คำศัพท์ ของ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน

ภาษาที่ใช้สอนหรือสันนิษฐานเอง

หลีกเลี่ยงวลีอย่าง "พึงระลึกว่า" และ "สังเกตว่า" ซึ่งเป็นการสนทนากับผู้อ่านโดยตรงด้วยสำเนียงไม่เป็นสารานุกรม เหล่านี้เป็นการอ้างอิงตนเองของวิกิพีเดียรูปแบบหนึ่งที่สังเกตยาก คล้ายกัน วลีอย่าง "แน่นอนว่า" "เป็นธรรมดาที่" "ชัดเจนว่า" และ "ที่จริงแล้ว" เป็นการสันนิษฐานความรู้ของผู้อ่าน และนำไปสู่ปัญหาสาเหตุที่รวมสารสนเทศดังกล่าวอยู่ตั้งแต่แรก อย่าบอกผู้อ่านว่าบางสิ่ง "แฝงนัย" "น่าประหลาดใจ" "คาดไม่ถึง" "น่าขบขัน" "บังเอิญ" ฯลฯ ให้บอกเพียงข้อเท็จจริงที่มีที่มาและให้ผู้อ่านได้ข้อสรุปด้วยตนเอง รูปประโยคดังกล่าวปกติควรลบให้เหลือเฉพาะประโยคที่เหมาะสมมีน้ำเสียงวิชาการมากขึ้นและก้าวร้าวลดลง เช่น สังเกตว่านี่เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงเป็นธรรมดาในหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยม ให้เป็น นี่เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงในหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยม

ศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ควรใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศให้น้อยที่สุด ควรใช้รหัสภาษาของไอเอสโอ เช่น {{lang|es|casa}} ซึ่งเป็นทางเลือกของแม่แบบ {{lang}} ซึ่งยังให้สารสนเทศเพิ่มเกี่ยวกับศัพท์หรือวลีต่างประเทศ เช่น ลิงก์ไปชื่อภาษาต่างประเทศ

ศัพท์ภาษาต่างประเทศควรแปลหรือถอดเสียงเป็นภาษาไทยโดยยึดตามแหล่งที่มาของบทความ หากไม่มี ให้ใช้การสะกดตามที่พบทั่วไปในแหล่งที่มาทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ เช่น พจนานุกรมหรือสารานุกรมภาษาไทย (รวมทั้งหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน)

  • การเขียนตัวอักษรคำ ให้ใช้สัญลักษณ์ของ IPA โดยอาจเขียนคำไทยที่เสียงใกล้เคียงกำกับ สำหรับภาษาจีนกลางให้ใช้พินอิน (ดู {{zh}}) และภาษาญี่ปุ่นให้ใช้โรมะจิ (ดู {{ญี่ปุ่น}}) กำกับเพิ่ม เช่น
  • กรณีคำนามภาษาเยอรมัน ให้เขียนคำทับศัพท์โดยขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

ภาษาเทคนิค

บางหัวข้อมีความเป็นเทคนิคในตัวมันเอง แต่ผู้เขียนควรพยายามเขียนให้มีผู้อ่านเข้าใจได้จำนวนมากที่สุด ลดภาษาเฉพาะวงการ หรือพยายามอธิบาย สำหรับบทความเทคนิคอย่างเลี่ยงไม่ได้ แยกเขียนบทความซึ่งเป็นบทนำต่างหาก (เช่น บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป) อาจเป็นทางออกดีที่สุด เลี่ยง "การลิงก์วิกิ" (การลิงก์ภายในวิกิพีเดีย) มากเกินไปแทนคำอธิบายในวงเล็บดังเช่นในประโยคนี้ อย่าใช้คำใหม่และเฉพาะทางเพื่อสอนผู้อ่านทั้งที่มีคำอื่นใช้กันแพร่หลายกว่า เมื่อความคิดตามความหมายของภาษาเฉพาะวงการซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายอย่างแม่นยำโดยใช้คำในวงเล็บไม่กี่คำ ให้เขียนโดยลดระดับความซ้ับซ้อนลงหนึ่งระดับ[lower-alpha 5] ตัวอย่างเช่น พิจารณาเพิ่มส่วนพื้นเดิมสั้น ๆ โดยมีป้ายระบุ {{หลัก}} ซึ่งชี้ไปบทความเต็มของความคิดที่ต้องมีก่อน การปฏิบัติดังนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อมโนทัศน์ที่ต้องมีก่อนสำคัญยิ่งยวดต่ออรรถาธิบายหัวข้อหลักของบทความ และเมื่อความคิดที่ต้องมีก่อนนั้นมีไม่มากเกินไป

ชื่อชนชาติและภาษา

ชื่อชนชาติและภาษาให้ใช้ชื่อตามชื่อประเทศ เช่น ชาวสวีเดน (ไม่ใช้ ชาวสวีดิช) ยกเว้นชื่อที่มีการใช้มานานจนเป็นที่ยอมรับ หรือปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทย อาทิ เยอรมัน กรีก ไอริช สกอต ดัตช์ สวิส อังกฤษ อเมริกัน

คำทับศัพท์

หลักการทับศัพท์ชื่อ ให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. บางทีในวิกิพีเดียภาษาไทยเคยมีการอภิปรายเรื่องคำทับศัพท์ที่ใช้กันภายในแล้ว ให้ยึดถือตามข้อตกลงก่อนหลักเกณฑ์อื่น หากต้องการเปลี่ยนแปลงให้อภิปรายก่อน
  2. พิจารณานำคำที่มีอยู่ในพจนานุกรมมาใช้
  3. ให้ถอดเสียงโดยอาศัยหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (บางภาษาออกหลักเกณฑ์ล่าสุดมาเมื่อเดือนเมษายน 2561)
    • อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอาจมีข้อผิดพลาดทั้งด้านการอ่านออกเสียง การเขียนตัวสะกดการันต์ ล้าสมัย หรือในบางครั้งการทับศัพท์ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาเลือกหรืออาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
  4. ถ้าราชบัณฑิตยสถานหรือสำนักงานราชบัณฑิตยสภาไม่ได้บัญญัติไว้ ให้ใช้คำที่มีใช้ในแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้แพร่หลาย
  5. ถ้าไม่มีหลักออกเสียงเดิม ให้ว่าไปตามเสียง โดยอาศัยอักขรวิธีของไทย
  6. ถ้าอ่านภาษาเดิมไม่ออก ให้อ่านจากภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ใกล้เคียง หรือให้คงอักษรเดิมไว้ก่อน
  7. คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว เช่น เม็กซิโกซิตี ยกเว้นชื่อเฉพาะที่เจ้าของชื่อหรือผู้แทนกำหนดให้เขียนเป็นอย่างอื่น สำหรับคำที่ยังไม่มีการกำหนด กรณีที่ตัดสินว่าถ้าแยกคำแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว
    • หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน สเปน มลายู และอินโดนีเซียของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาซึ่งออกใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2561 กำหนดให้เขียนทับศัพท์แยกกันในบางกรณี แต่ในวิกิพีเดียให้เขียนติดกันทุกกรณี ยกเว้นชื่อ-นามสกุลบุคคล ให้เขียนแยกกันตามภาษาต้นทาง[lower-alpha 6] เช่น
      • Frankfurt an der Oder (เมืองในประเทศเยอรมนี) ไม่ทับศัพท์เป็น ฟรังค์ฟวร์ท อัน แดร์ โอเดอร์ ให้ทับศัพท์เป็น ฟรังค์ฟวร์ทอันแดร์โอเดอร์
      • Jerez de la Frontera (เมืองในประเทศสเปน) ไม่ทับศัพท์เป็น เฆเรซ เด ลา ฟรอนเตรา ให้ทับศัพท์เป็น เฆเรซเดลาฟรอนเตรา
      • Harian Metro (หนังสือพิมพ์ในประเทศมาเลเซีย) ไม่ทับศัพท์เป็น ฮาเรียน เมโตร ให้ทับศัพท์เป็น ฮาเรียนเมโตร
      • sayur lodeh (อาหารอินโดนีเซีย) ไม่ทับศัพท์เป็น ซายูร์ โลเดะฮ์ ให้ทับศัพท์เป็น ซายูร์โลเดะฮ์

การเลือกใช้ชื่อบทความใด หากมีผู้ไม่เข้าใจชัดเจนหรือคาดว่าจะมีผู้ไม่เข้าใจ ควรอธิบายด้วยแม่แบบ {{ชื่อนี้เพราะ}} ในหน้าคุย รวมทั้งอธิบายสั้น ๆ เมื่อย้ายบทความ

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา