เครื่องหมายวรรคตอน ของ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน

อะพอสทรอฟี (')

  • แนะนำให้ใช้เครื่องหมายอะพอสทรอฟีตรง ( ' ) แทนอะพอสทรอฟีโค้ง ( ’ )
  • อย่าใช้เครื่องหมายลงน้ำหนักหรือแบ็กทิก (`) เป็นอะพอสทรอฟี
  • เมื่อใดที่อาจตีความอะพอสทรอฟีผิดเป็นมาร์กอัพวิกิให้ใช้แม่แบบ {{'}} หรือใช้ป้ายระบุ <nowiki> หรือใช้เอนทิตี &apos;

อัญประกาศ (" ")

ด้านล่างนี้ คำว่า "อัญพจน์" รวมถึงการใช้เครื่องหมายอัญประกาศตามธรรมเนียม เช่น สำหรับชื่อเพลง บท ตอน เป็นต้น

ใช้เครื่องหมายอัญประกาศในการเน้นคำ

อักขระอัญประกาศ

  • ใช้เครื่องหมาย "ตรง" ไม่ใช้เครื่องหมาย โค้ง (สำหรับข้อความคัดมาเดี่ยวหรืออะพอสทรอฟี ใช้ 'ตรง' ไม่ใช้ โค้ง)[lower-alpha 3]
  • อย่าใช้เครื่องหมายลงน้ำหนัก แบ็กทิก (`ข้อความ´), ต่ำ-สูง („ “) หรือกียะเม (« ») เป็นเครื่องหมายอัญประกาศหรืออะพอสทรอฟี เครื่องหมาย ′ และ ″ ที่เห็นในรายการหน้าต่างแก้ไขเป็นเครื่องหมายไพรม์และดับเบิลไพรม์ตามลำดับ ทั้งสองใช้เพื่อระบุการแบ่งองศา และไม่ใช่อะพอสทรอฟีหรือเครื่องหมายอัญประกาศ
  • เครื่องหมายอัญประกาศและอะพอสทรอฟีจากเนื้อความภายนอกควรเปลี่ยนตามความจำเป็น
คู่หรือเดี่ยวใส่เครื่องหมายอัญประกาศคู่คร่อมอัญพจน์ส่วนใหญ่ (ก กล่าวว่า "ข กินข้าว") ใส่อัญพจน์ในอัญพจน์ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว (ก ถามว่า "ข พูดหรือเปล่าวว่า 'ฉันกินข้าว' หลังออกไปแล้ว")[lower-alpha 4] แต่ยังมีข้อยกเว้นบ้าง เช่น
  • พันธุ์ปลูก ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว (Malus domestica 'Golden Delicious')

ชื่อและชื่อเรื่อง

ควรใช้เครื่องหมายอัญประกาศสำหรับชื่อและชื่อเรื่องต่อไปนี้

  • บทความและบท (หนังสือและจุลสารใช้ตัวเอน)
  • ส่วนของผลงานดนตรี (ผลงานใช้ตัวเอน)
  • แถบจากคอมิกส์และเว็บคอมิกส์ (คอมิกส์ใช้ตัวเอน)
  • บทกวี (บทกวียาวหรือมหากาพย์ใช้ตัวเอน)
  • เพลง (อัลบั้ม วัฏจักรเพลง อุปรากร โอเปเรตตา และออราทอริโอใช้ตัวเอน)
  • ตอนหนึ่ง ๆ ในชุดโทรทัศน์และวิทยุ และซีเรียล (ชื่อซีรีย์ใช้ตัวเอน)

ตัวอย่างเช่น เพลง "ตัวอย่าง" จากอัลบั้ม ตัวอย่าง โดยวงตัวอย่าง

อย่าใช้เครื่องหมายอัญประกาศหรือตัวเอนกับ

  • งานเขียนโบราณ
  • ทัวร์คอนเสิร์ต
  • สถานที่
  • ตำนานและมหากาพย์
  • บทสวด

นขลิขิต ( )

ไม่ควรมีช่องไฟติดกับขอบด้านในของนขลิขิต ปกตินขลิขิตเปิดควรมีช่องไฟนำหน้า แต่ยกเว้นกรณีที่มีเครื่องหมายอัญประกาศเปิด นขลิขิตเปิดอีกอันหนึ่ง หรือบางส่วนของคำ เช่น

  • เขากล่าวต่อที่ประชุมว่า "(อะแฮม) ... ยินดีต้อนรับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ!"
  • เฉพาะตัวละครเจ้าในละคร ([เจ้าชาย]แฮมเล็ตและพระราชวงศ์ของพระองค์) ตรัสกลอนเปล่าเป็นนิสัย
  • เราเดินทางโดยอินเทอร์[คอนติเนนทัล]

ควรมีช่องไฟหลังนขลิขิตปิด ยกเว้นมีเครื่องหมายวรรคตอนตาม และในบางกรณีที่คล้ายกับที่แสดงรายการสำหรับนขลิขิตเปิดข้างต้น

หากมีใช้นขลิขิตหลายชุด ให้ใช้นขลิขิตต่างแบบกันสำหรับระดับการซ้อนในติดกัน สำหรับการติดกันสองระดับ โดยธรรมเนียมให้วงเล็บเหลี่ยมปรากฏในวงเล็บกลม ซึ่งมักเป็นสัญญาณของการพรรณนาที่ทับซ้อนเกิน มักจะดีกว่าในการเรียบเรียงประโยค โดยเชื่อมความคิดด้วยเครื่องหมายวรรคตอนอย่างอื่นแทน

หลีกเลี่ยงการใช้นขลิขิตซ้อนกัน ให้ใช้วลีในวงเล็บในวงเล็บด้วยกัน หรือเขียนประโยคใหม่ เช่น

เลี่ยง:ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) (ประมาณ 1856 – 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรียและผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิเคราะห์
ดีขึ้น:ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud; ประมาณ 1856 – 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรียและผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิเคราะห์

นขลิขิตเหลี่ยมยังใช้เพื่อระบุการแทนคำของผู้เขียนและการสอดแทรกภายในอัญพจน์ แต่ไม่ควรใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงความหมายที่เจตนาไว้ การนี้มีสามวัตถุประสงค์หลัก คือ

  • เพื่อให้ความกระจ่าง: (เธอเข้าโรงเรียน[มัธยม] ซึ่งเป็นความหมายตามเจตนา แต่มิได้กล่าวถึงประเภทของโรงเรียนในประโยคเดิม)
  • เพื่อลดขนาดของอัญพจน์: (X มี Y และในบางกรณี X อาจมี Z ด้วยเช่นกัน อาจลดเหลือ X มี Y [และบางทีก็มี Z]) เมื่อใช้การละความ (...) เพื่อระบุว่ามีการลบเนื้อความออกจากอัญพจน์โดยตรง ปกติไม่ควรใส่นขลิขิต

วงเล็บกับลิงก์

วงเล็บภายในลิงก์ต้องหลีก ดังนี้

เขากล่าวว่า "[[จอห์น โด|จอห์น &#91;โด&#93;]]ตอบ"

เขากล่าวว่า "จอห์น [โด]ตอบ"

เขากล่าวว่า "[[จอห์น โด|จอห์น {{bracket|โด}}]]ตอบ"

เขากล่าวว่า "จอห์น [โด]ตอบ"

[http://example.site ในวันแรก &#91;ฯลฯ&#93;]

ในวันแรก [ฯลฯ]

[http://example.site ในวันแรก {{bracket|ฯลฯ}}]

ในวันแรก [ฯลฯ]

นอกจากนี้ยังสามารถใช้มาร์กอัพ <nowiki> ได้ดังนี้ <nowiki>[โด]</nowiki> หรือ <nowiki>[ฯลฯ]</nowiki>

หากยูอาร์แอลมีวงเล็บเหลี่ยม ข้อความวิกิควรใช้แบบเข้ารหัสยูอาร์แอล http://example.site/foo.php?query=%5Bxxx%5Dyyy แทน ...query=[xxx]yyy การนี้จะเลี่ยงการตัดทอนลิงก์ตามหลัง xxx

จุดไข่ปลา (...)

