การมีส่วนร่วมของกองกำลังผสม ของ สงครามอ่าว

กองกำลังผสมจากอียิปต์ ซีเรีย โอมาน และคูเวตในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

สมาชิกในกองกำลังผสมประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาเรนห์ บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เชกโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ ฮอนดูรัส ฮังการี อิตาลี คูเวต มาเลเซีย โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส กาตาร์ โรมาเนีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[96]

เยอรมนีและญี่ปุ่นให้การช่วยเหลือทางการเงินและบริจาคอุปกรณ์ทางทหาร แต่ไม่ได้ส่งกองกำลังใด ๆ เข้าร่วมรบ ต่อมาวิธีดังกล่าวถูกเรียกว่า การทูตแบบสมุดเช็ค

สหราชอาณาจักร

รถถังชาลเลนเจอร์ 1 ของกองทัพบกอังกฤษในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

สหราชอาณาจักรเป็นชาติยุโรปที่ส่งกองทัพเข้าร่วมรบมากที่สุดในสงคราม ปฏิบัติการทั้งหลายในสงครามอ่าวถูกเรียกว่าปฏิบัติการแกรนบี้ กองพลจากกองทัพบกอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากกองพลยานเกราะที่ 1) กองทัพอากาศ และกองทัพเรือเข้าร่วมในสงครามอ่าว กองทัพอากาศอังกฤษใช้ฐานบินในซาอุดิอาระเบีย มียานเกราะเกือบ 2,500 คันและทหาร 53,462 นายถูกส่งมาทางเรือ[ต้องการอ้างอิง]

เรือรบของราชนาวีอังกฤษประกอบด้วยเรือฟริเกตชั้น"บรอดซอร์ด"และเรือพิฆาตชั้น"เชฟฟิลด์" นอกจากนี้ยังมีกองเรือสนับสนุนบางส่วนร่วมด้วย เรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาเอชเอ็มเอส "อาร์คโรยัล"เข้าประจำตำแหน่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

หน่วยปฏิบัติการพิเศษจากหน่วยเอสเอเอสก็เข้าร่วมเช่นกัน

ฝรั่งเศส

ทหารสหรัฐและฝรั่งเศสกำลังตรวจดูซากรถถังไทป์ 69 ของอิรักที่ถูกทำลายโดยกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 ของฝรั่งเศสในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

อีกชาติยุโรปที่ส่งทหารเข้าร่วมรบมากเป็นอันดับสองคือฝรั่งเศส โดยส่งทหารเข้าร่วมศึก 18,000 นาย[96] ฝรั่งเศสทำหน้าที่รักษาปีกซ้ายของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ กองกำลังหลักของฝรั่งเศสมาจากกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 และทหารจากกองพลรบต่างแดนของฝรั่งเศส เริ่มแรกฝรั่งเศสปฏิบัติการแยกต่างหากจากกองกำลังอื่น แต่อาศัยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทหารอเมริกันและซาอุ ในเดือนมกราคมกองพลดังกล่าวได้ทำงานภายใต้การควบคุมของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ฝรั่งเศสยังได้ส่งอากาศยานและเรือเข้ารบเช่นกัน ฝรั่งเศสเรียกปฏิบัติการทั้งหมดว่าปฏิบัติการดาเก

แคนาดา

ซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทของแคนาดาที่มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว
ดูเพิ่มเติมที่: ปฏิบัติการฟริกชัน

แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกรานของอิรักและเข้าร่วมกับกองกำลังผสมอย่างรวดเร็ว ในเดอืนสิงหาคม พ.ศ. 2533 นายกรัฐมนตรีไบรอัน มัลโรนีย์ได้สั่งการให้กองกำลังของแคนาดาสร้างกองเรือเฉพาะกิจขึ้นมา เรือพิฆาตรเอชเอ็มซีเอส "อธาบัสคัน"และเอชเอ็มซีเอส "เทอร์ราโนวา"เข้าร่วมรบพร้อมกับการสนับสนุนจากเรือเอชเอ็มซีเอส "โพรเทกเตอร์"ในปฏิบัติการฟริกชัน กลุ่มเรือเฉพาะกิจของแคนาดาได้นำการหนุนกำลังของกองกำลังผสมเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย เรือลำที่สี่คือเรือเอชเอ็มซีเอส "ฮูรอน" ซึ่งเข้ามาหลังจากที่ทีการหยุดยิงและเป็นเรือพันธมิตรลำแรกที่เข้าเยี่ยมคูเวต

หลังจากที่มีการอนุญาตให้ใช้กำลังกับอิรัก กองกำลังของแคนาดาก็นำฝูงบินซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทและซีเอช-124 ซีคิงพร้อมกับทหารอากาศเข้ารวมการรบ นอกจากนี้ยังมีศูนย์พยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจากการรบภาคพื้นดินอีกด้วย เมื่อการศึกทางอากาศเริ่มต้นขึ้น ซีเอฟ-18 ก็เข้าร่วมกับกองกำลังผสมและได้รับหน้าที่ปกป้องและโจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่สงครามเกาหลีที่กองทัพแคนาดาได้มีบทบาททางทหารในเชิงรุก มีซีเอฟ-18 เพียงลำเดียวที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าได้เอาชนะเครื่องบินของศัตรูในการรบในยุทธการบูบียัน[97]

ผู้บัญชาการของแคนาดาที่ทำหน้าที่ในตอนนั้นคือผู้การผู้การเคนเนธ เจ. ซัมเมอร์ส

ออสเตรเลีย

เรือเอชเอ็มเอเอส "ซิดนีย์"ในอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534

ออสเตรเลียได้ส่งกองเรือเฉพาะกิจเข้าร่วมสงคราม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือนานาชาติในอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในปฏิบัติการดามาส์ค นอกจากนี้แล้วยังมีทีมแพทย์ที่ทำหน้าที่บนเรือพยาบาลของสหรัฐแและทีมกวาดทุ่นระเบิดใต้น้ำที่ได้ทำการกำจัดทุ่นระเบิดที่ท่าเรือของคูเวตหลังจากการรบสิ้นสุดลง

แม้ว่ากองกำลังของออสเตรเลียจะไม่ได้ทำการปะทะใด ๆ แต่พวกเขาก็มีบทบาทสำคัญในการคว่ำบาตรอิรัก เช่นเดียวกับการให้การสนับสนุนอื่น ๆ ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย หลังจากสิ้นสุดสงครามออสเตรเลียได้ส่งหน่วยแพทย์ไปทำหน้าที่ในปฏิบัติการฮาบิแทตที่ทางตอนเหนือของอิรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโพรไวด์คอมเฟิร์ท

อาร์เจนตินา

อาร์เจนตินาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการบิชอปด้วยการส่งเรือพิฆาตรเออาร์เอ "อัลมิรันเตบราวน์"และเรือคอร์เวตเออาร์เอ "สปิโร" ต่อมาทั้งสองลำถูกแทนที่ด้วยเรือคอร์เวตเออาร์เอ "โรซาเลส"และเรือขนส่งเออาร์เอ "บาเฮียซานบลาส"

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอ่าว http://afa.at/histomun/HISTOMUN2008-Paper-Kuwait.p... http://www.colegioweb.com.br/historia/guerra-do-go... http://www.iraquenewst55.jex.com.br/3+guerra+terro... http://www1.folha.uol.com.br/folha/livrariadafolha... http://www.uel.br/grupo-pesquisa/gepal/segundosimp... http://www.checkpoint-online.ch/CheckPoint/Histoir... http://www.wikileaks.ch/cable/1990/07/90BAGHDAD423... http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/04/... http://www.apnewsarchive.com/1991/Soldier-Reported... http://www.britains-smallwars.com/gulf/Roll.html