ลัทธิทำลายรูปเคารพในศาสนาอิสลาม ของ ลัทธิทำลายรูปเคารพ

สิ่งสำคัญที่ควรกล่าวเกี่ยวกับประวัติศาสนาอิสลามคือการนำ “เทวรูป” ออกจากมัสยิดฮะรอมซึ่งเป็นที่ตั้งของกะอฺบะหฺสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม

โดยทั่วไปแล้วในศาสนาอิสลามเลี่ยงการสร้างรูปเหมือนของผู้ที่หรือสิ่งที่มีชีวิตภายในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเช่นมัสยิด การห้ามการใช้รูปเคารพมิได้มาจากคัมภีร์อัลกุรอานโดยตรงแต่มาจากประเพณีหลายประเพณีในประวัติที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับมุฮัมมัด (หะดีษ) การห้ามใช้รูปเคารพนี้มิได้ห้ามในที่อยู่อาศัยซึ่งจะเห็นได้จากศิลปะการสร้างรูปเคารพทางศิลปะอิสลาม[6]

นักเขียนทางตะวันตกมักจะกล่าวว่าการห้ามการใช้รูปเคารพในสังคมอิสลามเป็นวัฒนธรรมที่สร้างสมมาจากการทำลายรูปเคารพอย่างรุนแรงมาตลอด[7] เช่นการทำลายพระพุทธรูปแห่งบามิยันเมื่อปี พ.ศ. 2544 ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ทางตะวันตกสรุปว่าเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการต่อต้านการใช้รูปเคารพ การสรุปเช่นนั้นเป็นการมองข้ามความอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธศาสนิกชนและผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีมาร่วมพันปีก่อนที่จะเกิดการทำลาย[8] และรูปปั้นที่ถูกทำลายก็มีการพยายามทำลายมาก่อนหน้านั้นสองครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ ตามความเห็นของฟลัด (Flood) เหตุผลในการการทำลายพระพุทธรูปเมื่อปี ค.ศ. 2001 เป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่าจะเป็นเหตุผลทางศาสนา[9]

การทำลายรูปสัญลักษณ์ครั้งแรกของมุสลิมเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 630 เมื่อมีการทำลายรูปปั้นเทพราว 300 องค์ ของศาสนาดั้งเดิมของชาวเมกกะ ที่ตั้งอยู่ในมัสยิดฮะรอมซึ่งเป็นที่ตั้งของกะอฺบะหฺ แต่กล่าวกันว่ามุฮัมมัดมิได้ทำลายจิตรกรรมฝาผนังของพระแม่มารีย์ การทำลายครั้งนี้เป็นการหยุดยั้งการบูชา “เทวรูป” ซึ่งตามความเห็นของศาสนาอิสลามถือว่าเป็นการแสดงออกของความไร้การศึกษา

การทำลายรูปรูปเคารพที่มักกะฮ์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเชื่อถือในศาสนาอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมหลังจากการขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์ คริสต์ศาสนิกชนภายใต้การปกครองของมุสลิมยังคงสร้างรูปเคารพและใช้รูปเคารพตกแต่งวิหารอย่างที่เคยเป็นมา ยกเว้นเพียงครั้งเดียวระหว่างการใช้ “กฤษฎีกายาซิด” (Edict of Yazīd) ของเคาะลีฟะฮ์ยาซิดที่สอง ระหว่างปี ค.ศ. 722 ถึงปี ค.ศ. 723 [10] ซึ่งสั่งให้ทำลายกางเขนและรูปเคารพทางคริสต์ศาสนาภายใต้รัฐเคาะลีฟะฮ์

หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นการทำลายรูปเคารพโดยลอกรูปออกจากพื้นโมเสกพบที่ประเทศจอร์แดน แต่การทำลายครั้งนี้ก็มิได้เกิดขึ้นทุกวิหาร และ “กฤษฎีกายาซิด” ก็มิได้มีการปฏิบัติต่อมาโดยผู้สืบการปกครองต่อจากเคาะลีฟะฮ์ยาซิดที่สอง ฉะนั้นการสร้างรูปสัญลักษณ์ของบริเวณตะวันออกกลางก็เป็นการหยุดยั้งเพียงชั่วคราวก่อนที่จะทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9[11]