แหล่งโบราณคดี ของ วัฒนธรรมหย่างเฉา

การกระจายตัวของแหล่งโบราณคดี

วัฒนธรรมหย่างเฉาเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่สำคัญในตอนกลางของแม่น้ำหวงมีอายุประมาณ 5,000 ถึง 3000 ปีก่อนคริสตกาล การกระจายตัวของวัฒนธรรมหย่างเฉามีศูนย์กลางอยู่ที่พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำหวง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำเหว่ย พื้นที่ลุ่มน้ำเฟิน - หลัว ตั้งแต่มณฑลกานซูไปจนถึงมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน ทางตอนเหนือไปถึงพื้นที่ตามแนวกำแพงเมืองจีนและเหอเท่า (河套) ทางใต้ติดกับลุ่มน้ำ Huaihe-Hanshui[4] ทางตะวันออกไปยังภูเขาไท่หาง (太行山) - มณฑลเหอหนาน และทางตะวันตกถึง Hehuang เป็นพื้นที่กว้างใหญ่โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กวนจงเหอหนานตะวันตกและจินใต้[5]

แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ

  • หมู่บ้านหย่างเฉา มณฑลเหอหนาน ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์ และ แหล่งโบราณคดีหย่างเฉา
  • แหล่งโบราณคดีในหมู่บ้านปั้นพัว (Banpo archaeological site 半坡遗址) มณฑลส่านซี เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่โดดเด่นที่สุดของวัฒนธรรมหย่างเฉา โดยเฉพาะลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่มีคูน้ำล้อมรอบ
  • แหล่งโบราณคดีเจียงไจ้ (Jiangzhai 姜寨沟遗址) มณฑลส่านซี แหล่งโบราณคดีนี้ได้รับการขุดสำรวจจนเสร็จสมบูรณ์ และพบว่ามีลักษณะเฉพาะคือคูน้ำล้อมรอบชุมชนเป็นรูปวงกลม
  • แหล่งโบราณคดีเหมียวตี่โกว (Miaodigou 庙底沟遗址) ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน
  • แหล่งโบราณคดีต่าเหอ (Dahe 大河村遗址) เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน
  • แหล่งโบราณคดีซีพัว (Xipo 西坡遗址) เมืองหลิงเป่า มณฑลเหอหนาน