สมัยไบแซนไทน์ ของ ลัทธิทำลายรูปเคารพ

ความขัดแย้งกันในเรื่องความเชื่อในการทำลายรูปเคารพไม่จำกัดเฉพาะในกลุ่มนักบวช หรือเป็นความแตกแยกทางปรัชญาทางเทววิทยาเท่านั้น บางครั้งความขัดแย้งก็อาจจะเป็นผลมาจากความกลัวการรุกรานทางทหารโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นที่เชื่อกันว่าการทำลายรูปเคารพได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ตะวันออกและผู้ลี้ภัยที่มาจากบริเวณที่ถูกยึดครองโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลบางส่วนจากกองกำลังบัลคานซึ่งไม่นิยมในการบูชา “รูปเคารพ” เท่าใดนัก อิทธิพลที่ว่านี้อาจจะมีบทบาทสำคัญต่อสถาบันการปกครองในการเริ่มและการลงเอยของลัทธิการทำลายรูปเคารพ

การใช้ “รูปเคารพ” แพร่หลายขี้นเป็นเวลานานก่อนที่เกิดการต่อต้าน การทำลายครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อปี ค. ศ. 695 เมื่อพระเจ้าจัสติเนียนที่ 2 โปรดให้ประทับพระพักตร์พระเยซูบนหลังเหรียญกษาปณ์ทองของพระองค์ ผลจากการเปลี่ยนในทางลัทธิการทำลายไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่ที่ทราบแน่ก็คือเคาะลีฟะฮ์Abd al-Malik ทรงแยกตัวอย่างถาวรจากการใช้เหรียญกษาปณ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์มาผลิตเหรียญกษาปณ์แบบอิสลามเองโดยมีแต่ตัวอักษรไม่มีภาพ[2] จดหมายจากบิชอปเจอร์มานุส (Germanus) ซึ่งเขียนก่อนปี ค.ศ. 726 ถึงบาทหลวง 2 องค์ที่มีความเชื่อในลัทธิกล่าวว่า “ขณะนี้ทั้งเมืองและคนจำนวนมากมีความไม่พึงพอใจในกรณีนี้” แต่เราไม่ทราบว่าหัวข้อนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาเท่าใด[3]

การทำลายรูปเคารพระหว่างปี ค.ศ. 730 ถึงปี ค.ศ. 787

ระหว่างปี ค.ศ. 726 ถึงปี ค.ศ. 730 จักรพรรดิไบแซนไทน์ลีโอที่ 3 ทรงสั่งให้เอารูปของพระเยซูซึ่งตั้งอยู่อย่างเด่นชัดที่หน้าประตูชอล์ค (Chalke gate) ซึ่งเป็นประตูเมืองเอกที่ใช้เป็นทางเข้าพระราชวังคอนแสตนติโนเปิลออกและติดแทนด้วยกางเขน ผู้ที่ถูกสั่งให้เอารูปพระเยซูออกก็โดนถูกฆ่าตายโดยกลุ่มผู้ต่อต้าน[4]

ปัญหาการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์

เหตุผลของการทำลายรูปเคารพมักจะมาจากหลักฐานข้อเขียนของ “นักบูชารูปเคารพ” เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นการที่จะเข้าใจในเหตุผลของลัทธิทำลายรูปเคารพเราต้องเข้าใจว่า:

  • ผู้สนับสนุนลัทธิทำลายรูปเคารพประณามการสร้างรูปเคารพ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ที่มิได้ใช้แทนพระเยซูหรือนักบุญของคริสต์ศาสนา เมื่อ ค.ศ. 754 ผู้สนับสนุนในการไม่ใช้รูปเคารพ อ้างว่า [ต้องการอ้างอิง]
“ตามคัมภีร์ไบเบิล และบิดาแห่งศาสนาขอประกาศพร้อมกันในนามของพระตรีเอกภาพว่าให้มีการนำรูปเคารพหรือสิ่งที่ทำเพื่อเป็นรูปเคารพที่ทำด้วยวัสดุและทาสีโดยจิตรกรที่มีความเชื่อทางร้ายออกจากโบสถ์.... ถ้าผู้ใดพยายามสร้างรูปที่ไม่ถูกต้องขอให้ผู้นั้นจงถูกสาปแช่ง.... ถ้าผู้ใดสร้างรูปเคารพแทนนักบุญโดยใช้วัสดุหรือสีที่ไม่ควร (เพราะเป็นสิ่งที่บันดาลใจโดยผีร้าย) และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์แทนคุณความดีของผู้ที่สัญลักษณ์ตั้งใจจะให้เป็น ขอให้ผู้นั้นจงถูกสาปแช่ง”
  • ผู้สนับสนุนลัทธิทำลายรูปเคารพ มีความเชื่อว่ารูปเคารพทางศาสนาที่แท้จริงต้องเป็นรูปที่เหมือนตัวแบบโดยแท้จริง และเป็นเนื้อและสาระเดียวกับแม่แบบ ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งไม้และสีเป็นสิ่งไร้ชีวิตที่ไม่สามารถใช้แทนผู้มีเลือดเนื้อได้ ฉะนั้นรูปเคารพเดียวที่ผู้เชื่อในลัทธิยอมรับว่าเป็นรูปเคารพของพระเยซูได้คือศีลมหาสนิทซึ่งประกอบด้วยเหล้าไวน์และขนมปังศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือกันว่าเป็นพระมังสะและพระโลหิตของพระเยซูที่แท้จริง
  • ผู้สนับสนุนลัทธิทำลายรูปเคารพ เชื่อว่ารูปเคารพที่แท้จริงของพระเยซูต้องแสดงถึงทั้งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นหรืออธิบายได้) และความเป็นมนุษย์พร้อมกันในรูปเดียว ซึ่งการสร้างรูปเคารพของพระเยซูที่ทำกันเป็นแยกความเป็นมนุษย์และความเป็นพระเจ้าของพระองค์ เพราะรูปเคารพเป็นสิ่งที่ใช้แทนมนุษย์ได้เท่านั้น
  • ผู้สนับสนุนลัทธิทำลายรูปเคารพกล่าวว่ารูปเคารพที่ใช้เพื่อศาสนาเป็นการแสดงถึงความแตกแยกจากศาสนา รูปเคารพเป็นอิทธิพลจากซาตานซึ่งจะนำผู้นับถือคริสต์ศาสนากลับไปสู่ความเป็นคนนอกศาสนา
“ซาตานนำทางมนุษย์ในทางที่ผิด ทำให้นับถือในสิ่งชั่วร้ายที่มิใช่พระผู้สร้าง กฎของโมเสสและผู้เผยพระวจนะต่าง ๆ ก็บ่งให้ละทิ้งสิ่งเหล่านี้...แต่สิ่งที่ออกชื่อมาก่อนคือผู้ซึ่งเจ้าแห่งความชั่วร้าย...ก็ค่อย ๆ นำรูปเคารพกลับเข้ามาในพระวิหารในนามของคริสต์ศาสนา”[5]

ผู้ที่คัดค้านกับลัทธิทำลายรูปเคารพทางเทววิทยาคือนักบุญจอห์นแห่งดามัสกัส (John of Damascus) ผู้อาศัยในบริเวณที่ปกครองโดยมุสลิมและผู้เป็นที่ปรึกษาของเคาะลีฟะฮ์แห่งดามัสกัส นักบุญจอห์นแห่งดามัสกัสอยู่ใกลจากไบแซนไทน์พอที่จะพ้นจากการถูกลงโทษของผู้สนับสนุนลัทธิทำลายรูปเคารพ อีกผู้หนึ่งคือนักบุญทีโอดอร์สตูไดท์ (Theodore the Studite) ผู้เป็นนักพรตอยู่ที่อารามสตูดิโอสที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล นักบุญจอห์นประกาศว่าท่านไม่ได้บูชารูปเคารพแต่บูชาผู้สร้างรูปเคารพ ขณะเดียวกันท่านก็กล่าวว่าท่านบูชาสิ่งที่ราวกับได้มาจากอำนาจของพระเจ้า ซึ่งก็รวมถึงหมึกที่พระวรสารใช้เขียนและภาพเขียน ไม้ของกางเขน และพระมังสะและพระโลหิตของพระเยซู

การตอบโต้ของลัทธิบูชารูปเคารพต่อลัทธิทำลายรูปเคารพคือ:

  • การห้ามการสร้างรูปของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิลหมดอายุเมื่อพระเยซูมาเกิดเพราะพระเยซูเป็นองค์ประกอบที่สองของพระตรีเอกภาพซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ ฉะนั้นจึงมิได้เป็นการสร้างรูปของพระเจ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นการสร้างรูปของพระเจ้าที่ปรากฏเป็นเลือดเนี้อ การมาเกิดของพระเยซูจึงเป็นการใช้เหตุผลสนับสนุนทฤษฏีการสร้างรูปเคารพ ซึ่งลัทธิทำลายรูปเคารพก็ใช้เหตุผลเดียวกันนี้ในการไม่ควรสร้างรูปเคารพ
  • นอกจากนั้นในความคิดเห็นของลัทธิบูชารูปเคารพยังกล่าวว่า “เทวรูป” (idol) เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระและความแท้จริง ในขณะที่ “รูปเคารพ” (icon) เป็นรูปของคนจริง กล่าวง่าย ๆ คือ “รูปทางศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาที่เราเชื่อคือ “เทวรูป” และรูปทางศาสนาที่เราเชื่อคือรูปเคารพที่ใช้ในการบูชา” ซึ่งเทียบได้กับพิธีปฏิบัติในพันธสัญญาเดิมของการเผาเครื่องบูชาแก่พระเจ้าได้เท่านั้นและปฏิบัติไม่ได้แก่เทพนอกศาสนา
  • แม้จะมีข้อเขียนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบูชารูปรูปเคารพ ผู้ที่สนับสนุนลัทธิบูชารูปเคารพกล่าวว่ารูปเคารพเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางการเล่าต่อที่มิได้บันทึกไว้ในภาษาเขียน
  • นอกจากนั้นผู้ที่สนับสนุนลัทธินิยมรูปสัญลักษณ์ ยังกล่าวว่าการที่จะตัดสินว่าควรจะบูชารูปสัญลักษณ์หรือไม่นั้นควรจะเป็นการตัดสินอย่างเป็นทางการของสภาศาสนามิใช่เป็นการตัดสินโดยจักรพรรดิหรือนักการเมือง ฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสถาบันศาสนาและรัฐด้วย
  • ข้อย่อยอีกข้อของผู้ที่สนับสนุนลัทธิบูชารูปเคารพคือเป็นการที่ไร้เหตุผลที่ไม่อนุญาตการบูชารูปเคารพของพระเจ้าแต่อนุญาตการบูชารูปของจักรพรรดิที่เป็นมนุษย์ธรรมดาได้