ประวัติ ของ ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า

ในปี 1884 เซอร์ฟรานซิส กอลตัน เป็นบุคคลแรกที่รู้ที่ตรวจสอบสมมติฐานว่า มันเป็นไปได้ที่จะสร้างอนุกรมวิธานที่สามารถครอบคลุมลักษณะบุคลิกภาพมนุษย์โดยการตรวจสอบตัวอย่างคำที่ใช้ในภาษา เป็นสมมติฐานที่เรียกว่า lexical hypothesis (สมมติฐานคำศัพท์)[8]ในปี 1936 ดร.ออลพอร์ตและอ็อดเบิร์ตตรวจสอบสมมติฐานของเซอร์กอลตันโดยดึงคำวิเศษณ์ 4,504 คำจากพจนานุกรมที่มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นคำที่พวกเขาเชื่อว่า ครอบคลุมบุคลิกที่สังเกตได้และค่อนข้างจะถาวร[53]ในปี 1940 ศ.แค็ตเทลล์ธำรงคำวิเศษณ์เหล่านั้น แต่ว่ากำจัดคำไวพจน์จนเหลือคำหลักเพียงแค่ 171 คำ[10]แล้วสร้างชุดคำถามเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพที่พบจากคำวิเศษณ์เหล่านั้น ซึ่งเขาเรียกว่า Sixteen Personality Factor Questionnaire (แบบสอบถามปัจจัยบุคลิกภาพ 16 ออย่าง)ต่อมาในปี 1961 โดยตั้งมูลฐานในเซตย่อยมี 20 มิติ จาก 36 มิติ ที่ ศ.แค็ตเทลล์ได้ค้นพบก่อน ดร.ทิวพ์สและคริสตัลอ้างว่า ได้พบปัจจัยกว้าง ๆ 5 อย่างที่พวกเขาตั้งชื่อว่า surgency, agreeableness (ความยินยอมเห็นใจ), dependability (ความเชื่อใจได้), emotional stability (ความเสถียรทางอารมณ์), และ culture (วัฒนธรรม)[11]ต่อมาในปี 1963 นอร์แมนจึงเปลี่ยนชื่อ dependability เป็น conscientiousness (ความพิถีพิถัน)[12]

ช่องเว้นว่างของงานวิจัย

ในช่วง 2 ทศวรรษต่อมา กระแสความคิดหลักทางวิชาการ ทำให้การตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพยากมากเช่นในปี 1968 ในหนังสือ บุคลิกภาพและการประเมิน (Personality and Assessment) ผู้เขียนยืนยันว่า ค่าวัดบุคลิกภาพสามารถพยากรณ์พฤติกรรมโดยมีสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.3 (ซึ่งค่อนข้างน้อย)คือนักจิตวิทยาสังคมรวมทั้งผู้เขียนหนังสืออ้างว่า ทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ไม่เสถียร แต่จะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ดังนั้น การพยากรณ์พฤติกรรมจากค่าวัดบุคลิกภาพจึงเป็นไปไม่ได้แต่ต่อมาพบโดยหลักฐานว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดกับพฤติกรรมในชีวิตจริง สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างสำคัญภายใต้สถานการณ์ที่อารมณ์เกิดความตึงเครียด (เทียบกับสถานการณ์ที่เป็นกลาง ๆ เมื่อวัดบุคลิกภาพ)[54]

นอกจากนั้นแล้ว ระเบียบวิธีที่เกิดขึ้นใหม่เริ่มจะคัดค้านมุมมองเช่นนี้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980คือแทนที่จะพยายามพยากรณ์พฤติกรรมหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งทำไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ นักวิจัยพบว่า สามารถพยากรณ์รูปแบบพฤติกรรมโดยรวมเอาพฤติกรรมเป็นจำนวนมาก[55]และดังนั้น ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและพฤติกรรมจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ และปรากฏชัดเจนแล้วว่า มนุษย์มี "บุคลิกภาพ" จริง ๆ[56]ทั้งนักจิตวิทยาบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคมปัจจุบัน โดยรวมมีมติร่วมกันว่า พฤติกรรมมนุษย์จะอธิบายได้ก็ต้องใช้ทั้งตัวแปรที่มีเป็นส่วนบุคคล และตัวแปรที่เป็นไปตามสถานการณ์[57]ดังนั้น ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพจึงปรากฏว่ามีเหตุผล และจึงเกิดความสนใจในการวิจัยเรื่องนี้เพิ่มขึ้น[58]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ศ.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้เริ่มโปรเจ็กต์วิเคราะห์คำของเขาเอง โดยเน้นปัจจัยกว้าง ๆ 5 อย่าง[59]แล้วต่อมาจึงบัญญัติคำว่า "Big Five" โดยเป็นชื่อของปัจจัยเหล่านั้น

ความใส่ใจที่เพิ่มขึ้นใหม่

ในงานประชุมเอกสารัตถ์ปี 1980 ในเมืองโฮโนลูลู นักวิจัยที่มีชื่อเสียง 4 คนรวมทั้ง ศ.โกลด์เบอร์ก และ ศ.ดิกแมน ได้ทบทวนการวัดบุคลิกภาพที่มีอยู่ในเวลานั้น[60]หลังจากเหตุการณ์นี้ นักวิจัยเรื่องบุคลิกภาพได้ยอมรับแบบจำลองมีปัจจัย 5 (FFM) อย่างกว้างขวาง[61]ศ. ดร. ซาวิล์ล และคณะใช้แบบจำลองนี้ในการสร้าง Occupational Personality Questionnaire (แบบสอบถามบุคลิกภาพเพื่ออาชีพ) ดั้งเดิมในปี 1984 แล้วต่อมา ดร.คอสตาและแม็คเคร จึงสร้าง Revised NEO Personality Inventory (แบบคำถามเก็บข้อมูลบุคลิกภาพ ตัวย่อ NEO-PI-R) ในปี 1985 แม้ว่าระเบียบวิธีที่ใช้สร้างแบบคำถามนี้จะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์หลายอย่าง[62]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ทั้งห้า http://50.22.92.12/index.php/ibm/article/view/j.ib... http://individual.utoronto.ca/jacobhirsh/publicati... http://find.galegroup.com/gic/infomark.do? http://ic.galegroup.com/ic/suic/NewsDetailsPage/Ne... http://www.personality-and-aptitude-career-tests.c... http://asm.sagepub.com/cgi/content/abstract/9/2/18... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.subjectpool.com/ed_teach/y4person/1_int... http://www.workingresources.com/nss-folder/pdffold... http://apsychoserver.psych.arizona.edu/jjbareprint...