สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย
สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

เจ้าหน้าที่กำลังตำรวจพิเศษ 810 นาย[14] เสียชีวิต 36 นาย บาดเจ็บ 79 นาย เป็นเชลย 27 นาย [18][15]
เสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 2 นาย[19]เซาท์ออสซีเชีย: รัสเซียระบุ 162 คน เซาท์ออสซีเชียระบุว่า พลเรือนและทหารเสียชีวิตรวมกัน 365 คน[22][23][24]
จอร์เจีย: พลเรือนเสียชีวิต 224 คน สูญหาย 15 คน บาดเจ็บ 542 คน[25]
พลเรือนต่างชาติเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 3 คน[26]สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือสงครามเซาท์ออสซีเชีย (ในรัสเซียมีอีกชื่อหนึ่งว่า สงครามห้าวัน) เป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ระหว่างจอร์เจียฝ่ายหนึ่ง กับรัสเซียและรัฐบาลผู้แบ่งแยกของเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียอีกฝ่ายหนึ่งสงครามเซาท์ออสซีเชียเมื่อ พ.ศ. 2534-2535 ระหว่างเชื้อชาติจอร์เจียกับออสเซเตียได้สิ้นสุดลงด้วยพื้นที่เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยของเซาท์ออสซีเชียอยู่ภายใต้การควบคุมโดยพฤตินัยของรัฐบาลที่รัสเซียหนุนหลัง หากนานาชาติมิได้ให้การรับรองแต่อย่างใด[33] เซาท์ออสซีเชียส่วนที่เชื้อชาติจอร์เจียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ภายใต้การควบคุมของจอร์เจีย (เขตอะฮัลโกรี และหมู่บ้านส่วนมากรอบซคินวาลี) โดยมีกำลังรักษาสันติภาพร่วมจอร์เจีย นอร์ทออสเซเตียและรัสเซียประจำอยู่ในพื้นที่ สถานการณ์คล้ายคลึงกันอุบัติขึ้นในอับฮาเซียหลังจากสงครามในอับฮาเซียเมื่อ พ.ศ. 2353-2536 ความตึงเครียดได้บานปลายขึ้นระหว่างฤดูร้อนของ พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม รัสเซียตัดสินใจที่จะป้องกันเซาท์ออสซีเชียอย่างเป็นทางการ[34]ระหว่างคืนวันที่ 7 และ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จอร์เจียเปิดฉากการรุกทางทหารขนานใหญ่ต่อเซาท์ออสซีเชีย ในความพยายามที่จะยึดพื้นที่คืน[35] จอร์เจียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการสนองต่อเหตุโจมตีต่อผู้รักษาสันติภาพและหมู่บ้านของตนในเซาท์ออสซีเชีย และรัสเซียกำลังเคลื่อนหน่วยทหารที่มิใช่เพื่อการรักษาสันติภาพเข้ามาในพื้นที่ การโจมตีของจอร์เจียเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียในบรรดาผู้รักษาสันติภาพรัสเซีย ผู้ซึ่งต้านทานการโจมตีร่วมกับทหารอาสาสมัครออสเซเตีย จอร์เจียยึดซคินวาลีได้สำเร็จในไม่กี่ชั่วโมง รัสเซียสนองโดยการจัดวางกำลังกองทัพที่ 58 ของรัสเซีย และกำลังพลร่มรัสเซียในเซาท์ออสซีเชีย และเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อกำลังจอร์เจียในเซาท์ออสซีเชียและเป้าหมายทางทหารและการส่งกำลังบำรุงในดินแดนจอร์เจีย รัสเซียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมและการบังคับใช้สันติภาพที่จำเป็น[36][37]กำลังรัสเซียและออสเซเตียสู้รบกับกำลังจอร์เจียทั่วเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาสี่วัน โดยมีการสู้รบหนักที่สุดในซคินวาลี วันที่ 9 สิงหาคม ทัพเรือของรัสเซียปิดล้อมชายฝั่งจอร์เจียบางส่วน และยกนาวิกโยธินขึ้นบกบนชายฝั่งอับฮาเซีย[38] ทัพเรือจอร์เจียพยายามจะขัดขวาง แต่พ่ายแพ้ในการปะทะกันทางทะเล กำลังรัสเซียและอับฮาเซียเปิดแนวรบที่สองโดยการโจมตีหุบโคโดรีที่จอร์เจียครองอยู่[39] กำลังจอร์เจียต้านทานได้เพียงเล็กน้อย และต่อมา กำลังรัสเซียได้ตีโฉบฉวยฐานทัพหลายแห่งในทางตะวันตกของจอร์เจีย หลังการสู้รบอย่างหนักในเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาห้าวัน กำลังจอร์เจียก็ร่นถอย ทำให้รัสเซียสามารถกรีธาเข้าสู่จอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาทและยึดครองนครต่าง ๆ ของจอร์เจียได้จำนวนหนึ่ง[40]สหภาพยุโรปที่มีฝรั่งเศสเป็นประธานเข้าไกล่เกลี่ยสถานการณ์ และคู่กรณีบรรลุความตกลงหยุดยิงขั้นต้นในวันที่ 12 สิงหาคม โดยจอร์เจียลงนามเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมในกรุงทบิลิซี และรัสเซียลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมในกรุงมอสโก หลายสัปดาห์ให้หลังการลงนามในความตกลงหยุดยิงดังกล่าว รัสเซียเริ่มถอนทหารส่วนมากออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท รัสเซียได้สถาปนาเขตกันชนรอบอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย ตลอดจนตั้งจุดตรวจในดินแดนจอร์เจีย ท้ายที่สุด กำลังเหล่านี้ได้ถูกถอนออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตะวันตกบางคนยืนยันว่า ทหารเหล่านี้ไม่ได้กลับไปประจำยังแนวที่ประจำอยู่เดิมก่อนหน้าที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นตามที่ระบุไว้ในแผนสันติภาพ[41][42] กำลังรัสเซียยังประจำอยู่ในอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียความตกลงสองฝ่ายกับรัฐบาลทั้งสองดินแดน[43]

สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่7 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สถานที่จอร์เจีย, เซาท์ออสซีเชีย, อับคาเซีย
ผลลัพธ์
  • ชัยชนะของรัสเซีย เซาท์ออสซีเชีย นอร์ทออสเซเตีย อับฮาเซีย
  • สหพันธรัฐรัสเซียและนิคารากัวยอมรับว่า เซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียเป็นสาธารณรัฐอิสระ[1][2]
  • การขับผู้มีเชื้อสายจอร์เจียส่วนมากจากอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชียและจากหุบโคโดรี (Kodori Gorge)[3][4][5][6]
ดินแดน
เปลื่ยน
จอร์เจียสูญเสียการควบคุมเหนือบางส่วนของอับฮาเซีย (25%) และอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชีย (40%) ที่ถือครองอยู่เดิม พื้นที่ราว 20% ของจอร์เจีย (รวมทั้งอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย) ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอีกต่อไป
สถานที่ จอร์เจีย, เซาท์ออสซีเชีย, อับคาเซีย
ผลลัพธ์
  • ชัยชนะของรัสเซีย เซาท์ออสซีเชีย นอร์ทออสเซเตีย อับฮาเซีย
  • สหพันธรัฐรัสเซียและนิคารากัวยอมรับว่า เซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียเป็นสาธารณรัฐอิสระ[1][2]
  • การขับผู้มีเชื้อสายจอร์เจียส่วนมากจากอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชียและจากหุบโคโดรี (Kodori Gorge)[3][4][5][6]
ดินแดนเปลื่ยน จอร์เจียสูญเสียการควบคุมเหนือบางส่วนของอับฮาเซีย (25%) และอดีตมณฑลปกครองตนเองเซาท์ออสซีเชีย (40%) ที่ถือครองอยู่เดิม พื้นที่ราว 20% ของจอร์เจีย (รวมทั้งอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย) ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอีกต่อไป
วันที่ 7 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย http://www.theaustralian.news.com.au/story/0,25197... http://www.theage.com.au/world/looting-and-ethnic-... http://www.caucaz.com/home_eng/depeches.php?idp=40... http://www.csmonitor.com/2008/0812/p01s08-woeu.htm... http://www.elpais.com/articulo/internacional/Rusia... http://www.foreignaffairs.com/articles/65469/charl... http://www.iht.com/articles/ap/2008/08/08/news/Geo... http://www.nytimes.com/2008/08/13/world/europe/13g... http://www.nytimes.com/2008/09/07/world/europe/07a... http://www.ossetia-war.com/dvlist