การวัด ของ วิตกจริต

โดยเหมือนกับลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ วิตกจริตถูกมองว่ามีระดับต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นแบบ "เป็น" หรือ "ไม่เป็น"คะแนนที่ได้ในการวัดลักษณะนี้ กระจายออกเป็นการแจกแจงปรกติ ถ้ามีตัวอย่างผู้ทำข้อสอบมากพอ

การวัดโดยทั่วไปเป็นแบบแจ้งเอง (self-report) แม้ว่า การวัดโดยให้คนอื่นแจ้ง เช่น โดยคนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ก็มีได้เหมือนกันการวัดแบบแจ้งเองอาจเป็นแบบใช้คำ (lexical)[1] หรือใช้บทความ (statement)[10]ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา

ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ะละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของนิสัย เช่น ความวิตกกังวล ความอิจฉาริษยา การมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งมีประสิทธิผลทางด้านเวลาและพื้นที่ในงานวิจัยเป็นอย่างดีในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits)[11]ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาคำเพียง 8 คำที่ใช้วัด โดยเป็นส่วนของคำ 40 คำ[12]ต่อมาในปี 2008 จึงมีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ[1]โดยมีความสม่ำเสมอหรือความเชื่อถือได้ภายใน (internal consistency/reliability) ในการวัดระดับวิตกจริต สำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่ .84 และสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษพวกอื่นที่ .77[1]

การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่าการวัดโดยใช้คำตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตนสามารถ "สงบนิ่งภายใต้แรงกดดัน" ได้เท่าไร หรือ "มีการแปรปรวนของอารมณ์" หรือไม่[10]แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า[13]ยกตัวอย่างเช่น บทความอังกฤษที่เป็นภาษาปากในอเมริกาเหนือเช่น "Seldom feel blue" (แทบไม่เคยรู้สึกซึมเศร้า) และ "Am often down in the dumps" (บ่อยครั้งรู้สึกซึมเศร้า) บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดจะเข้าใจต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวลีภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลที่ใช้ในการทดสอบ

  • ฉันอารมณ์เสียง่าย (I am easily disturbed)
  • อารมณ์ฉันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา (I change my mood a lot)
  • ฉันหงุดหงิดง่าย (I get irritated easily)
  • ฉันเครียดง่าย (I get stressed out easily)
  • ฉันเสียใจได้ง่าย (I get upset easily)
  • อารมณ์ฉันกลับไปกลับมาบ่อย (I have frequent mood swings)
  • ฉันกังวลกับเรื่องต่าง ๆ (I worry about things)
  • ฉันวิตกกังวลมากกว่าคนอื่น ๆ (I am much more anxious than most people[14])
  • ฉันรู้สึกสบาย ๆ โดยมาก (I am relaxed most of the time)
  • ฉันไม่ค่อยซึมเศร้า (I seldom feel blue)

ยังมีการศึกษาลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เปรียบเทียบกับ "ทฤษฎีบุคลิกภาพจิตชีวภาพของเกรย์" (Gray's biopsychological theory of personality) ด้วย โดยเทียบกับค่าวัดบุคลิกภาพของทฤษฎีในสองมิติ คือ Behavioural Inhibition System (ตัวย่อ BIS เป็นระบบที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้วิตกกังวล) และ Behavioural Activation System (ตัวย่อ BAS เป็นระบบที่ตอบสนองต่อความทะยานอยากเพื่อทำเป้าหมายให้สำเร็จ)[15][16]โดยที่ระบบ BIS เป็นระบบที่ไวต่อการถูกลงโทษ (punishment) และที่ให้แรงจูงใจเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง (avoidance motivation) ในขณะที่ระบบ BAS เป็นระบบที่ไวต่อรางวัล (reward) และให้แรงจูงใจเพื่อจะเข้าไปหา (approach motivation)งานศึกษาพบว่า ระดับวิตกจริต มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าวัด BIS และเชิงลบกับค่าวัด BAS[17][18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิตกจริต http://www.amazon.com/Shell-Shock-Traumatic-Neuros... http://books.google.com/?id=1gJPXv5wQbIC&pg=PA288&... http://books.google.com/books?id=9eFaAAAACAAJ http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.springerlink.com/content/h011745713t7l2... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1213942... http://online.wsj.com/article/SB122211987961064719... http://tu-dresden.de/die_tu_dresden/fakultaeten/fa... http://www.bradley.edu/dotAsset/165918.pdf