ปัจจัยทางชีวภาพและพัฒนาการ ของ ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า

กรรมพันธุ์

งานวิจัยบุคลิกภาพในคู่แฝดแสดงนัยว่า ทั้งกรรมพันธุ์และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมีผลต่อลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้ง 5 อย่าง

งานวิจัยบุคลิกภาพในคู่แฝดแสดงนัยว่า ทั้งกรรมพันธุ์และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมีผลต่อลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างเท่า ๆ กัน[63]งานวิจัยในคู่แฝดสี่งาน คำนวณเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยที่เกิดจากกรรมพันธุ์สำหรับลักษณะแต่ละอย่าง แล้วสรุปว่า กรรมพันธุ์มีอิทธิพลต่อปัจจัยทั้ง 5 อย่างกว้างขวางการวัดที่ผู้ร่วมการทดลองแจ้งมีผลให้ประเมินได้ว่า ความเปิดรับประสบการณ์มีส่วนจากกรรมพันธุ์ 57%, ความสนใจต่อสิ่งภายนอก 54%, ความพิถีพิถัน 49%, neuroticism 48%, และความยินยอมเห็นใจ 42%[64]

พัฒนาการในวัยเด็กและวัยรุ่น

งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัย 5 อย่าง และเกี่ยวกับบุคลิกภาพโดยทั่วไป เพ่งความสนใจไปที่ความแตกต่างระหว่างผู้ใหญ่ ไม่ใช่ในเด็กหรือวัยรุ่น[65][66][67]แต่ก็เริ่มมีงานที่ตรวจสอบแหล่งกำเนิดและแนวทางพัฒนาการของปัจจัย 5 อย่างในเด็กและวัยรุ่น[65][66][67]โดยแตกต่างจากนักวิจัยบางพวกที่ตั้งความสงสัยว่า เด็กมีลักษณะบุคลิกภาพที่เสถียรหรือไม่ จะเป็นปัจจัย 5 หรืออย่างอื่นก็ดี[68]นักวิจัยโดยมากเห็นว่า ความแตกต่างทางจิตสภาพของเด็ก สัมพันธ์กับรูปแบบพฤติกรรมที่เสถียร ชัดเจน และเด่น[65][66][67]และความแตกต่างบางอย่างปรากฏตั้งแต่กำเนิด[66][67]ยกตัวอย่างเช่น ทั้งพ่อแม่เด็กและนักวิจัยรู้ว่า ทารกแรกเกิดบางพวกนิ่ง ๆ และปลอบได้ง่าย แต่บางพวกค่อนข้างงอแงและปลอบได้ยาก[67]

แม้ว่านักจิตวิทยาพัฒนาการโดยทั่วไปจะตีความแตกต่างระหว่างเด็กว่าเป็นหลักฐานของพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) ไม่ใช่ของลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait)[66]แต่นักวิจัยบางพวกก็อ้างว่า ทั้ง temperament และลักษณะบุคลิกภาพ เป็นการปรากฏเฉพาะวัยของสิ่งเดียวกัน[67][69]หรืออีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ temperament ในต้นวัยเด็กอาจจะกลายเป็นลักษณะบุคลิกภาพในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เมื่อลักษณะทางพันธุกรรมของบุคคลปฏิสัมพันธ์โดยเชิงรุก โดยเป็นปฏิกิริยา และโดยอยู่เฉย ๆ กับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนไป[65][66][67]

มีการศึกษาโครงสร้าง การปรากฏ และพัฒนาการของปัจจัย 5 ในเด็กและวัยรุ่น โดยใช้วิธีหลายอย่างรวมทั้งการให้คะแนนจากผู้ปกครองและครู[70][71][72]การให้คะแนนตนเองและกับเพื่อนสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นและเด็กวัยรุ่น[73][74][75]และสังเกตการณ์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็ก[65]ผลงานวิจัยเหล่านี้สนับสนุนว่า ลักษณะบุคลิกภาพค่อนข้างจะเสถียรตลอดชีวิต อย่างน้อย ๆ ก็ตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียน (preschool) จนถึงวัยผู้ใหญ่[65][67][76][77]โดยเฉพาะก็คือ งานวิจัยแสดงนัยว่า ปัจจัย 4 อย่างในปัจจัยใหญ่ 5 คือ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก Neuroticism ความพิถีพิถัน ความยินยอมเห็นใจ อธิบายความแตกต่างทางบุคลิกภาพของเด็ก ของวัยรุ่น และของผู้ใหญ่ได้อย่างสม่ำเสมอ[65][67][76][77]

แต่ว่า หลักฐานบางอย่างบอกนัยว่า ความเปิดรับประสบการณ์อาจจะไม่ใช่ส่วนของบุคลิกภาพที่เป็นพื้นฐานและเสถียรในวัยเด็กแม้ว่าจะมีนักวิจัยที่พบว่า ความเปิดรับประสบการณ์ในเด็กและวัยรุ่นสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความอยากรู้อยากเห็น จินตนาการ และความฉลาด[78]แต่ว่าก็มีนักวิจัยมากมายที่ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเปิดรับประสบการณ์ทั้งในวัยเด็กและต้นวัยรุ่น[65][67]เป็นไปได้ว่า ความเปิดรับประสบการณ์อาจจะ (1) ปรากฏเป็นลักษณะพิเศษที่ยังไม่รู้จักในวัยเด็ก (2) อาจจะปรากฏต่อเมื่อเด็กได้พัฒนาทั้งทางสังคมและทางประชาน[65][67]

มีงานศึกษาอื่น ๆ อีกที่พบหลักฐานของปัจจัยทั้ง 5 ในวัยเด็กและวัยรุ่น และพบลักษณะที่เฉพาะเด็กอีก 2 อย่างคือ ความหงุดหงิด (Irritability) และ Activity (กัมมันตภาพหรือความไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ)[79]แม้ว่าจะมีความแตกต่างที่เฉพาะเจาะจงเช่นนี้ สิ่งที่พบโดยมากแสดงนัยว่า ลักษณะบุคลิกภาพ โดยเฉพาะความสนใจต่อสิ่งภายนอก Neuroticism ความพิถีพิถัน และความยินยอมเห็นใจ เป็นสิ่งที่ปรากฏในเด็กและวัยรุ่น และสัมพันธ์กับรูปแบบพฤติกรรมทางสังคมและทางอารมณ์ ที่โดยทั่วไปสม่ำเสมอและเข้ากับลักษณะที่ปรากฏในผู้ใหญ่ผู้มีลักษณะบุคลิกภาพแบบเดียวกัน[65][67][76][77]

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก/อารมณ์เชิงบวก

ในงานวิจัยในปัจจัยใหญ่ 5 อย่าง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (extraversion) สัมพันธ์กับ surgency ซึ่งเป็นความไวปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่บุคคลโน้มเอียงไปในอารมณ์เชิงบวกในระดับสูง[66]เด็กที่สนใจต่อสิ่งภายนอกสูง จะมีพลัง คุยเก่ง ชอบสังคม และมีอิทธิพลต่อเด็กอื่นและผู้ใหญ่เทียบกับเด็กที่สนใจต่อสิ่งภายนอกต่ำ ซึ่งมักจะเงียบ นิ่ง สงวนท่าทีและยอมทั้งเด็กอื่นและผู้ใหญ่[65][67]ความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องนี้ ปรากฏเริ่มตั้งแต่วัยทารกโดยเป็นการแสดงอารมณ์เชิงบวกหลายอย่างหลายระดับ[80]และความแตกต่างเหล่านี้ สามารถพยากรณ์กิจกรรมทางสังคมและทางกายในวัยเด็กต่อ ๆ มา และอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง หรือสัมพันธ์กับ Behavioural Activation System (ตัวย่อ BAS เป็นระบบที่ตอบสนองต่อความทะยานอยากเพื่อทำเป้าหมายให้สำเร็จ) ใน "ทฤษฎีบุคลิกภาพจิตชีวภาพของเกรย์" (Gray's biopsychological theory of personality)[66][67]ในเด็ก ความสนใจต่อสิ่งภายนอก/อารมณ์เชิงบวกมีลักษณะย่อยรวมทั้งกัมมันตภาพ (activity) อิทธิพล (dominance) ความอาย (shyness) ความเข้าสังคมได้ (sociability) คือ

  • กัมมันตภาพหรือความไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ (activity) - เด็กที่มีกัมมันตภาพมากมักจะมีพลังสูงกว่า และเคลื่อนไหวมากกว่าและบ่อยครั้งกว่าเทียบกับเด็กอื่น ๆ[67][70][81] ความแตกต่างที่เด่นเกี่ยวกับกัมมันตภาพปรากฏตั้งแต่เป็นทารก และคงทนผ่านวัยรุ่น และลดลงเมื่อการเคลื่อนไหวลดลงในวัยผู้ใหญ่[82] หรืออาจจะพัฒนาเปลี่ยนเป็นคุยเก่ง[67][83]
  • อิทธิพล (Dominance) เด็กที่มีอิทธิพลสูงมักจะมีผลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นโดยเฉพาะในเด็ก ๆ เพื่อที่จะได้สิ่งที่ต้องการหรือผลที่พึงประสงค์[67][84][85] เด็กเช่นนี้มักจะเก่งในการชวนเพื่อนทำกิจกรรมหรือเล่นเกม[86] และในการหลอกคนอื่นโดยควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ใช่การพูดของตน (คือควบคุมภาษากาย)[87]
  • ความอาย (shyness) เด็กขี้อายมักจะไม่ค่อยเข้าสังคม วิตกกังวล และสงวนท่าทีเมื่อมีคนแปลกหน้า[67] เมื่อเวลาผ่านไป เด็กอาจจะกลัวแม้จะอยู่ใกล้ ๆ กับเพื่อนหรือคนที่รู้จัก โดยเฉพาะถ้าไม่ได้การยอมรับจากเพื่อน[67][88]
  • ความชอบสังคม (sociability) เด็กที่ชอบสังคมมักจะชอบอยู่กับผู้อื่นมากกว่าจะอยู่คนเดียว[67][89] และเมื่อถึงกลางวัยเด็ก ความแตกต่างระหว่างการชอบสังคมในระดับสูงกับระดับต่ำจะเห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเด็กสามารถควบคุมการใช้เวลาของตนมากยิ่งขึ้น[67][90][91]

พัฒนาการในวัยผู้ใหญ่

งานวิจัยตามยาว ที่ตรวจสอบค่าวัดบุคลิกภาพของบุคคลเป็นช่วงระยะเวลายาว และงานวิจัยตามขวาง ที่เปรียบเทียบคะแนนบุคลิกภาพข้ามกลุ่มอายุต่าง ๆ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แสดงความเสถียรภาพในระดับสูงของลักษณะบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่[92]

งานแสดงว่า บุคลิกภาพของบุคคลวัยทำงานจะเสถียรภายใน 4 ปีหลังจากที่เริ่มทำงานมีหลักฐานน้อยมากว่า ประสบการณ์ร้ายในชีวิตจะมีผลสำคัญต่อบุคลิกภาพของบุคคล[93]แต่ว่า งานวิจัยและงานวิเคราะห์อภิมานเมื่อไม่นานแสดงว่าลักษณะบุคลิกภาพทั้ง 5 เปลี่ยนไปเมื่อผ่านจุดต่าง ๆ ของชีวิตและแสดงหลักฐานว่า มีการปรับสภาพไปตามอายุ (เช่น ดังที่แสดงในทฤษฎี Erikson's stages of psychosocial development)คือ โดยเฉลี่ย ระดับความยินยอมเห็นใจและความพิถีพิถันมักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายนอก neuroticism และความเปิดรับประสบการณ์ ซึ่งมักจะลดลง[94]

งานวิจัยยังแสดงด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงต่อลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง ขึ้นอยู่กับระยะพัฒนาการปัจจุบันของบุคคลยกตัวอย่างเช่น ความยินยอมเห็นใจและความพิถีพิถันมีแนวโน้มที่จะลดลงในระหว่างวัยเด็กและวัยรุ่น ก่อนที่จะกลับทิศทางตอนปลายวัยรุ่นและในวัยผู้ใหญ่[95]นอกจากจะมีผลเป็นกลุ่ม ๆ เช่นนี้ บุคคลต่าง ๆ ยังมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนกันในระยะต่าง ๆ ของชีวิตอีกด้วย[96]

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยบางงานแสดงด้วยว่า ลักษณะใหญ่ 5 อย่างไม่ควรพิจารณาโดยแบ่งเป็น 2 ภาค (เช่น ความสนใจต่อสิ่งภายนอก กับความสนใจกับสิ่งภายใน) แต่ควรพิจารณาว่า เป็นระดับที่มีพิสัยสืบต่อกันแต่ละคนสามารถเปลี่ยนระดับเมื่อสถานการณ์ทางสังคมหรือทางกาลเวลาเปลี่ยนไปและดังนั้น บุคคลจะไม่ใช่อยู่ที่ส่วนสุดของแต่ละลักษณะ (คือแบ่งเป็นเป็น-ไม่เป็น) แต่จะมีลักษณะของทั้งสองด้าน แม้ว่าอาจจะมีลักษณะบางด้านบ่อยครั้งมากกว่า[97]

งานวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพกับวัยที่เจริญขึ้นแสดงนัยว่า เมื่อบุคคลถึงวัยชรา (79-86 ปี) ผู้ที่มี IQ ต่ำกว่าจะสนใจต่อสิ่งภายนอกเพิ่มขึ้น แต่จะพิถีพิถันและมีสุขภาพทางกายที่ลดลง[98]

งานวิจัยปี 2012 แสดงว่า ลักษณะบุคลิกภาพโดยทั่วไปเสถียรในผู้ใหญ่วัยทำงานโดยเหมือนกับผลที่เคยได้มาก่อน ๆ เกี่ยวกับ locus of control[99]

โครงสร้างทางสมอง

มีงานวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพและโครงสร้างทางสมอง ที่แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างกับส่วนจำเพาะในสมอง

มีงานวิจัยที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางสมองกับลักษณะบุคลิกภาพในแบบจำลองนี้งานวิจัยในปี 2012[100]และ 2010[101]แสดงว่า

  • Neuroticism มีสหสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราปริมาตรสมอง:ปริมาตรในกะโหลกที่เหลือ มีสหสัมพันธ์กับปริมาตรที่ลดลงของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าส่วน dorsomedial และของส่วนสมอง medial temporal lobe ด้านซ้ายซึ่งรวมทั้งฮิปโปแคมปัสส่วนหลัง (posterior) และมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของ mid-cingulate gyrus (ซึ่งเป็นเขตสมองที่สัมพันธ์กับความไวต่อภัย, punishment และอารมณ์เชิงลบ)
  • ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราเมแทบอลิซึมของ orbitofrontal cortex กับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของ medial orbitofrontal cortex (ซึ่งเป็นเขตที่ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับ reward ดังนั้นปริมาตรที่เพิ่มอาจจะเพิ่มความไว)
  • ความยินยอมเห็นใจ มีสหสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาตรของ left orbitofrontal lobe ในคนไข้ภาวะสมองเสื่อมที่เสื่อมในส่วน frontotemporal, กับปริมาตรที่ลดลงของ posterior left superior temporal sulcus, และกับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของ posterior cingulate cortex (ที่บางส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกับการประมวลเรื่องความตั้งใจ และสภาพจิตใจของผู้อื่น ซึ่งอาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่าสำหรับคนที่มีระดับลักษณะนี้สูง)
  • ความพิถีพิถัน มีสหสัมพันธ์กับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของ middle frontal gyrus ใน left lateral PFC (ซึ่งเป็นเขตที่ทำงานเกี่ยวกับการวางแผนและการควบคุมพฤติกรรม)
  • ความเปิดรับประสบการณ์ ไม่พบความแตกต่างที่สำคัญ แม้ว่าอาจจะมีความแตกต่างในสมองกลีบข้าง (parietal cortex)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า http://50.22.92.12/index.php/ibm/article/view/j.ib... http://individual.utoronto.ca/jacobhirsh/publicati... http://find.galegroup.com/gic/infomark.do? http://ic.galegroup.com/ic/suic/NewsDetailsPage/Ne... http://www.personality-and-aptitude-career-tests.c... http://asm.sagepub.com/cgi/content/abstract/9/2/18... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.subjectpool.com/ed_teach/y4person/1_int... http://www.workingresources.com/nss-folder/pdffold... http://apsychoserver.psych.arizona.edu/jjbareprint...