สงครามยมคิปปูร์
สงครามยมคิปปูร์

สงครามยมคิปปูร์

กำลังรบนอกประเทศ:สนับสนุนโดย:เครื่องบินรบ 440 ลำ
รถถัง 1,700 คัน[19]
650,000[18]–800,000[20] นายรถถัง1,700 คันเครื่องบินรบ 400 ลำ:
ซีเรีย:
150,000[18] นาย
รถถัง 1,200 คัน
สงครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (อังกฤษ: Yom Kippur War, Ramadan War, หรือ October War; ฮีบรู: מלחמת יום הכיפורים‎ Milẖemet Yom HaKipurim หรือ מלחמת יום כיפור Milẖemet Yom Kipur) เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้สงครามเริ่มต้นเมื่อแนวร่วมอาหรับเปิดฉากจู่โจมร่วมต่อที่ตั้งของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครองในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดาย ซึ่งในปีนั้นยังตรงกับเดือนเราะมะฎอนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามด้วย กำลังอียิปต์และซีเรียข้ามเส้นหยุดยิงเข้าสู่คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันตามลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มความพยายามส่งกำลังบำรุงแก่พันธมิตรของตนระหว่างสงคราม และนำไปสู่การเกือบเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจนิวเคลียร์สองประเทศสงครามเริ่มต้นด้วยการข้ามคลองสุเอซครั้งใหญ่ที่สำเร็จของอียิปต์ หลังข้ามเส้นหยุดยิง กำลังอียิปต์รุดหน้าโดยแทบไม่มีการต้านทานเข้าสู่คาบสมุทรไซนาย หลังสามวันผ่านไป อิสราเอลได้ระดมพลกำลังส่วนใหญ่และหยุดยั้งการรุกของอียิปต์ ทำให้เกิดการตรึงอำนาจทางทหาร ฝ่ายซีเรียประสานงานการโจมตีที่ราบสูงโกลันให้พร้อมกับการรุกของอียิปต์ และทีแรกได้ดินแดนเพิ่มอย่างคุกคามสู่ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง ทว่า ภายในสามวัน กำลังอิสราเอลผลักซีเรียเข้าสู่เส้นหยุดยิงก่อนสงคราม จากนั้นกำลังป้องกันอิสราเอลเปิดฉากการตีโต้ตอบสี่วันลึกเข้าไปในประเทศซีเรีย ภายในหนึ่งสัปดาห์ ปืนใหญ่อิสราเอลเริ่มระดมยิงชานกรุงดามัสกัส เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ซาดาตเริ่มกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพของพันธมิตรหลักของเขา เขาเชื่อว่าการยึดจุดผ่านยุทธศาสตร์สองจุดซึ่งตั้งอยู่ลึกในไซนายจะทำให้ฐานะของเขาแข็งแรงขึ้นระหว่างการเจรจาหลังสงคราม ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อียิปต์กลับไปรุกอีก แต่การเข้าตีนั้นถูกขับกลับมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นอิสราเอลตีโต้ตอบที่แนวต่อระหว่างกองทัพอียิปต์สองกองทัพ ข้ามคลองสุเอซเข้าประเทศอียิปต์ และเริ่มรุกหน้าอย่างช้า ๆ ลงใต้และไปทางตะวันตกสู่นครสุเอซในการสู้รบอย่างหนักกว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียกำลังพลมากวันที่ 22 ตุลาคม การหยุดยิงที่สหประชาชาติเป็นนายหน้าคลี่คลายอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าละเมิด ในวันที่ 24 ตุลาคม อิสราเอลพัฒนาฐานะของตนอย่างมากและสำเร็จการล้อมกองทัพที่สามของอียิปต์และนครสุเอซ การพัฒนานี้นำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผลคือ มีการกำหนดการหยุดยิงครั้งที่สองด้วยความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมถึงสิ้นสงครามสงครามนี้มีการส่อความกว้างขวาง โลกอาหรับซึ่งประสบความอับอายในการแตกล่าฝ่ายเดียวของพันธมิตรอียิปต์–ซีเรีย–จอร์แดนในสงครามหกวัน รู้สึกว่าได้แก้ตัวทางจิตใจจากความสำเร็จขั้นต้นในความขัดแย้งนี้ ในประเทศอิสราเอล แม้มีความสำเร็จทางปฏิบัติการและยุทธวิธีอันน่าประทับใจในสมรภูมิ แต่สงครามนี้นำให้มีการตระหนักว่าไม่มีการรับประกันว่าประเทศอิสราเอลจะครอบงำรัฐอาหรับในทางทหารได้เสมอไป ดังที่เคยเป็นมาตลอดสงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่หนึ่ง สงครามสุเอซและสงครามหกวันก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ปูทางสู่กระบวนการสันติภาพต่อมา ข้อตกลงค่ายเดวิดปี 2521 ในภายหลังนำสู่การคืนคาบสมุทรไซนายให้ประเทศอียิปต์และการคืนความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการรับรองอิสราเอลอย่างสันติโดยประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ประเทศอียิปต์ยังตีตนออกห่างจากสหภาพโซเวียตต่อไปและออกจากเขตอิทธิพลโซเวียตโดยสิ้นเชิง

สงครามยมคิปปูร์

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่6–25 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สถานที่คาบสมุทรไซนาย, ที่ราบสูงโกลัน
ผลลัพธ์อิสราเอลชนะทางการทหาร[14]
ดินแดน
เปลื่ยน

  • กองทัพอียิปต์ยึดครองฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ โดยยกเว้นจุดข้ามของอิสราเอลใกล้กับดีเวอร์ซัวร์ (Deversoir)
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดน 1,600 ตารางกิโลเมตรบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคลองสุเอซ ในระยะ 100 กิโลเมตรจากกรุงไคโร และล้อมดินแดนแทรกอียิปต์ในฝั่งตะวันออก
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดนบาชันซีเรีย (Syrian Bashan) 500 ตารางกิโลเมตร บนยอดที่ราบสูงโกลัน ซึ่งอยู่ในระยะ 20 ไมล์จากกรุงดามัสกัส
สถานที่ คาบสมุทรไซนาย, ที่ราบสูงโกลัน
ผลลัพธ์ อิสราเอลชนะทางการทหาร[14]
วันที่ 6–25 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ดินแดนเปลื่ยน
  • กองทัพอียิปต์ยึดครองฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ โดยยกเว้นจุดข้ามของอิสราเอลใกล้กับดีเวอร์ซัวร์ (Deversoir)
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดน 1,600 ตารางกิโลเมตรบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคลองสุเอซ ในระยะ 100 กิโลเมตรจากกรุงไคโร และล้อมดินแดนแทรกอียิปต์ในฝั่งตะวันออก
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดนบาชันซีเรีย (Syrian Bashan) 500 ตารางกิโลเมตร บนยอดที่ราบสูงโกลัน ซึ่งอยู่ในระยะ 20 ไมล์จากกรุงดามัสกัส

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามยมคิปปูร์ http://www.history.com/ http://www.history.com/topics/yom-kippur-war#FWNE.... http://www.policyarchive.org/handle/10207/bitstrea... https://books.google.com/books?id=%E2%80%93glXraIM... https://books.google.com/books?id=-glXraIMt8gC&pri... https://books.google.com/books?id=GS4DBQAAQBAJ https://books.google.com/books?id=R_YrBgAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=_MYtjSFyFWMC&lpg... https://books.google.com/books?id=_MYtjSFyFWMC&lpg... https://books.google.com/books?id=_MYtjSFyFWMC&lpg...