อัญพจน์ ของ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน

แม้อัญพจน์เป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของวิกิพีเดีย แต่ก็พยายามอย่าใช้มากเกินไป สามารถใช้อัญพจน์สั้น ๆ ของข้อความมีลิขสิทธิ์เพื่อประกอบประเด็น สร้างบริบทหรือยกประเด็นของมุมมองหรือความคิด โดยทั่วไปแนะนำให้เขียนเนื้อหาด้วยคำของผู้เขียนวิกิพีเดียเอง การใช้คำที่คัดมามากเกินไปไม่เข้ากับลีลาการเขียนของสารานุกรม และอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ พิจารณาลดการใช้อัญพจน์โดยการเรียบเรียง เพราะไม่ควรใช้อัญพจน์แทนข้อความเสรี (ซึ่งรวมข้อความที่ผู้เขียนเขียนด้วย)

การใช้คำต้นฉบับ

อัญพจน์จะต้องมีแหล่งที่มาที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ การใช้คำของข้อความที่คัดมานั้นควรเป็นสำเนาไม่ตกหล่น หลักนี้เรียก หลักการเปลี่ยนแปลงน้อยสุด ที่ใดเมื่อมีเหตุสมควรให้เปลี่ยนการใช้คำ ให้ใช้เครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมคร่อมการใช้คำนั้น (ตัวอย่างเช่น [บิดาของนาง] แทนเขา เมื่อบริบทที่ระบุ "เขา" ไม่รวมอยู่ในอัญพจน์ เช่น "โอซิโรอิบอกชะตากรรมของเขาแก่ [บิดาของนาง]") หากมีข้อผิดพลาดสำคัญในถ้อยแถลงต้นฉบับ ให้ใช้ [[sic]] หรือแม่แบบ {{sic}} เพื่อแสดงว่าวิกิพีเดียมิได้ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดนั้น ทว่า ข้อผิดพลาดการสะกดคำและการพิมพ์เล็กน้อยควรแก้ไขโดยไม่ต้องเขียนความเห็น ยกเว้นการสะกดผิดนั้นมีความสำคัญต่อตัวบท

ใช้การละความเพื่อแสดงการละเว้นบางส่วนจากข้อความที่คัดมา การละเว้นที่ชอบได้แก่ คำภายนอก คำที่ไม่เกี่ยวข้องหรือคำในวงเล็บ และคำพูดที่ไม่มีความหมาย (เช่น อืม และ หืม) อย่าละเว้นข้อความซึ่งจะลบบริบทสำคัญหรือเปลี่ยนความหมายของข้อความ เมื่อคัดข้อความหยาบคายหรือลามกมา ควรปรากฏให้เหมือนกับในแหล่งที่มาตามอ้าง ชาววิกิพีเดียไม่ควรตัดทอนคำโดยแทนอักขระด้วยเครื่องหมายแดช ดอกจันหรือสัญลักษณ์อื่น ยกเว้นเมื่อทำสำเนาซึ่งข้อความตามคัดมา

ในอัญพจน์โดยตรง ให้คงการสะกดคำตามสำเนียงและแบบโบราณตามต้นฉบับ

มุมมอง

อัญพจน์ควรใช้เพื่อนำเสนอความเห็นอารมณ์ซึ่งไม่สามารถแสดงด้วยเสียงของวิกิพีเดียเองได้พร้อมการอ้างอิงที่มา แต่ห้ามนำเสนอบรรทัดฐานวัฒนธรรมว่าเป็นอารมณ์

  • ยอมรับได้: ซิสเคลและอีแบร์ทเรียกภาพยนตร์นี้ว่า "ลืมไม่ลง"
  • ยอมรับไม่ได้: คัมภีร์ของศาสนาถือว่าสถานที่นี้ "ศักดิ์สิทธิ์"

ความเห็นกระชับซึ่งไม่แสดงอารมณ์เกินควรสามารถรายงานพร้อมแหล่งที่มาได้โดยไม่ต้องใช้อัญพจน์โดยตรง การใช้เครื่องหมายอัญประกาศรอบคำอธิบายธรรมดามักดูเหมือนส่อความน่าเคลือบแคลงเกี่ยวกับเนื้อความที่กำลังคัดมา หรืออาจอนุมานได้ว่าเป็นการประชดประชันหรือคำคลุมเครือ เช่น "ตามที่เชื่อ" หรือ "ตามที่เรียก"

  • ยอมรับได้: ซิสเคลและอีแบร์ทกล่าวว่าภาพยนตร์นี้น่าสนใจ
  • ไม่จำเป็นและอาจส่อความความเคลือบแคลง: ซิสเคลและอีแบร์ทกล่าวว่าภาพยนตร์นี้ "น่าสนใจ"
  • ควรคัดคำ: ซิสเคลและอีแบร์ทเรียกภาพยนตร์นี้ว่า "น่าสนใจแต่บิดหัวใจ"

ความสอดคล้องทางไทโปกราฟี

อัญพจน์ไม่ต้องเป็นสำเนาแท้จริง และในกรณีส่วนใหญ่ไม่กำหนดให้ต้องรักษาการจัดรูปแบบดั้งเดิม การจัดรูปแบบและส่วนไทโปกราฟีอย่างเดียวอื่นของข้อความที่คัดมาควรปรับเข้ากับธรรมเนียมของวิกิพีเดียภาษาไทยโดยไม่ต้องออกความเห็นโดยที่การทำเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลงหรืออำพรางความหมายหรือเจตนาของข้อความนั้น วิธีปฏิบัติเช่นนี้พบในผู้จัดพิมพ์ทุกราย มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงเมื่ออ่านข้อความออกเสียง อย่างเช่น

  • แทนส่วนย่อยไทโปกราฟีที่มิใช่ภาษาไทยด้วยส่วนย่อยภาษาไทย ตัวอย่างเช่น แทนกียะเม (« ») ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศตรง
  • ให้คงตัวเส้นหนาและตัวเอนเป็นส่วนใหญ่ แต่ควรเปลี่ยนลีลาอื่นส่วนใหญ่ การขีดเส้นใต้, การเว้น  ภ า ย ใ น ค  ำ , สี ฯลฯ โดยทั่วไปควรปรับเป็นตัวเอนหรือตัวเส้นหนา (แต่ไม่บ่อย) สำหรับชื่อเรื่องของหนังสือ บทความ บทกวี เป็นต้น ให้เพิ่มตัวเอนหรือเครื่องหมายอัญประกาศตามคู่มือว่าด้วยชื่อเรื่อง
  • ขยายอักษรย่อ

ไม่ควรใช้อัญพจน์โดยตรงเพื่อพยายามรักษาการจัดรูปแบบที่ผู้จัดพิมพ์ภายนอกเลือกใช้ โดยเฉพาะเมื่อเนื้อความไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น

  • ยอมรับได้: สัตว์นี้ขึ้นรายการว่าใกล้สูญพันธุ์ในรายการแดงชนิดถูกคุกคามของ IUCN
  • ยอมรับไม่ได้: สัตว์นี้ขึ้นรายการว่า "ใกล้สูญพันธุ์" ในรายการแดงชนิดถูกคุกคามของ IUCN

สามารถใช้ตัวเอนเพื่อทำเครื่องหมายการใช้งานจำเพาะเป็นภาษาเฉพาะวงการ โดยเฉพาะเมื่อไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือผู้ที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญไม่ควรเปลี่ยนไปใช้คำอื่น

  • อนุญาต: สัตว์นี้ขึ้นรายการว่าใกล้สูญพันธุ์วิกฤตในรายการแดงชนิดถูกคุกคามของ IUCN

แหล่งที่มา

ควรออกชื่อผู้ประพันธ์ส่วนคัดมาของประโยคเต็ม โดยให้ทำในข้อความหลักมิใช่เพียงเชิงอรรถเท่านั้น ทว่า การบอกแหล่งที่มาไม่จำเป็นกับอัญพจน์ซึ่งชัดเจนว่ามาจากบุคคลที่กำลังอภิปรายอยู่ในบทความหรือส่วนนั้น เมื่อบอกแหล่งที่มา หลีกเลี่ยงการนำเสนอในแบบที่มีความลำเอียง

อัญพจน์ในอัญพจน์

สำหรับอัญพจน์ในอัญพจน์ ให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศคู่สำหรับอัญพจน์นอกสุด แล้วสลับเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวและคู่จากนอกเข้าใน เช่น เขากล่าวว่า "หนังสือนั้นอ้างว่า 'วอลแตร์กล่าวว่า "ฉันไม่ยอมรับสิ่งที่คุณพูด แต่ฉันจะปกป้องสิทธิของคุณในการพูดด้วยชีวิต" ' "

ลิงก์

ระมัดระวังเมื่อลิงก์ภายในอัญพจน์ ให้ลิงก์ไปยังเป้าหมายที่สอดคล้องกับความหมายที่ผู้ประพันธ์ความที่ยกมาเจตนาชัดเจน หากเป็นไปได้ให้ลก์จากข้อความนอกอัญพจน์แทน ไม่ว่าก่อนหรือหลังอัญพจน์นั้น (หากกำลังยกข้อความหลายมิติ ให้เพิ่มหมายเหตุผู้เขียน [ลิงก์ต้นฉบับ] หรือ [ลิงก์ที่เพิ่ม] ตามสมควร เพื่อเลี่ยงความกำกวมว่าผู้ประพันธ์เดิมเป็นผู้ทำลิงก์นั้นหรือไม่)

อัญพจน์บล็อก

จัดรูปแบบข้อความที่ยกมายาว (กว่า 40 คำหรืออักขระตั้งแต่หนึ่งร้อยตัวขึ้นไป หรือมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าไม่ว่ายาวเพียงใด) เป็นอัญพจน์บล็อก คือ มีการย่อหน้าทั้งสองด้าน อัญพจน์บล็อกสามารถใช้อยู่ใน {{quote}} หรือ <blockquote>...</blockquote> แม่แบบดังกล่าวยังให้ตัวแปรเสริมสำหรับระบุแหล่งี่มา อย่าปิดอัญพจน์บล็อกด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลีกเลี่ยงเครื่องหมายอัญประกาศตกแต่งในการใช้ปกติ เช่น กำหนดในแม่แบบ {{cquote}}) นอกจากนี้ ยังไม่สนับสนุนอัญพจน์บล็อกโดยใช้สีพื้นหัลัง

บทกวี เนื้อเพลงและข้อความที่จัดรูปแบบแล้วอื่นอาจยกมาในบรรทัดได้หากสั้นหรือนำเสนอในอัญพจน์บล็อก หากอยู่ในบรรทัด การขึ้นบรรทัดใหม่ควรระบุด้วย / และการแบ่งย่อหน้าหรือบทโดย // ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิของวิกิพีเดียปกติไม่เรนเดอร์การแบ่งบรรทัดหรือการย่อหน้าใน {{quote}} หรือ <blockquote> แต่ในส่วนขยาย <poem> สามารถใช้เพื่อรักษาการแบ่งบรรทัดหรือการย่อหน้าได้

อัญพจน์ภาษาต่างประเทศ

อัญพจน์จากแหล่งภาษาต่างประเทศควรปรากฏพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งควรเป็นภาษาสมัยใหม่ อัญพจน์ซึ่งเป็นคำแปลควรแยกชัดเจนจากอัญพจน์ต้นฉบับ การระบุแหล่งที่มาดั้งเดิมของคำแปล (ถ้ามี และมิได้เผยแพร่ครั้งแรกในวิกิพีเดีย) และภาษาต้นฉบับ (หากไม่ชัดเจนจากบริบท)

หากมีข้อความดั้งเดิมก่อนแปล ให้บอกอ้างอิงหรือรวมข้อความนั้นด้วยตามความเหมาะสม

หากผู้เขียนเป็นผู้แปลข้อความภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยเอง ต้องระมัดระวังให้รวมข้อความต้นฉบับเสมอ ในตัวเอน และใช้คำภาษาไทยที่สามัญและใช้จริงในคำแปล นอกจากคุณมั่นใจความสามารถในการแปลของคุณ ให้มองหาความช่วยเหลือจากผู้ใช้อื่น

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา