค.ศ. 1282–1308 พระเจ้าอัลแบร์ทที่ 1 แห่งเยอรมนี และ ดยุกรูด็อล์ฟที่ 2 แห่งออสเตรีย
• ดัชชีออสเตรียได้รับเลี่อนสถานะขึ้นเป็นอาร์ชดัชชี ค.ศ. 1358
• ค.ศ. 1916–1918 จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย-ฮังการี
การปกครอง ราชาธิปไตยแบบเจ้าขุนมูลนาย
• ค.ศ. 1753–1793 เว็นท์เซิล อันโทน
ผู้ปกครอง  
ภาษาหลัก ละติน เยอรมัน ฮังการี เช็ก โครเอเชีย โรมาเนีย อิสโตร–โรมาเนีย สโลวัก สโลวีน ดัตช์ ลอมบาร์ด เวเนโต ฟรูเลียน ลาดิน อิตาลี โปแลนด์ รูทีเนีย เซอร์เบีย ฝรั่งเศส
สถานะ ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (บางส่วน)
รัฐร่วมประมุข
• ยุทธการที่เวียนนา 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1683
• สงครามสืบราชบัลลังก์ ค.ศ. 1740 – ค.ศ. 1748
• สภาเอาก์สบวร์กยกดัชชีออสเตรียให้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ธันวาคม ค.ศ. 1282
• การปฏิวัติแอสเตอร์ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1918
• สถาปนาจักรวรรดิออสเตรีย 11 สิงหาคม ค.ศ. 1804
เลขานุการแห่งรัฐ  
• สนธิสัญญาซิสโทวา 4 สิงหาคม ค.ศ. 1791
เมืองหลวง
• เอาท์ชไกลส์ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1867
• สงครามออสเตรีย–ตุรกี ค.ศ. 1787 – ค.ศ. 1791
• การอภิเษกสมรสระหว่างฟิลิปผู้หล่อเหลาและฆัวนาแห่งอารากอน 20 ตุลาคม ค.ศ. 1496
ยุคประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ตอนต้น/สมัยนโปเลียน
ศาสนา โดยส่วนมาก:
โรมันคาทอลิก (ได้รับการรับรอง)
โดยส่วนน้อย:
นิกายปฏิรูป ลูเทอแรน อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ยูทราควิส ยูดาห์ อับราฮัมนิยม

ใกล้เคียง

ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ราชาธิราช ราชาธิปไตย ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง ราชาธิปไตยของไอร์แลนด์ ราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม ราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค http://www.britannica.com/EBchecked/topic/204416/F... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/44386/Au... http://www.wien-vienna.com/austrohungary.php http://worldheritage.heindorffhus.dk/frame-CzechRe... http://digitalcommons.usu.edu/cgi/viewcontent.cgi?... http://www.h-net.org/~habsweb/ https://books.google.com/books?id=1QXiWBGboHMC https://books.google.com/books?id=245lDwAAQBAJ&q=m... https://books.google.com/books?id=Cmm4J2Ug4o8C&pg=... https://books.google.com/books?id=GwV_DwAAQBAJ&q=F...