จิตพยาธิวิทยา ของ วิตกจริต

งานวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางจิตมากมายสัมพันธ์กับระดับวิตกจริตที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป[3][19][20]รวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทาน (eating disorder) และโรคจิตเภท, และความผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้ง schizoaffective disorder, dissociative identity disorder, และ hypochondriasisแต่ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood) สัมพันธ์กับระดับวิตกจริต สูงกว่าความผิดปกติอย่างอื่น ๆ[3]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorder) ดังที่มีรายชื่ออยู่ใน DSM-IV โดยทั่วไปสัมพันธ์กับระดับวิตกจริต ที่สูงขึ้น[3][21]งานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งพบว่าความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่าง ๆ รวมทั้งแบบก้ำกึ่ง แบบหวาดระแวง (paranoid) แบบจิตเภท (schizotypal) แบบหลีกเลี่ยง (avoidant) และแบบพึ่งพา (dependent) ล้วนแต่สัมพันธ์กับระดับวิตกจริตอย่างมีนัยสำคัญ (คือมีระดับสหสัมพันธ์ระหว่าง .28-.49)ส่วนความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่เหลือ คือ แบบหลงตัวเอง (narcissistic) และแบบ histrionic มีสหสัมพันธ์น้อยหรือไม่สำคัญกับระดับวิตกจริต

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิตกจริต http://www.amazon.com/Shell-Shock-Traumatic-Neuros... http://books.google.com/?id=1gJPXv5wQbIC&pg=PA288&... http://books.google.com/books?id=9eFaAAAACAAJ http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.springerlink.com/content/h011745713t7l2... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1213942... http://online.wsj.com/article/SB122211987961064719... http://tu-dresden.de/die_tu_dresden/fakultaeten/fa... http://www.bradley.edu/dotAsset/165918.pdf