จิปาถะ ของ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน

รักษาความเรียบง่ายของมาร์กอัพ

ให้รักษาความเรียบง่ายของมาร์กอัพ ซึ่งทำให้ข้อความวิกิเข้าใจและแก้ไขได้ง่ายขึ้น และผลลัพธ์ที่ผู้อ่านเห็นสามารถคาดเดาได้มากขึ้น ใช้มาร์กอัพเอชทีเอ็มแอลและซีเอสเอสแต่น้อย

บางทีเอนทิตีอักขระเอชทีเอ็มแอลดีกว่าอักขระยูนิโคดเทียบเท่า ซึ่งระบุได้ยากในภาวะแก้ไข ตัวอย่างเช่น Α มีความชัดเจน ขณะที่ Α (รูปตัวใหญ่ของอักษรกรีก α) อาจระบุผิดเป็น A ในภาษาละตินได้

ประเด็นการจัดรูปแบบ

การดัดแปรขนาดชุดแบบอักษร ช่องไฟ และสีเป็นประเด็นสำหรับสไตล์ชีตทั่วเว็บไซต์ของวิกิพีเดีย และควรสงวนไว้สำหรับกรณีพิเศษเท่านั้น

ปกติการใช้ลีลาชุดแบบอักษรที่สร้างเอง (custom) จะมีผลดังนี้

  • ลดความสอดคล้อง เนื่องจากข้อความจะดูไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน
  • ลดสภาพใช้งานได้ เพราะบุคคลที่มีสไตล์ชีตสร้างเอง (ตัวอย่างเช่น เพื่อเหตุผลด้านการเข้าถึง) อาจไม่สามารถเขียนทับลีลาดังกล่าวได้และอาจเข้ากันไม่ได้กับสกินอื่นตลอดจนบุคคลตาบอดสี
  • ก่อให้เกิดข้อพิพาท เพราะผู้ใช้อื่นอาจไม่เห็นด้วยกับตัวเลือกลีลาดังกล่าว

นอกเหนือจากข้อความของบทความ มีการใช้การเปลี่ยนขนาดชุดแบบอักษรเป็นประจำในแม่แบบนำทางและกล่องข้อมูล ตาราง และในบริบอื่นซึ่งไม่มีทางเลือกอื่น (เช่น คำอธิบายตาราง) ให้ระบุขนาดชุดแบบอักษร เชิงสัมพัทธ์ (ตัวอย่างเช่น font-size: 85%) ในซีเอสเอส แทนการระบุ โดยสัมบูรณ์ (เช่น font-size: 8pt)

การใส่โค้ดสี

อย่าใช้สีเพื่อสร้างความแตกต่างในข้อความ เพราะบุคคลตาบอดสีอาจมองไม่เห็นและไร้ประโยชน์ในการพิมพ์หรือแสดงขาว-ดำ

ใช้สีที่ผู้อ่านแยกแยะได้ด้วยรูปแบบตาบอดสีที่พบบ่อยสุด เช่น มะรูน (maroon) และทีล (teal) และสร้างความแตกต่างโดยเปลี่ยนชุดแบบอักษรหรือวิธีอื่น (มะรูนและเปลี่ยนหน้าชุดแบบอักษร, ทีล) เลี่ยงการตัดสีต่ำระหว่างข้อความกับสีพื้นหลัง การดูหน้าด้วย Toptal สามารถช่วยเรื่องตัวเลือกสีได้

สำหรับผู้อ่านที่มองเห็นสีได้ไม่บกพร่อง การใช้เฉดสีพื้นหลังมากเกินของหน่วยตารางก็ขัดขวางการอ่านได้และการรับรู้ซึ่งวิกิลิงก์ ควรใช้สีพื้นหลังเป็นสิ่งกระตุ้นการมองเห็นสนับสนุนเท่านั้น และควรกลมกลืน (พิจารณาใช้สีสันเพสเทลอ่อนกว่าและไม่สะดุดตา) มากกว่าสีจ้า

รายการเลื่อนหน้าจอและเนื้อหายุบได้

รายการเลื่อนหน้าจอและแม่แบบยุบได้ซึ่งปรับการแสดงผลข้อความระหว่างซ่อนกับแสดง สามารถขัดขวางความสามารถของผู้อ่านในการเข้าถึงเนื้อหาวิกิพีเดีย กลไกดังกล่าวไม่ควรใช้เพื่อปกปิดสารสนเทศ "สปอยเลอร์" ปกติแม่แบบไม่ใช้เพื่อเก็บข้อความของบทความทั้งสิ้น เพราะขัดขวางความสามารถของผู้อ่านในการค้นหาและแก้ไข

เมื่อใช้คุณลักษณะนี้ ให้ระวังว่าเนื้อหาจะยังเข้าถึงได้บนอุปกรณ์ที่ไม่สนับสนุนจาวาสคริปต์หรือซีเอสเอสหรือไม่ และผู้อ่านวิกิพีเดียกว่า 45% ที่ใช้รุ่นอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งมีชุดคุณลักษณะที่จำกัด การเข้าถึงเนื้อหาของอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถทดสอบได้ง่ายด้วยลิงก์ "รุ่นโมบายล์" ที่อยู่ท้ายทุกหน้า[lower-alpha 7]

เซลล์หรือส่วนยุบหรือยุบได้อัตโนมัติอาจใช้กับตารางได้หากกล่าวซ้ำสสารสนเทศที่มีอยู่ในข้อความหลักแล้ว (หรือเป็นการเสริมทั้งสิ้น เช่น สถิติหลายปีก่อนในตารางยุบเปรียบเทียบกับตารางสถิติปัจจุบันที่ไม่ยุบ) การยุบอัตโนมัติเป็นคุณลักษณะของกล่องนำทาง กล่องข้อมูลจำนวนหนึ่งยังใช้ส่วนยุบไว้ก่อนสำหรับรายละเอียดที่เข้าถึงน้อยครั้ง หากสารสนเทศในรายการ กล่องข้อมูลหรือเนื้อหาที่มิใช่เพื่อการนำทางดูเหมือนภายนอกหรือเล็กน้อยเพียงพอที่จะให้เกิดการยุบไว้ก่อน ให้พิจารณาเสนอการอภิปรายในหน้าพูดคุยของบทความหรือแม่แบบเรื่องว่าควรมีเนื้อหาเหล่านี้อยู่หรือไม่ หากสารสนเทศมีความสำคัญและปัญหาอยู่ที่ความหนาแน่นหรือความยาวของบทความ พิจารณาแบ่งบทความให้มีส่วนมากขึ้น บูรณาการสารสนเทศรูปแบบรายการที่ไม่จำเป็นเป็นร้อยแก้วบทความ หรือแยกเป็นบทความใหม่

ความเห็นที่มองไม่เห็น

ผู้เขียนใช้ความเห็น "ที่มองไม่เห็น" คือ ไม่แสดงในหน้าที่เรนเดอร์ที่ผู้อ่านบความเห็น แต่มองเห็นในต้นฉบับวิกิเมื่อผู้เขียนเปิดแก้ไขบทความ เพื่อสื่อสารระหว่างกัน

ความเห็นที่มองไม่เห็นยังมีประโยชน์ในการเตือนผู้เขียนอื่นถึงปัญหาอย่างข้อผิดพลาดสามัญซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในบทความ ชื่อเรื่องส่วนเป็นเป้าหมายของลิงก์จากหน้าอื่น หรือชี้ไปการอภิปรายที่สร้างฉันทามติที่เกี่ยวข้องกับบทความ เลี่ยงการเพิ่มความเห็นมองไม่เห็นมากเกินไปเพราะอาจทำให้ต้นฉบับวิกิยุ่งเหยิงสำหรับผู้เขียนอื่น ตรวจสอบว่าความเห็นมองไม่เห็นของคุณมิได้เปลี่ยนการจัดรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดเว้นวรรคสีขาวไม่พึงประสงค์ในหน้าที่เรนเดอร์

การใส่ความเห็นมองไม่เห็น ให้เขียนข้อความที่เจตนาให้ผู้เขียนอ่านเท่านั้นคร่อมด้วยเครื่องหมาย <!-- และ --> ตัวอย่างเช่น

  • <!-- หากคุณเปลี่ยนชื่อเรื่องส่วนนี้ ให้เปลี่ยนลิงก์มายังส่วนนี้ในหน้า ... ด้วย .... -->

สัญกรณ์นี้สามารถแทรกได้โดยคลิกครั้งหนึ่งในมาร์กอัพวิกิ ใต้แผงแก้ไขในภาวะแก้ไข

คำเฉพาะบางคำ

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา