กำลังของศัตรูถูกกำจัด ของ สงครามอ่าว

ดูบทความหลักที่: การจลาจลในอิรัก พ.ศ. 2534
กลุ่มพลเรือนและกองกำลังผสมกำลังโบกธงชาติคูเวตและซาอุดิอาระเบียเพื่อฉลองชัยชนะในปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ทำให้กองกำลังอิรักล่าถอยออกจากคูเวตเหรียญทหารผ่านศึกสงครามอ่าวที่มอบให้กับทหารสหรัฐ

ในพื้นที่ยึดครองของกองกำลังผสมในอิรักได้เกิดการประชุมเพื่อสันติภาพขึ้นเพื่อทำข้อตกลงหยุดยิงโดยเป็นที่ยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการประชุมดังกล่าวอิรักได้รับอนุญาตให้ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธได้ในชายแดนชั่วคราวฝั่งตนเองเพื่อลำเลียงบุคคลของรัฐบาลเพราะส่วนภาคพลเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่นานหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้นและกองทหารของอิรักก็ได้ปะทะกับการจลาจลทางตอนใต้ของอิรัก กลุ่มกบฏได้รับการปลุกใจจากการออกอากาศของรายการ"เดอะวอยซ์ออฟฟรีอิรัก"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกอากาศมาจากสถานีวิทยุที่ควบคุมโดยซีไอเอที่ตั้งอยู่นอกซาอุดิอาระเบีย ฝ่ายงานอาหรับจากวอยซ์ออฟอเมริกาได้สนับสนุนการจลาจลโดยกล่าวว่ากลุ่มกบฏมีขนาดใหญ่และไม่นานพวกเขาจะสามารถปลดแอกจากซัดดัมได้[93]

ในทางเหนือของอิรัก ผู้นำกลุ่มชาวเคิร์ดได้รับฟังคำกล่าวของอเมริกาที่ว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนการจลาจลด้วยใจจริงและเริ่มต่อสู้พร้อมกับหวังว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อขาดการสนับสนุนโดยสหรัฐ นายพลของอิรักก็ยังคงภักดีต่อซัดดัมและเข้าบดขยี้การจลาจลของชาวเคิร์ดอย่างโหดเหี้ยม ชาวเคิร์ดนับล้านอพยพออกนอกประเทศไปยังตุรกีและอิหร่าน เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เกิดเขตห้ามบินในทางตอนเหนือและใต้ของอิรักในเวลาต่อมา ในคูเวตเจ้าชายได้กลับสู่บัลลังก์และเหล่าผู้สมรู่ร่วมคิดกับอิรักก็ถูกปราบปราม ท้ายที่สุดมีประชากร 4 แสนคนถูกขับไล่ออกจากประเทศรวมทั้งชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเพราะองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์สนับสนุนซัดดัม ยัสเซอร์ อาราฟัตไม่ออกมาขอโทษเรื่องที่เขาสนับสนุนอิรัก แต่หลังจากเสียชีวิต พรรคฟาตาห์ก็ออกมาแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2547[94]

ฝ่ายบริหารประเทศของบุชถูกวิจารณ์เช่นกัน เพราะพวกเขายอมให้ซัดดัมอยู่ในอำนาจต่อแทนที่จะเข้ายึดกรุงแบกแดดและโค่นล้มรัฐบาลอิรัก ในหนังสืออะเวิลด์ทรานส์ฟอร์มที่เขียนโดยบุชและเบรนท์ สโคว์ครอฟท์ พวกเขาถกเถียงกันว่าหากเข้ายึดอิรักเหล่าพันธมิตรก็จะเกิดการแตกแยกและอาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการเมืองและมนุษย์อย่างไม่จำเป็น

ในปีพ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐดิก เชนีย์ได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

ผมคิดว่าหากเราเข้าไปในอิรักเราก็อาจมีกำลังทหารในกรุงแบกแดดถึงทุกวันนี้ เราอาจได้ควบคุมประเทศ เราอาจไม่สามารถพาทุกคนออกจากที่นั่นและกลับบ้านได้

สิ่งสุดท้ายที่ผมต้องคิดคำนึงคือการสูญเสีย ผมไม่คิดว่าเราจะสามารถดำเนินการตามนั้นทั้งหมดโดยไม่สูญเสียทหารสหรัฐเพิ่ม ขณะที่ทุกคนประทับใจกับการที่เราสูญเสียทหารไปไม่มากนักในการรบ (ในปีพ.ศ. 2534) แต่สำหรับทหาร 146 นายที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่และสำหรับครอบครัวของพวกเขา มันเป็นสงครามราคาแพง

คำถามในใจผมคือ ซัดดัมมีค่ามากแค่ไหนที่เราจะยอมสูญเสียทหารอเมริกันเพิ่มอีก คำตอบก็คือ ไม่เลย ผมจึงคิดว่าเราควรทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งตอนที่เราตัดสินใจขับไล่เขาออกจากคูเวตและตอนที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วและเราจะไม่ยอมให้มีปัญหาใดจากการพยายามยึดครองอิรักมาหยุดพวกเรา[95]

— ดิก เชนีย์

ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ทหารสหรัฐจำนวน 540,000 นายเริ่มทำการถอนกำลังออกจากอ่าวเปอร์เซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอ่าว http://afa.at/histomun/HISTOMUN2008-Paper-Kuwait.p... http://www.colegioweb.com.br/historia/guerra-do-go... http://www.iraquenewst55.jex.com.br/3+guerra+terro... http://www1.folha.uol.com.br/folha/livrariadafolha... http://www.uel.br/grupo-pesquisa/gepal/segundosimp... http://www.checkpoint-online.ch/CheckPoint/Histoir... http://www.wikileaks.ch/cable/1990/07/90BAGHDAD423... http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/04/... http://www.apnewsarchive.com/1991/Soldier-Reported... http://www.britains-smallwars.com/gulf/Roll.html