ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ของ ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า

ทฤษฎีนี้ได้มีการตรวจสอบที่แสดงผลไม่ลงรอยกับทฤษฎี[162][163][164][165][166][167][168]และที่สนับสนุน[169]

มีนักวิชาการที่อ้างว่า มีข้อจำกัดในการใช้แบบจำลองเพื่อเป็นคำอธิบายหรือเพื่อการพยากรณ์[170]และว่า สิ่งที่วัดในทฤษฎีนี้ อธิบายเพียงแค่ 56% ของบุคลิกภาพปกติเพียงเท่านั้น โดยยังไม่ได้นับบุคลิกภาพที่ผิดปกติ[62]นอกจากนั้น รายการลักษณะทั้ง 5 แบบสถิต[171]เป็นสิ่งที่ไม่ได้มาจากทฤษฎี แต่ได้มาจากการตรวจสอบข้อมูลของอะไรบางอย่างที่มักจะเกิดขึ้นร่วมกัน และบ่อยครั้งได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีวิธีการไม่ค่อยสมบูรณ์[62]

ค่าลักษณะทั้ง 5 ดูจะสม่ำเสมอเมื่อวัดโดยการสัมภาษณ์ การแจ้งเอง และการสังเกต และลักษณะทั้ง 5 ก็ดูเหมือนจะมีในผู้ร่วมการทดลองต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมากแม้ข้ามอายุและวัฒนธรรม[172]แต่ว่า ถึงแม้ว่ามนุษย์อาจจะมีลักษณะพื้นอารมณ์แต่กำเนิดตามจีโนไทป์ที่เหมือนกันข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ว่าการแสดงออกแบบฟีโนไทป์ของลักษณะบุคลิกภาพก็แตกต่างกันอย่างลึกซึ้งข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยเป็นฟังก์ชันของการปรับสภาวะทางสังคม-วัฒนธรรม (socio-cultural conditioning) และของการเรียนรู้โดยประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายในวัฒนธรรมต่าง ๆ[173]

พิสัยที่จำกัด

ข้อวิพากษ์วิจารณ์สามัญอย่างหนึ่งก็คือว่าแบบจำลองนี้ไม่ได้อธิบายบุคลิกภาพมนุษย์ทั้งหมดนักจิตวิทยาบางพวกไม่เห็นด้วยกับแบบจำลองเพราะรู้สึกว่าแบบจำลองละเลยด้านอื่น ๆ ของบุคลิกภาพเช่นความเคร่งศาสนา (religiosity) ความเจ้าเล่ห์ (machiavellianism) ความซื่อสัตย์ ความเซ็กซี่/ความมีเสน่ห์ ความประหยัด ความอนุรักษนิยม ความเป็นชาย/ความเป็นหญิง อติมานะ (egotism) ความมีอารมณ์ขัน และความชอบเสี่ยงชอบตื่นเต้น[174][175]นักจิตวิทยาท่านหนึ่งเรียกลักษณะใหญ่ 5 นี้ว่า "จิตสภาพของคนแปลกหน้า" เพราะว่า หมายถึงลักษณะที่ค่อนข้างจะสังเกตได้ง่ายในคนแปลกหน้าส่วนด้านอื่น ๆ ของบุคลิกภาพที่ไม่ค่อยแสดง หรือว่าขึ้นอยู่กับบริบทมากกว่า ไม่ได้รวมอยู่ในแบบจำลองนี้[176]

งานศึกษาหลายงานพบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ไม่ได้เป็นอิสระ (orthogonal) จากกันและกัน[177][178]และนักวิจัยบางคนมองว่า ความเป็นอิสระ (orthogonality) เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาเพราะว่ามันลดความซ้ำซ้อนกันระหว่างมิติต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับต่ำสุดซึ่งสำคัญโดยเฉพาะเมื่อจุดหมายการศึกษาก็เพื่อที่จะอธิบายบุคลิกภาพด้วยตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้

ปัญหาทางระเบียบวิธี

การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่ใช้เพื่อกำหนดโครงสร้างของตัวแปรที่สังเกตเห็น ไม่มีวิธีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ได้ผลใดผลหนึ่งโดยเฉพาะในบรรดาผลเฉลยที่มีปัจจัยจำนวนต่าง ๆ กัน[179]การเลือกผลเฉลยที่มีปัจจัย 5 ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้วิเคราะห์ในระดับหนึ่งและความจริงอาจจะมีปัจจัยเป็นจำนวนมากที่เป็นมูลฐานของปัจจัย 5 เหล่านี้ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงกันว่ามีปัจจัย "จริง" เท่าไรกันแน่ส่วนผู้สนับสนุทฤษฎีตอบว่า แม้ว่าผลเฉลยอื่น ๆ อาจจะเป็นไปได้ในชุดข้อมูลหนึ่ง ๆ แต่ว่า ผลเฉลยมีปัจจัย 5 เป็นโครงสร้างที่เข้ากับข้อมูลในงานศึกษาต่าง ๆ ที่มี[180]

สถานะของทฤษฎี

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ของแบบจำลองนี้ก็คือ มันไม่ได้มีมูลฐานจากทฤษฎีพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นเพียงการค้นพบเชิงประสบการณ์ที่ปัจจัยอะไรบางอย่างเกิดรวมกันเป็นกลุ่มเมื่อวิเคราะห์โดยปัจจัย[179]แม้ว่านี่จะไม่ได้หมายความว่า ปัจจัย 5 อย่างเหล่านี้ไม่มี แต่ว่า เหตุที่เป็นมูลของปัจจัยยังไม่ชัดเจน

ศ. นักจิตวิทยาบุคลิกภาพที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้พิมพ์หนังสือในปี 2010 ก่อนจะเสียชีวิตที่แสดงทัศนวิสัยชั่วชีวิตของเขาเกี่ยวกับแบบจำลองนี้[181]เขาย่อสาระคำวิพากษ์วิจารณ์ของเขาต่อแบบจำลองเป็นประเด็นเหล่านี้ คือ

  • ปัจจัยทั้ง 5 ไม่มีพื้นฐานทางทฤษฎี (atheoretical nature)
  • มีการวัดที่ไม่ชัดเจน (cloudy measurement)
  • ไม่เหมาะสมเพื่อใช้ศึกษาวัยเด็กระยะต้น
  • ใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) เป็นวิธีเดียวเพื่อกำหนดบุคลิกภาพ
  • เป็นความเข้าใจที่ยังไม่มีมติร่วมกัน
  • มีงานศึกษาอื่นที่ไม่ได้การยอมรับแต่เป็นจริง ที่กำหนดลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในปัจจัยทั้ง 5

เขาเสนอว่า ปัจจัยจำนวนมากกว่าในลำดับชั้นเหนือกว่าลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ได้พบซ้ำ ๆ ในงานวิจัย มีโอกาสที่จะให้ความเข้าใจทางชีวภาพที่ลึกซึ้งกว่า ในเรื่องแหล่งกำเนิดและอิทธิพลของปัจจัยเหนือชั้นเหล่านั้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า http://50.22.92.12/index.php/ibm/article/view/j.ib... http://individual.utoronto.ca/jacobhirsh/publicati... http://find.galegroup.com/gic/infomark.do? http://ic.galegroup.com/ic/suic/NewsDetailsPage/Ne... http://www.personality-and-aptitude-career-tests.c... http://asm.sagepub.com/cgi/content/abstract/9/2/18... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.subjectpool.com/ed_teach/y4person/1_int... http://www.workingresources.com/nss-folder/pdffold... http://apsychoserver.psych.arizona.edu/jjbareprint...