ใช้จุดไข่ปลาเพื่อแสดงการละเนื้อความจากข้อความที่คัดมา จุดไข่ปลาเป็นจุดสามจุดไม่เว้นช่องไฟ (...) ไม่แนะนำให้ใช้อักขระจุดไข่ปลาซึ่งทำไว้ก่อนแล้ว (…) กับสามจุดที่มีช่องไฟคั่น (. . .)

  • ใส่ช่องไฟทั้งสองข้างของจุดไข่ปลา ฝรั่งเศส เยอรมนี  ... และเบลเยียม) ยกเว้นกรณีซึ่งไม่ควรมีช่องไฟระหว่างจุดไข่ปลากับ
    • เครื่องหมายอัญประกาศที่ตามหลังจุดไข่ปลาทันที ("ฝรั่งเศส เยอรมนี และเบลเยียม ...")
    • วงเล็บใด ๆ (กลม เหลี่ยม ปีกกา ฯลฯ) ซึ่งจุดไข่ปลาอยู่ด้านใน ("ฝรั่งเศส เยอรมนี (แต่ไม่ใช่เบอร์ลิน มิวนิก ...) และเบลเยียม")
  • ใช้ที่ว่างไม่แบ่งบรรทัด (&nbsp;) ตามความจำเป็นเพื่อป้องกันการขึ้นบรรทัดใหม่ที่ไม่เหมาะสม เช่น
    • เพื่อรักษาให้เครื่องหมายอัญประกาศ (และเครื่องหมายวรรคตอนที่อยู่ติดกัน) มิให้แยกจากจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของอัญพจน์ ("...&nbsp;เรายังเป็นกังวล"
    • เพื่อรักษาไม่ให้จุดไข่ปลายกคำขึ้นบรรทัดใหม่ ("ฝรั่งเศส เยอรมนี&nbsp;... และเบลเยียม" มิใช่ "ฝรั่งเศส เยอรมนี&nbsp;...&nbsp;และเบลเยียม")
การหยุดพักหรือชะงักของการพูดบางครั้งใช้สามจุดเพื่อแสดงการหยุดพักหรือชะงักของการพูด ซึ่งในกรณีนั้นให้คงจุดไข่ปลาในรูปเดิม คำตอบสะดุ้งของเวอร์จิเนียคือ "เขาสามารถ ... ไม่ ฉันไม่ยอมเชื่อ!" เลี่ยงการใช้ลักษณะนี้ยกเว้นในอัญพจน์โดยตรง เมื่อบ่งชี้ว่าคำไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องเว้นช่องไฟระหว่างส่วนของคำและจุดไข่ปลา การสื่อสัญญาณบิดเบือนลงท้ายด้วย "เราถูกทิ้งอยู่ใกล้แซน ล...โ-" ตีความว่าเป็นการอ้างอิงถึงแซนลีอันโดรหรือแซนโลเรนโซจุดไข่ปลาที่มีวงเล็บเหลี่ยมปกติจุดไข่ปลาไม่ต้องมีวงเล็บเหลี่ยมคร่อม เนื่องจากหน้าที่ของมันชัดเจนอยู่แล้ว ทว่า วงเล็บเหลี่ยมอาจใช้เพิ่มสำหรับความแม่นยำ เพื่อให้ชัดเจนว่าจุดไข่ปลานั้นไม่ได้ยกมาจากต้นฉบับ ปกติจำเป็นเฉพาะเมื่อในเนื้อความที่ยกมามีการใช้สามจุดเพื่อระบุการหยุดพักหรือชะงักด้วย จุดไข่ปลาควรยึดหลักการที่ให้ข้างต้น แต่แทรกวงเล็บเหลี่ยมคร่อมจุดไข่ปลาด้วย (การด่าของเธอยังดำเนินต่อ "ฉันรู้สึกอย่างไร คุณคิดว่ายังไงละ ... นี่มันมากไปแล้ว! [...] ฉันอยากกลับบ้าน!")

จุลภาค (,)

ปกติในวิกิพีเดียภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นคำในรายการ ยกเว้นใช้เพื่อแบ่ง "คำที่มีเว้นวรรคภายในคำ" เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้แบ่งคำหรือวลีสับสน เช่น

เข้าใจยาก:นายกรัฐมนตรีไทย ได้แก่ ชวน หลีกภัย บรรหาร ศิลปอาชา ชวลิต ยงใจยุทธ ทักษิณ ชินวัตร สุรยุทธ์ จุลานนท์ ...
ถูกต้อง:   นายกรัฐมนตรีไทย ได้แก่ ชวน หลีกภัย, บรรหาร ศิลปอาชา, ชวลิต ยงใจยุทธ, ทักษิณ ชินวัตร, สุรยุทธ์ จุลานนท์ ...

ในกรณีที่ต้องการแยกกลุ่มให้เห็นชัด อาจใส่เครื่องหมายจุลภาคหน้าคำ "และ" หรือ "หรือ" ก็ได้ เช่น

เช็คของบริษัทนี้จะสมบูรณ์เมื่อมีผู้ลงนาม 3 คน คือ ก หรือ ข, ค หรือ ง, และ จ ลงนาม

ตามหลักภาษาไทย จุลภาคสามารถใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน เช่น "ส่วน การประพันธ์เรื่องนี้, ที่ใดเป็นร้อยแก้วอยู่ในภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าก็ได้แต่งเป็นร้อยแก้ว, แท่ใดเป็นกาพย์กลอนก็แต่งเป็นกาพย์กลอน, เพื่อให้รูปคล้ายของเดิมมากที่สุดที่จะเป็นได้." อย่างไรก็ตาม หากพบกรณีดังกล่าวในวิกิพีเดียภาษาไทยควรเรียบเรียงใหม่เพื่อลดการใช้เครื่องหมายจุลภาค

นอกจากนี้ ในภาษาไทยไม่มีการใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นการระบุสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ไม่ใช้ กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทย ยังสามารถใช้เพื่อเลี่ยงการใช้นขลิขิตซ้อน ดูที่ #นขลิขิต ( )

มหัพภาค (.)

มหัพภาคที่ใช้กำกับอักษรย่อ ควรเว้นวรรคหน้าและหลัง "กลุ่มของอักษรย่อ" นั้นหนึ่งช่อง เพื่อไม่ให้ติดกับวลีข้างเคียง เช่น

อนุสาร อ.ส.ท. เป็นนิตยสารท่องเที่ยวขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ยัติภังค์ (-)

ใช้ยัติภังค์ในกรณีป็นชื่อบุคคลที่มียัติภังค์ เช่น จอห์น เลนนาร์ด-โจนส์ หรือคำอื่นที่ใช้ตามเอกสารอ้างอิง เช่น โควิด-19

ยัติภาค (–)

ใช้ยัติภาค ซึ่งในวิกิพีเดียภาษาไทยให้ใช้เอ็นแดช (U+2013) ในกรณีต่อไปนี้

  • ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ" เพื่อบอกความสัมพันธ์ของสองสิ่ง
    • แผนภาพเวนน์–ออยเลอร์
  • ในความหมายว่า "ถึง" เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่
    • พ.ศ. 2550–2558
    • เที่ยวบินจากกรุงเทพฯ–สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต

ให้กรอกโดยคลิกรูปที่อยู่ขวามือของรายการปล่อยลง "แทรกอักษร" ใต้หน้าต่างแก้ไข หรือกรอกเองโดยใช้โค้ด &ndash; อย่าใช้ยัติภังค์สองตัว (--) แทนยัติภาค

ยัติภาคในพิสัยไม่เว้นช่องไฟเสมอ ยกเว้นเมื่อพิสัยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีช่องไฟอย่างน้อยหนึ่งช่อง เช่น

  • 23 กรกฎาคม 1790 – 1 ธันวาคม 1791 (ไม่ใช้ 23 กรกฎาคม 1790–1 ธันวาคม 1791)
  • 1–17 กันยายน;   กุมภาพันธ์–ตุลาคม 2009
  • 28 มม. – 17 ม., 1–10 มล.
  • 6:00–9:30 น.

ใช้คั่นคำในรายการ ตัวอย่างเช่น

  • จับคู่นักดนตรีกับเครื่องดนตรี
    • เจมส์ กัลเวย์ – ฟลุต
  • แสดงความยาวเพลงในอัลบั้ม
    • "เดอะฟิวเจอร์" – 7:21

ส่วนการลบหรือตัวเลขติดลบให้ใช้เครื่องหมายลบ −, U+2212 − minus sign (HTML &#8722; · &minus;) ในแถบแทรกอักษร อยู่ก่อนเครื่องหมายคูณ

  • 3x − 4
  • UTC−10

ทับ (/)

ใช้เครื่องหมายทับในกรณีต่อไปนี้

  • ใช้แสดงการออกเสียงของหน่วยเสียง (rivet ออกเสียงว่า /ˈrɪvət/)
  • ในเศษส่วน (7/8) แต่นิยมใช้ "ทับเศษส่วน" (7&frasl;8 แสดงผลเป็น 7⁄8) หรือแม่แบบ {{frac}} ({{frac|7|8}} แสดงผลเป็น 7/8) มากกว่า

อย่าใช้อักขระแบ็กสแลช ( \ ) แทนทับ

และ/หรือ

เลี่ยงการเขียน และ/หรือ เว้นเสียแต่อาจเกิดความกำกวม หรือเว้นเสียแต่รูปประโยคอื่นจะยาวเกินไปหรือไม่สละสลวย เช่น แทนที่จะเขียนว่า ส่วนใหญ่ประสบการบาดเจ็บและ/หรือการสูดดมควัน ให้เขียนเพียง การบาดเจ็บหรือการสูดดมควัน (ซึ่งธรรมดาจะตีความให้สื่อความว่า "หรือทั้งคู่" อยู่แล้ว) หรือ สำหรับการเน้นหรือความแม่นยำ ให้เขียน การบาดเจ็บหรือการสูดดมควันหรือทั้งคู่ หรือ การบาดเจ็บและการสูดดมควันหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หากมีความเป็นไปได้มากกว่าสองอย่าง แทนที่จะเขียน x, y, และ/หรือ z เขียนว่า x, y, และ z ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไป หรือ x, y, และ z ทั้งหมดหรือบางส่วน

ทวิภาค (:)

ในภาษาไทย ทวิภาคใช้ในความหมายว่า "คือ" หรือ "หมายถึง", ใช้เพื่อแจกแจงรายการ หรือใช้คั่นบอกเวลา ดู #วันที่และเวลา

ปรัศนี (?)

ให้ใช้เฉพาะในข้อความที่ยกมาจากที่อื่น

ไม้ยมก (ๆ)

ให้เว้นวรรคหน้าและหลังไม้ยมกเสมอ เว้นแต่จะอยู่ติดกับเครื่องหมายวรรคตอน

ไปยาลน้อย (ฯ)

ใช้เครื่องหมายไปยาลน้อยเพื่อย่อคำที่เคยออกชื่อเต็มไปแล้วครั้งหนึ่ง เช่น ใช้ "ศาลฯ" แทน "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ทั้งนี้ ให้เว้นวรรคหลังเครื่องหมายไปยาลน้อยหนึ่งช่องไฟ

เครื่องหมายวรรคตอนกับเชิงอรรถ

ป้ายระบุอ้างอิง (<ref>...</ref>) ใช้เพื่อสร้างเชิงอรรถ ป้ายระบุอ้างอิงควรอยู่ต่อท้ายข้อความที่ใช้เชิงอรรถนั้นทันทีโดยไม่มีเว้นวรรค ป้ายระบุอ้างอิงต้องอยู่หลังเครื่องหมายวรรคตอน ป้ายระบุอ้างอิงที่อยู่ติดกันไม่ควรเว้นวรรค ป้ายระบุอ้างอิงใช้สำหรับหมายเหตุอธิบาย แต่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเชิงอรรถแหล่งที่มา

เมื่อใช้ป้ายระบุอ้างอิง จะต้องเพิ่มรายการเชิงอรรถด้วย ซึ่งปกติอยู่ในส่วนหมายเหตุและอ้างอิงตอนท้ายของบทความ

หมายเหตุ: ลิงก์หมายเหตุจำลองในตัวอย่างด้านล่างไม่สามารถคลิกได้
  • ตัวอย่าง: นกบินไม่ได้มีสันกระดูกอกลดลง[10] และกระดูกปีกเล็กกว่านกบินได้ที่มีขนาดเท่ากัน[11][12]

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา