อัตราการเกิดโรคและการเสียชีวิต ของ วิทยาการระบาดของมะเร็ง

ในสหรัฐ มะเร็งเป็นเหตุความตายเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) เท่านั้น[17]แต่ในสหราชอาณาจักร มันเป็นเหตุอันดับหนึ่ง[18]ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ อุบัติการณ์ของมะเร็ง (ตามที่วัดได้) ดูเหมือนจะต่ำกว่ามาก โดยน่าจะเป็นเพราะอัตราความตายเนื่องกับโรคติดต่อหรือการบาดเจ็บที่สูงกว่าแต่เมื่อควบคุมมาลาเรียและวัณโรคได้ดีขึ้น อุบัติการณ์ของมะเร็งเชื่อว่าจะสูงขึ้นยกตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก อุบัติการณ์ของมะเร็งเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น 100-180% ภายใน 15 ปีข้างหน้าเพราะการคาดหมายคงชีพที่สูงขึ้น จำนวนผู้ชราภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น และการควบคุมโรควัยเด็กได้[19]เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า epidemiological transition (การเปลี่ยนสถานะทางวิทยาการระบาด)

การระบาดของมะเร็งเป็นกระจกส่องปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆมะเร็งเซลล์ตับ (HCC) เกิดในประเทศตะวันตกน้อยแต่เป็นมะเร็งหลักในจีนและประเทศใกล้เคียง โดยน่าจะเป็นเพราะมีไวรัสตับอักเสบ บี และสารพิษอะฟลาทอกซิน เป็นของประจำถิ่นเช่นเดียวกัน เพราะการสูบบุหรี่ได้กลายเป็นเรื่องสามัญในประเทศโลกที่สามต่าง ๆ อุบัติการณ์ของมะเร็งปอดจึงได้เพิ่มตาม

ไทย

ในประเทศไทยระหว่างปี 2013-2015 ชายมีอัตราอุบัติการณ์เฉลี่ยของโรคต่อปีปรับตามอายุ (age-standardized incidence rate, ASR) ต่อประชากร 100,000 คนที่ 143.8 รายและหญิง 134.2 ราย (ชายเกิดโรคทั้งหมด 61,416 คนและหญิง 65,139 คน)เมื่อแบ่งเป็นภาค ๆ อัตราจะสูงสุดในภาคตะวันออก คือ ชายมีอัตรา 164.5 ราย และหญิง 214.8 ราย[20]

มะเร็งที่เกิดในอัตราสูงสุดต่อประชากร 100,000 คนในชายตามลำดับคือ ตับและท่อน้ำดี (33.9 ราย) ท่อลม หลอดลม และปอด (23.0 ราย) ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (16.2 ราย) และต่อมลูกหมาก (7.5 ราย)มะเร็งที่เกิดในหญิงตามลำดับคือ เต้านม (31.4 ราย) ตับและท่อน้ำดี (12.9 ราย) ปากมดลูก (11.7 ราย) และลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (11.1 ราย)[21]

ตามงานปี 2017 ภาระโรคมะเร็งในประเทศไทย 60% มาจากมะเร็ง 5 อย่าง คือมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่กับไส้ตรง ตับ และปอดโดยมีอัตราอุบัติการณ์ที่ 59.2% อัตราตายที่ 63.1% และความชุกโรคภายใน 5 ปีที่ 54.3% ของมะเร็งทั้งหมด[22]

อินเดีย

ตามคณะกรรมการวิจัยการแพทย์แห่งอินเดีย (India Council of Medical Research, ICMR) คนอินเดียเกิน 1,300 คนเสียชีวิตทุกวันเพราะมะเร็ง (ปีละ 474,500 รายจากประชากร 1,327 ล้านคน)ระหว่างปี 2012-2014 อัตราการตายเพราะมะเร็งได้เพิ่มประมาณ 6%ในปี 2012 มีผู้เสียชีวิต 478,180 รายจากคนไข้ 2,934,314 คนที่รายงาน (16.29%)ในปี 2013 มีผู้เสียชีวิต 465,169 รายจากคนไข้ 3,016,628 คน (15.4%)ในปี 2014 มีผู้เสียชีวิต 491,598 รายจากคนไข้ 2,820,179 คน (17.4%)[23]

ตามทะเบียนมะเร็งประชากรของ ICMR อุบัติการณ์และการตายเพราะมะเร็งสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ[24]มะเร็งเต้านมสามัญที่สุด มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเหตุมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดในประชากรทั้งหมดมะเร็งเต้านมทำให้หญิงเสียชีวิตมากที่สุด และมะเร็งปอดทำให้ชายเสียชีวิตมากที่สุด[25]

แคนาดา

ในแคนาดาปี 2007 มะเร็งเป็นเหตุให้เสียชีวิตอันดับหนึ่ง คือที่อัตราร้อยละ 29.6เหตุอันดับสองคือโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD)ในปี 2011 มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งสามัญที่สุดในชาย (คนไข้มะเร็งใหม่ 28%) และมะเร็งเต้านมสามัญที่สุดในหญิง (คนไข้มะเร็งใหม่ 28% เหมือนกัน)

มะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดทั้งในชายหญิงคือมะเร็งปอด เป็นเหตุให้ตายเพราะมะเร็ง 26.8%ข้อมูลสถิติชี้ว่า ระหว่างอายุ 20-50 ปี อัตราอุบัติการณ์ (incidence rate) ของมะเร็งสูงกว่าในหญิง เทียบกับหลังอายุ 50 ปีที่อัตราอุบัติการณ์ในชายจะสูงขึ้นสมาคมมะเร็งแคนาเดียนพยากรณ์ว่า ในอนาคต อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งจะสูงขึ้นทั้งในชายหญิงดังนั้น ก็จะคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปในอนาคต

สหรัฐ

ในสหรัฐ มะเร็งเป็นเหตุให้เสียชีวิต 25% โดย 30% จากนั้นมีเหตุจากมะเร็งปอดมะเร็งต่อมลูกหมากสามัญที่สุดในชาย (คนไข้มะเร็งใหม่ 25%) และมะเร็งเต้านมในหญิง (คนไข้มะเร็งใหม่ 25% เช่นกัน)เด็กและวัยรุ่นก็อาจเป็นมะเร็ง แต่ก็ไม่สามัญ (มีกรณี 150 รายต่อล้านคน) โดยมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามัญที่สุด[17]แต่ในปีแรกของชีวิต อุบัติการณ์อยู่ที่ 230 กรณีต่อล้านคน โดยนิวโรบลาสโตมาสามัญที่สุด[26]ข้อมูลปี 2004-2008 บ่งว่า อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งที่ปรับตามอายุ (age-adjusted) โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 460 รายต่อชายหญิง 100,000 คนต่อปี[27]

ในสหรัฐ มะเร็งเป็นเหตุให้เสียชีวิต 25% ส่วนในโลกหลาย ๆ แห่ง ก็เป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขอย่างหนึ่งข้อมูลทางสถิติต่อไปเป็นค่าประเมินสำหรับสหรัฐในปี 2008, อาจต่างกับประเทศอื่น ๆ อย่างสำคัญ, ยกเว้นมะเร็งผิวหนังแบบ basal cell และ squamous cell, และยกเว้น carcinoma in situ ในตำแหน่งต่าง ๆ นอกเหนือจากกระเพาะปัสสาวะ[17]ดังที่จะเห็น มะเร็งเต้านม/ต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเหตุของอุบัติการณ์โรคมะเร็งประมาณครึ่งหนึ่งในเรื่องการเสียชีวิตเพราะมะเร็งก็เช่นกัน แต่มะเร็งปอดจะเป็นเหตุหลักแทนมะเร็งเต้านม/ต่อมลูกหมาก

ในปี 2016 จะมีคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งใหม่ 1,685,210 ราย โดย 595,690 ราย (35.37%) จะเสียชีวิตเพราะโรค (จากประชากรประมาณ 324 ล้านคน)[28]

  • มะเร็งที่เกิดสามัญที่สุดในชายอเมริกันตามลำดับ[17]
  • มะเร็งที่ทำให้ชายอเมริกันเสียชีวิตมากที่สุดตามลำดับ[17]
  • มะเร็งที่เกิดสามัญที่สุดในหญิงอเมริกันตามลำดับ[17]
  • มะเร็งที่ทำให้หญิงอเมริกันเสียชีวิตมากที่สุดตามลำดับ[17]
ชาย หญิง
เกิดสามัญที่สุด[17]ทำให้ตายอย่างสามัญที่สุด[17] เกิดสามัญที่สุด[17]ทำให้ตายอย่างสามัญที่สุด[17]
มะเร็งต่อมลูกหมาก (25%)มะเร็งปอด (31%)มะเร็งเต้านม (26%)มะเร็งปอด (26%)
มะเร็งปอด (15%)มะเร็งต่อมลูกหมาก (10%)มะเร็งปอด (14%)มะเร็งเต้านม (15%)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (10%)มะเร็งลำไส้ใหญ่ (8%)มะเร็งลำไส้ใหญ่ (10%)มะเร็งลำไส้ใหญ่ (9%)
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (7%)มะเร็งตับอ่อน (6%)มะเร็งเยื่อบุมดลูก (7%)มะเร็งตับอ่อน (6%)
non-Hodgkin lymphoma (5%)มะเร็งตับและท่อน้ำดี (4%)non-Hodgkin lymphoma (4%)มะเร็งรังไข่ (6%)
เมลาโนมาที่ผิวหนัง (5%)มะเร็งเม็ดเลือดขาว (4%)มะเร็งไทรอยด์ (4%)non-Hodgkin lymphoma (3%)
มะเร็งไต (4%)มะเร็งหลอดอาหาร (4%)เมลาโนมาที่ผิวหนัง (4%)มะเร็งเม็ดเลือดขาว (3%)
มะเร็งปากและคอหอย (3%)มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (3%)มะเร็งรังไข่ (3%)มะเร็งมดลูก (3%)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (3%)non-Hodgkin lymphoma (3%)มะเร็งไต (3%)มะเร็งตับและท่อน้ำดี (2%)
มะเร็งตับอ่อน (3%)มะเร็งไต (3%)มะเร็งเม็ดเลือดขาว (3%)มะเร็งสมองและระบบประสาทอื่น ๆ (2%)
อื่น ๆ (20%)อื่น ๆ (24%)อื่น ๆ (22%)อื่น ๆ (25%)

มะเร็งอย่างที่สองในคนไข้ที่หายจากมะเร็งอย่างแรก

ในประเทศพัฒนาแล้ว คน 1/3 จะเกิดมะเร็งในช่วงชีวิตถ้าคนไข้ทั้งหมดรอดชีวิตและมะเร็งเกิดโดยสุ่ม โอกาสการเกิดมะเร็งหลักอย่างที่สอง (ที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็งที่เป็นอย่างแรก) ชั่วชีวิตปกติจะอยู่ที่ 1/9[29]แต่จริง ๆ แล้วคนไข้มีโอกาสเป็นมะเร็งหลักอย่างที่สอง 2/9 คือเสี่ยงเป็นมะเร็งอย่างที่สองมากขึ้น[29]คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งดังกล่าวจัดอยู่ในโอกาสเสี่ยง 1 ใน 9 ตามปกติดังที่ว่า[29]

ความเสี่ยงเพิ่มเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงเดียวกันที่ก่อมะเร็งอย่างแรก เช่น กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ทานแอลกอฮอล์ โรคอ้วน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และส่วนหนึ่งเกิดจากการรักษามะเร็งอย่างแรก ซึ่งอาจใช้ยาคีโมหรือการฉายรังสีซึ่งทำให้ยีนกลายพันธุ์ (mutagenic)[29]อนึ่ง ผู้รอดชีวิตอาจทำตามคำแนะนำของแพทย์ให้ตรวจคัดโรคได้ดีกว่า จึงตรวจพบมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป[29]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยาการระบาดของมะเร็ง http://www.delhidailynews.com/news/Cancer-kills-13... http://globalcancermap.com/ http://www.medpagetoday.com/InfectiousDisease/Publ... http://www.thehindu.com/news/national/cancer-cases... http://www.thelancet.com/journals/lanonc/article/P... http://www.iom.edu/Object.File/Master/43/927/HIPAA... http://globocan.iarc.fr/ http://www-dep.iarc.fr/ http://seer.cancer.gov/ http://seer.cancer.gov/publications/childhood/