ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ ของ ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ภูเขาไฟปินาตูโบระเบิดใน พ.ศ. 2534

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟช่วงหลังเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีขนาดเล็กแต่ในอดีตนั้นค่อนข้างสำคัญ

เหตุการณ์ล่าสุด การระเบิดของภูเขาไฟปินาตูโบ พ.ศ. 2534 ภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นในประเทศฟิลิปปินส์ทำให้โลกมีอุณหภูมิลดลง 2–3 ปี[3]

การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว พ.ศ. 2426 ทำให้เกิดสภาพคล้ายฤดูหนาวจากภูเขาไฟ 4 ปีหลังการระเบิดทำให้เกิดความเย็นที่ผิดปกติและพายุหิมะที่รุนแรง [4]

การปะทุของภูเขาไฟตัมโบรา พ.ศ. 2358 ภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดน้ำค้างแข็งกลางฤดูร้อนในรัฐนิวยอร์กและทำให้เกิดหิมะตกในนิวอิงแลนด์และรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถูกเรียกว่า "ปีไร้ฤดูร้อน"

กระดาษที่เขียนโดยเบนจามิน แฟรงคลินใน พ.ศ. 2326[5] ได้เขียนถึงความหนาวในหน้าร้อนของปี 2326 ซึ่งเกิดจากฝุ่นภูเขาไฟจากภูเขาไฟลาไคในไอซ์แลนด์ซึ่งได้ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวนมากส่งผลให้ปศุสัตว์บนเกาะตาย, เกิดทุพภิกขภัยจนทำให้ชาวไอซ์แลนด์ 1 ใน 4 ต้องตายลง, ซีกโลกเหนืออุณหภูมิลดลงประมาณ 1 °C ในปีที่ปะทุ แต่ถึงอย่างนั้นข้อเสนอของเบนจามิน แฟรงคลินนั้นได้รับการตั้งคำถามว่าอาจจะผิด[6]

การระเบิดของภูเขาไฟฮวายนาปูตินาในเปรู พ.ศ. 2143 จากการศึกษาวงปีต้นไม้แสดงให้เห็นว่า พ.ศ. 2143 นั้นมีอากาศเย็น, ทำให้เกิดทุพภิกขภัยในรัสเซียในปี 2144–2146 และตั้งแต่ พ.ศ. 2143 ถึง 2145 สวิตเซอร์แลนด์, ลัตเวียและเอสโตเนียต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวจัด พ.ศ. 2144 การผลิตไวน์ในฝรั่งเศสล้าช้าส่วนในเปรูและเยอรมนีการผลิตไวน์ก็ทรุดตังลง ต้นท้อในจีนบานช้าและทะเลสาบซุวะในญี่ปุ่นก็แข็งตัว[7]

พ.ศ. 1995 หรือ พ.ศ. 1996 การประทุของภูเขาไฟใต้ทะเลคูเว (Kuwae) ทำให้เกิดยุดน้ำแข็งขนาดเล็ก

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 1858–1860 ในทวีปยุโรปอาจเป็นผลมาจากเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด[8] คาดว่าน่าจะเป็นภูเขาไฟทาราวีราในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งมีผลประมาณ 5 ปี[9]

เหตุการณ์ลมฟ้าอากาศสุดโต่งใน พ.ศ. 1078–1079 มีแนวโน้มว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุภูเขาไฟระเบิดคำอธิบายทางด้านทฤษฎีล่าสุดคือการระเบิดของเตเอรา บลานกา โคเบน (Tierra Blanca Joven) ในภาคกลางของเอลซัลวาดอร์[10]

หนึ่งในฤดูหนาวจากภูเขาไฟที่สำคํญครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 71,000–73,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นเหตุการระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟโตบาบนเกาะสุมาตราในอินโดนีเซียหลังการระเบิด 6 ปีมีการปล่อยปริมาณกำมะถันสูงสุดในช่วง 110,000 ปี และยังทำให้ป่าไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกทำลายและอุณหภูมิของโลกลดลง 1 °C[11] นักวิทยาศาสตร์บางคนตั้งสมมติฐานว่าการปะทุครั้งนี้อาจส่งผลให้เร่งการเกิดธารน้ำแข็งซึ่งเพิ่มความหนาวเย็นภายในทวีป ความหนาวเย็นนี้ทำให้จำนวนประชากรมนุษย์และสัตว์ลดลงจำนวนมาก แต่มีบางกลุ่มโต้แย้งว่าการระเบิดของภูเขาไฟนั้นสั้นและไม่อาจทำให้ประชากรมนุษย์ช่วงแรก ๆ ลดลงได้[11]

นี้รวมถึงเหตุการ์ณการลดลงอย่างรวดเร็วของประชากรในช่วงเวลาเดี่ยวกันหรือก็คือคอคอดประชากรซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับฤดูหนาวจากภูเขาไฟ (ดูเพิ่ม ทฤษฎีมหันตภัยโตบา) โดยเฉลี่ยการระเบิดอย่างรุนแรงของซูเปอร์ภูเขาไฟจะมีมวลการปะทุอย่างน้อย 1015 กิโลกรัม (มวลการปะทุของโตบา = 6.9 × 1015 kg) เกิดขึ้นทุกๆ 1 ล้านปี[12]

อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2556 นักโบราณคดีค้นพบชั้นจุลภาคของขี้เถ้าภูเขาไฟในตะกอนของทะเลสาบมาลาวีซึ่งเชื่อมโยงกับเถ้าของการระเบิดของภูเขาไฟโตบาเมื่อ 75,000 ปีก่อน และยังได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของซากฟอสซิลใกล้กับชั้นขี้เถ้าซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังฤดูหนาวภูเขาไฟที่รุนแรง ซึ่งผลที่ได้นี้ทำให้นักโบราณคดีสรุปว่าการปะทุของภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแอฟริกาตะวันออกสักเท่าไหร่[13][14]

ใกล้เคียง

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2561–2562 ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561 ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559 ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ ฤดูหนาว ฤดูหนาวนั้น สายลมพัดผ่าน ฤดูฝน ฤดูฝน (เพลงพาราด็อกซ์) ฤดูฝนเอเชียตะวันออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ http://blogs.ei.columbia.edu/2011/04/05/maybe-ben-... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://climate.umn.edu/pdf/mn_winter_1887-1888.pdf http://www.giss.nasa.gov/research/briefs/hansen_02... //doi.org/10.1007%2Fs00445-004-0355-9 //doi.org/10.1016%2FS0277-3791+(01)+00154-8 //doi.org/10.1016%2FS0377-0273+(03)+00381-0 //doi.org/10.1029%2F2005JD006548 //doi.org/10.1080%2F00288306.2005.9515128 //doi.org/10.1146%2Fannurev.ea.16.050188.000445