ผลของการปราบฮ่อ ของ สงครามปราบฮ่อ

เมื่อปีพุทธศักราช 2420 พระปทุมเทวาภิบาล (เคน) เป็นเจ้าเมืองหนองคาย ได้เกิดศึกฮ่อขึ้นโดยพวกฮ่อได้ยกกองทัพเข้าตีเมือง เวียงจันทน์ในประเทศลาว แล้วตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และตระเตรียมเสบียงอาหารไว้เพื่อโจมตี เมืองรายทางต่างๆ เรื่อยมาจนถึงเมืองหนองคาย ซึ่งขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (เคน) เจ้าเมืองหนองคายไม่อยู่ ได้มอบให้ท้าวจันทร์ศรีสุราชรักษาเมืองแทน พอได้รับข่าวศึก ก็มิได้มีการตระเตรียมกองทัพไว้สู้ศึก ทำให้ราษฎรพากันอพยพครอบครัวหนีออกจากเมือง ทำให้พวกฮ่อยกกองทัพเข้าเมืองหนองคายส่วนท้าวจันทน์ศรีสุราชได้พาครอบครัวหนีไปอยู่บ้านสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี และพระยา พิไสยสรเดช (หนู) เจ้าเมืองโพนพิสัยพร้อมด้วยกรมการเมืองก็พาราษฎรหนีออกจากเมืองไปเช่นเดียวกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงทราบข่าวศึกฮ่อยกกองทัพเข้ามาตีเมืองหนองคาย จึงมีพระบรมราชโองการ ให้พระยามหาอำมาตย์ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปปราบฮ่อที่เมืองอุบลราชธานีอยู่แล้ว ยกกองทัพเข้าเมืองหนองคายและสั่งให้จับ ท้าวจันทน์ศรีสุราช กับพระยาพิไสยสรเดชประหารชีวิตเสียทั้งคู่ จากนั้นพระยามหาอำมาตย์ จึงได้เกณฑ์กำลังจากเมือง นครพนม มุกดาหาร เขมราช นครราชสีมา และร้อยเอ็ดมาสมทบกันที่เมืองหนองคาย แล้วยกกองทัพออกไปตีพวกฮ่อจนถึงเมืองเวียงจันทน์ พวกฮ่อพ่ายแพ้ พากันหนีเข้าป่าไปเมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว พระยามหาอำมาตย์จึงได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองเวียงจันทน์มาเป็นเชลยลงมาไว้ที่เมืองหนองคาย แล้วจึงยกกองทัพกลับกรุงเทพ ฯ

อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ หน้าศาลากลางจังหวัดหนองคายหลังเดิม

ในปีพุทธศักราช 2427 พวกฮ่อรวบรวมกำลังกันได้ก็ยกกองทัพเข้าโจมตีเมืองต่างๆ อีกทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้มหาดไทยเมืองนครราชสีมายกกองทัพไปปราบพวกฮ่อ จนแตกหนีไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองขวาง และทุ่งเชียงคำ

ในปีพุทธศักราช 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชนุกูล และพระยา ศรีสุริยราชวรานุวัตร ยกกองทัพขึ้นไปปราบพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ เมื่อวันพุธ ขึ้น 14 ค่ำเดือน 4 เวลาประมาณ 2 โมงเช้า การรบถึงขั้น ตะลุมบอลพวกฮ่อสู้ไม่ได้จึงถอยหนีไป พระยาราชนุกูลถูกลูกปืนของข้าศึกแข้งแตกเดินไม่ได้ ในเวลา 4 โมงเย็น พวกฮ่อรวบรวมกำลังกัน ยกกองทัพมาตีเพื่อยึดค่ายคืนอีกแต่ไม่สำเร็จ กองทัพไทยยกเข้าไปล้อมพวกฮ่อไว้นาน 7 วัน พวกฮ่อจึงขอเจรจาสงบศึกโดยขอให้ไทย ยกกองทัพกลับ แล้วจะมอบสิ่งของในค่ายฮ่อให้ครึ่งหนึ่ง แต่กองทัพไทยไม่ยอมเพราะไม่ไว้ใจพวกฮ่อ

เพื่อให้การปราบพวกฮ่อเป็นไปอย่างรวดเร็วเด็ดขาด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ "กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" คุมกองทัพ ขึ้นไปสมทบ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจึงดำรัสให้พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุญนาค) ม.ร.ว.วรุณ พระยาสุริยเดช พระราชวรรินทร์ และพระเจริญราชอาณาเขตยกกองทัพไปสมทบ กองทัพไทยได้เอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในค่ายของพวกฮ่อจนฮ่อแตกหนีไป กองทัพจึงได้ยก กองทัพกลับเมืองหนองคาย เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ สงบเรียบร้อยแล้ว กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจึงโปรด ให้สร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อขึ้นที่ เมืองหนองคาย เพื่อบรรจุอัฐิทหารจากกรม กองต่างๆ ที่เสียชีพเพื่อชาติในครั้งนั้น ดังนี้

ปางนี้จักแสดง พจน์พร้อมผู้ภักดีในอนุสาวรีย์ ไว้เป็นที่ระลึกตามผู้กอปรด้วยภักดี ดังอาภรณ์ประดับงามชีพมลายขจรนาม ปรากฏเกียรตินิรันดรสูญสุริย์จันทร จึงจะสูญซึ่งความดีวายชีพทำการกิจ โดยความสวามีภักดีต่อชุลี ละอองบาททบมาลย์ปวงปราชญ์คงจักซ้อง ศรับแล้วสาธุการนับว่าเป็นทัยสูญ ขมีขลาดขยาดขย่อนองอาจต่อราชกิจ มิได้คิดแต่ความมรณ์คณะเทพไตรสร จักชูช่วยอำนวยผลนำขันธ์เสวยสุข นฤทุกข์บ่ได้ยลสุขขกิจจงจักดล ประโลกยับแปรปรวนสุดท้ายมีคำจารึกไว้ว่า "อนุสาวรีย์นี้ได้เปิดแต่ศักราช 1247 ควบ 1248 พุทธศักราชล่วงแล้ว"[4]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม