โครงสร้างสังคม ของ วัฒนธรรมหย่างเฉา

แม้ว่างานวิจัยในช่วงต้นจะเสนอว่าวัฒนธรรมหย่างเฉามีการปกครองฉันแม่กับลูก[11] (มาตาธิปไดย - การปกครองที่ผู้หญิงเป็นใหญ่) ซึ่งงานวิจัยฉบับอื่นต่อมา ให้เหตุผลว่าโครงสร้างสังคมของวัฒนธรรมหย่างเฉาน่าจะอยู่ในช่วงการเปลี่ยนจากการปกครองแบบมาตาธิปไดยเป็นปิตาธิปไตย และแม้กระทั่งในงานวิจัยบางฉบับยังเชื่อว่ามีโครงสร้างเป็นปิตาธิปไตยแต่แรก ข้อโต้แย้งเหล่านี้เกิดจากการตีความในเรื่องระเบียบวิธีการฝังศพที่แตกต่างกัน[12][13]

การค้นพบปฏิมากรรมรูปมังกรในวัฒนธรรมหย่างเฉาที่เมืองผู่หยาง (濮阳市) มณฑลเหอหนาน มีลักษณะเป็นหินทรายรูปนูนต่ำประดับด้วยการฝังเปลือกหอย สามารถระบุอายุย้อนหลังไปถึง 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[14] ทำให้เป็นรูปสลักมังกรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[15] และ ชาวจีนฮั่น ยังคงบูชา มังกร มาจนถึงทุกวันนี้

การบูรณะสถานที่ฝังศพ Bianjiagou ใน เหลียวหนิง วัฒนธรรมหย่างเฉา - พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุตะวันออกไกลสตอกโฮล์ม