ลักษณะทางวัฒนธรรม ของ วัฒนธรรมหย่างเฉา

การดำรงชีวิต

การบริโภคหลักของชาวหย่างเฉา คือ ข้าวฟ่างเหนียว (Proso millet 黍) บางพื้นที่บริโภค ข้าวฟ่างหางหมา (Foxtailed millet 小米) และ ข้าวฟ่างอื่น ๆ พบหลักฐานของ ข้าว อยู่บ้าง ลักษณะเฉพาะของการกสิกรรมของวัฒนธรรมหย่างเฉา ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ระหว่าง การเพาะปลูกขนาดเล็กด้วยวิธีการตัดเผา หรือ การเกษตรแบบเข้มข้นในพื้นที่ถาวร โดยทั่วไปเมื่อดินหมดสภาพผู้อยู่อาศัยก็ย้ายไปทำกสิกรรมในพื้นที่ใหม่และสร้างหมู่บ้านใหม่

ชาวหย่างเฉา เลี้ยงหมู และ สุนัข โดยแกะ แพะ วัวควาย พบได้น้อยมาก [7] การบริโภคเนื้อส่วนใหญ่ที่มาจากการล่าสัตว์และการตกปลาด้วยเครื่องมือหิน [7] เครื่องมือหินของพวกเขาได้รับการขัดเงาและมีความเชี่ยวชาญสูง พวกเขาอาจทำเริ่มมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมยุคต้น[7]

เครื่องมือทำกสิกรรมในวัฒนธรรมหย่างเฉา ได้แก่ ขวานหิน พลั่วหิน หินโม่ และ เครื่องมือที่ทำจากกระดูก นอกจากการทำกสิกรรมแล้วผู้คนในวัฒนธรรมหย่างเฉายังจับปลาและล่าสัตว์ด้วย ในบรรดาโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่ขุดพบ ได้แก่ ตะขอกระดูก ฉมวก ลูกศร ฯลฯ เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ในช่วงต้นของวัฒนธรรมหย่างเฉาทำด้วยมือและในช่วงกลางเริ่มปรากฏการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เครื่องปั้นดินเผาบางชิ้นมีลวดลายคล้ายลายพิมพ์บนผ้าทอซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมหย่างเฉามีงานหัตถกรรมทอผ้า เครื่องมือในการผลิตส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาจากหินเจียร เช่น มีด ขวาน จอบถาก สิ่ว ลูกศร และ ล้อหมุนหินสำหรับการทอผ้า เครื่องมือทำจากกระดูกที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เครื่องปั้นดินเผาประจำวันทุกชนิด เช่น ภาชนะใส่น้ำต่าง ๆ เตา ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีแดงโคลนและเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลแดงที่เต็มไปด้วยทรายในเนื้อดินเผา เครื่องปั้นดินเผาสีแดงมักเขียนด้วยลวดลายเรขาคณิตหรือลวดลายสัตว์ซึ่งเป็นลักษณะที่ชัดเจนที่สุดของวัฒนธรรมหย่างเฉา ทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ทาสี[8]

บ้าน

แบบจำลองของหมู่บ้านเจียงไจ้ (Jiangzhai) วัฒนธรรมหย่างเฉา

วัฒนธรรมหย่างเฉาเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากเกษตรกรรม หมู่บ้านมีขนาดทั้งใหญ่และเล็ก แต่ละแห่งมักมีขนาดพื้นที่ 10 - 14 เอเคอร์ (25 ถึง 35 ไร่) และสร้างบ้านล้อมรอบลานหมู่บ้านที่อยู่ตรงกลาง

บ้านในหมู่บ้านขนาดใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนและมีสุสานและแท่นเผาศพอยู่นอกหมู่บ้าน บ้านส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นโดยการขุดหลุมไม่ลึกมากนักรูปสี่เหลี่ยมมุมมน แล้วบดอัดพื้นหลุม ปูรองด้วยแผงไม้ขัดแตะ ฉาบทับแผงไม้ด้วยโคลน และอัดพื้นซ้ำ เป็นลักษณะห้องลดระดับใต้ดินทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในยุคแรกบ้านส่วนใหญ่เป็นห้องเดี่ยวทรงกลมและต่อมาสร้างเป็นห้องสี่เหลี่ยม ผนังบ้านสร้างจากการปักเสาไม้สั้น ๆ เป็นโครงไม้สำหรับรองรับหลังคาและสำหรับขัดแตะเป็นผนังไว้รอบ ๆ ขอบบนของหลุม สานแผงไม้ขัดแตะจากล่างขึ้นบน ฉาบด้วยโคลนที่มีฟางเป็นส่วนผสม ด้านนอกของผนังมักถูกคลุมด้วยฟางหญ้าและเผาฟางนั้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแน่นหนาของผนังและกันน้ำ จากนั้นวางโครงไม้เป็นรูปทรงกรวยมุงหลังคา อาจต้องเพิ่มเสาในบางส่วนเพื่อรองรับหลังคาที่มุงด้วยฟางและทางข้าวฟ่าง

ภายในมีเครื่องเรือนไม่มาก ได้แก่ หลุมเตาตื้นตรงกลางและที่นั่งข้างเตา ม้านั่งวางริมผนัง เตียงทำด้วยผ้า อาหารและเครื่องใช้ถูกวางหรือแขวนไว้กับผนัง และสร้างคอกสัตว์แยกต่างหากนอกตัวบ้าน

อย่างไรก็ตามการตั้งถิ่นฐานของวัฒนธรรมหย่างเฉาในตอนกลางเช่น เจียงไจ้ (Jiangzhai) มีอาคารที่ยกพื้นสูงซึ่งอาจใช้สำหรับเก็บธัญพืชที่เหลือใช้ นอกจากนี้ยังพบหินบดสำหรับทำแป้ง [7][9]

งานฝีมือ

ชามตกแต่งรูปมนุษย์เงือก อายุ 5,000 - 4,000 ปีก่อนคริสตกาล หมู่บ้านปั้นพัว (Banpo) มณฑลส่านซี

วัฒนธรรมหย่างเฉาประดิษฐ์ เครื่องปั้นดินเผา สีขาวแดงและดำที่มีลวดลายใบหน้าของมนุษย์ สัตว์ และรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่เหมือนกับ วัฒนธรรมหลงซานที่อยู่ในยุคหลัง วัฒนธรรมหย่างเฉาไม่ได้ใช้แป้นหมุนในการทำเครื่องปั้นดินเผาช่วงระยะต้นและกลางของวัฒนธรรม การขุดสำรวจพบว่าพื้นที่บางแห่งใช้ไหดินเผาที่ทาสีเหล่านี้ในการฝังร่างเด็ก

วัฒนธรรมหยางเชาผลิต ผ้าไหม ในระดับเล็กและทอ ป่าน ผู้ชายสวม เสื้อผ้าเนื้อซี่โครง และมัดผมเป็นปมด้านบน ผู้หญิงเอาผ้ายาว ๆ มาพันรอบตัวแล้วมัดผมมวย

รอยบากบนเครื่องปั้นดินเผาจากทั้ง ปั้นพัว และ เจียงไจ้ อาจเป็นร่องรอยที่สำคัญซึ่งมีนักวิจัยโบราณคดีจำนวนไม่มากที่ตีความว่าอาจเป็นรูปแบบแรกเริ่มของ อักษรจีน [10] แต่การตีความดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

เครื่องปั้นดินเผารูปปั้นหน้านกฮูกวัฒนธรรมหย่างเฉา ช่วงระยะเหมียวตี่โกว (Miaodigou)