ประเพณีและกิจกรรมของนักศึกษา ของ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ทั้งคณะอาจารย์และนักศึกษาให้ค่านิยมกับการประสบความสำเร็จด้วยตน (meritocracy) และความเชี่ยวชาญตามหลักวิชาเฉพาะอย่าง (technical proficiency)[263][264] สถาบันไม่เคยมอบปริญญากิตติมศักดิ์ ไม่เคยให้ทุนการศึกษาเพราะความสามารถทางการกีฬา ไม่เคยให้ปริญญาแบบ ad eundem (เป็นปริญญาให้แก่บุคคลที่สำเร็จการศึกษาปริญญานั้นในสถาบันอื่น) และไม่เคยให้ปริญญาพร้อมกับเกียรตินิยม (เช่นอันดับ 1 อันดับ 2 เป็นต้น)[265] ถึงอย่างนั้น สถาบันก็ยังเคยให้ตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ 2 ตำแหน่งคือ กับนายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิล ในปี ค.ศ. 1949 และกับนักเขียนซัลมัน รัชดี ในปี ค.ศ. 1993[266]

นักศึกษาปี 3 และ ปี 4 และศิษย์เก่า มักจะใส่แหวนรุ่นที่หนัก ใหญ่ มีเอกลักษณ์ ที่เรียกว่า "Brass Rat (หนู[บีเวอร์]ทองเหลือง)"[267][268] โดยมีกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ชื่อทางการของแหวนก็คือ "Standard Technology Ring (แหวนมาตรฐานเทคโนโลยี หมายความว่า แหวนมาตรฐานของเทคคือสถาบัน)"[269] การออกแบบแหวนของนักศึกษาปริญญาตรี (ที่ต่างจากของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา) ต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ จากปีสู่ปี เพื่อสะท้อนถึงประสบการณ์พิเศษที่มีกับสถาบันของนักศึกษารุ่นนั้น แต่จะมีรูปแบบเหมือนกันโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ มีตราของสถาบันและปีจบการศึกษาของนักศึกษาอยู่คนละส่วน ขนาบหน้าสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ตรงกลางที่มีรูปของบีเวอร์อเมริกัน[267]

ส่วนอักษรย่อว่า "IHTFP" ซึ่งย่อคำขวัญไม่เป็นทางการของสถาบันคือ "I Hate This Fucking Place (ไอ้...เอ๊ย กูเกลียดที่นี่มาก)" หรือคำขวัญขำ ๆ อื่น ๆ เช่น "I Have Truly Found Paradise (ฉันได้มาถึงสวรรค์ที่แท้จริงแล้ว)" "Institute Has The Finest Professors (สถาบันมีอาจารย์ที่สุดยอดจริง ๆ)" "It's Hard to Fondle Penguins (มันยากนะที่จะลูบคลำนกเพนกวินด้วยความรัก)" บางครั้งก็จะปรากฏตัวในแหวนบางรุ่นเพราะประวัติความเด่นของคำขวัญนี้ในประเพณีชีวิตของนักศึกษา[270]

กิจกรรมนักศึกษา

จุดเริ่มต้นงานประเพณีประจำปี "งานล่าปริศนาลับ" (MIT Mystery Hunt) ในปี ค.ศ. 2007

MIT มีกลุ่มกิจกรรมนักศึกษากว่า 500 กลุ่มที่สถาบันยอมรับ[271] รวมกิจกรรมของสถานีวิทยุประจำวิทยาเขต WMBR หนังสือพิมพ์นักศึกษา The Tech การแข่งขัน (ชิงทุนธุรกิจ) ประจำปี (MIT $100K Entrepreneurship Competition) และภาพยนตร์ยอดนิยมประจำสัปดาห์โดยกลุ่มนักศึกษา Lecture Series Committee และยังมีกลุ่มกิจกรรมที่ไม่เหมือนคนอื่นรวมทั้งสมาคมนวนิยายวิทยาศาสตร์ MIT (MIT Science Fiction Society) ซึ่งอ้างว่า "มีหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) ในตู้เปิดมากที่สุดในโลก" สโมสรรถไฟจำลอง (model railroad club) และเท็คสแควร์ส (Tech Squares) ซึ่งเป็นสโมสรเต้นรำสไตล์ "modern Western squares" นอกจากนี้แล้ว มีนักศึกษา คณะอาจารย์ และบุคคลากรอื่นที่ทำงานในโปรแกรมเพื่อการศึกษาการกุศลและบริการสาธารณะอื่น ๆ โดยผ่านพิพิธภัณฑ์ MIT, ศูนย์เอ็ดเกอร์ตัน, และศูนย์บริการสาธารณะเอ็มไอที[272]

ช่วงเวลากิจกรรมอิสระ (Independent Activities Period ตัวย่อ IAP) เป็น "ภาคการศึกษา" ระยะเวลา 4 อาทิตย์ ที่มีชั้นวิชา (เลือก) เล็กเช่อร์ นิทรรศการ และกิจกรรมอื่น ๆ เป็นหลายร้อยอย่าง ในเดือนมกราคมซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างภาคการศึกษาฤดูใบไม้ตกและภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิ กิจกรรม IAP ยอดนิยมที่จัดขึ้นบ่อย ๆ รวมทั้ง 6.270 (การแข่งขันหุ่นยนต์มีโครงเป็นเลโก้), 6.370 (การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นหุ่นยนต์สู้กัน), และ MasLab (การแข่งขันหุ่นยนต์ที่อาศัยระบบการเห็น)[273] งานล่าปริศนาลับ (MIT Mystery Hunt) ประจำปี,[274] และโรงเรียนสร้างเสน่ห์ (Charm School)[275][276]

นักศึกษามากกว่า 250 คนทำงานในช่วงเวลาอิสระ (ในระบบ externship) กับบริษัททั้งในสหรัฐทั้งต่างประเทศทุก ๆ ปี ซึ่งบางครั้งอาจจะนำไปสู่งานในช่วงปิดเทอม (ในระบบ internship) และแม้แต่งานจริง ๆ หลังจากจบการศึกษาแล้ว[277][278]

  • hackings ที่ MIT
  • ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร 7 กับ 9 กลับกลายเป็นกำแพงที่ไวลี อี. ไคโยตี วิ่งชนจนตัวแบน
  • ยานจอดดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล 10 บนยอดมหาโดม
  • ห้องนั่งเล่นตีลังกายึดไว้กับประติมากรรมข้างหน้ามีเดียแล็บ

นักศึกษาหลายพวกยังร่วมทำวีรกรรมทีเรียกว่า "hacking" ซึ่งหมายถึงการลอบเข้าไปสำรวจเขตต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ที่ปกติไม่เปิดให้เข้าถึง (เช่นบนหลังคาหรือในอุโมงค์ส่งไอน้ำ) หรือการเล่นตลกที่ค่อนข้างซับซ้อน (เช่นเอารถตำรวจที่มีสัญญาณไฟที่ใช้ได้ไปไว้บนหลังคามหาโดม พร้อมกับตุ๊กตาคุณตำรวจที่มีถ้วยกาแฟและกล่องโดนัทอยู่ใกล้ ๆ)[279][280] งาน hack ที่เด่นเร็ว ๆ นี้ก็คือ

  • การลักเอาปืนใหญ่มีอายุ 130 ปี ขนาด 1.7 ตัน ของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเท็คเป็นสถาบันคู่แข่งในเมืองแพซาดีนาอยู่อีกฝั่งหนึ่งของทวีปทางทิศตะวันตก) มาตั้งไว้ที่วิทยาลัยเขตในปี ค.ศ. 2006[281]
  • งานสร้างใหม่ซึ่งเครื่องบินยนต์ลำแรกของโลกที่สร้างโดยสองพี่น้องไรต์ โดยนำไปไว้บนหลังคามหาโดม[282]
  • การประดับรูปปั้นของบาทหลวงจอห์น ฮาร์วาร์ด ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดด้วยหมวกแบบสปาร์ตันของพระเอกในเกมคอมพิวเตอร์ชุด Halo ชื่อว่า Master Chief Petty Officer John-117[283]

ทีมกีฬา

ศูนย์กีฬา Zesiger sports and fitness center เป็นศูนย์ออกกำลังกายสองชั้น มีสระสำหรับว่ายน้ำและสำหรับกระโดดน้ำ

MIT สนับสนุนทีมแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัย 31 ทีม ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดว่ากว้างขวางโปรแกรมหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยที่มีทีมกีฬาระดับ NCAA ภาค 3 (เป็นภาคที่ไม่ให้ทุนการศึกษาเนื่องกับกีฬาของสมาคมกีฬาวิทยาลัยแห่งชาติ [National Collegiate Athletic Association ตัวย่อ NCAA])[284][285] ทีมของ MIT

  • แข่งขันในกลุ่มต่าง ๆ ของ NCAA ภาค 3 คือ กลุ่มแข่งกีฬาชายหญิงเขตนิวอิงแลนด์ (New England Women's and Men's Athletic Conference), กลุ่มอเมริกันฟุตบอลเขตนิวอิงแลนด์ (New England Football Conference), และ Pilgrim League สำหรับกีฬา lacrosse ทีมผู้ชาย
  • แข่งขันในกลุ่มต่าง ๆ ของ NCAA ภาค 1 คือ สมาคมวิทยาลัยพายเรือหญิงเขตตะวันออก (Eastern Association of Women's Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือหญิง และสมาคมวิทยาลัยโปโลน้ำ (Collegiate Water Polo Association) สำหรับนักโปโลชาย
  • และแข่งขันในกลุ่มนอก NCAA คือ สมาคมวิทยาลัยพายเรือเขตตะวันออก (Eastern Association of Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือชาย

ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2009 การตัดงบประมาณมีผลให้สถาบันยกเลิกทีมกีฬา 8 ทีม (จากตอนนั้น 41) รวมทั้งทีมสกีรวมชายหญิง ทีมยิงปืนสั้นรวมชายหญิง ทีมชายและทีมหญิงในกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งและกีฬายิมนาสติก และทีมชายในกีฬากอล์ฟและมวยปล้ำ[286][287]

ทีมกีฬาของสถาบันเรียกว่า "เดอะเอ็นจิเนียร์ส" (the Engineers) โดยมีสัตว์ประจำทีมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 เป็นบีเวอร์อเมริกัน ซึ่งเป็น "วิศวกรโดยธรรมชาติ (เพราะสร้างเขื่อน)" เล็สเตอร์ การ์ดเรอร์ ศิษย์รุ่น ค.ศ. 1898 ให้เหตุผลว่า

ตราสัญลักษณ์กีฬาของ MIT

บีเวอร์ไม่ใช่เพียงแค่เป็นตัวแทนของสถาบัน แต่นิสัยของเขาเหมือนกับของพวกเรา คือบีเวอร์เป็นที่รู้จักกันดีเพราะทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์และกลศาสตร์ และเพราะนิสัยที่ขยันขันแข็งนอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นสัตว์กลางคืน ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมืดแล้ว[288]

MIT ยังส่งทีมแข่งขันระดับมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเกม "Tiddlywinks" ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้ชัยชนะทั้งในระดับชาติและระดับโลก[289] MIT ยังเป็นแหล่งกำเนิดนักกีฬาถึง 188 คน ที่ได้รับเกียรติว่า "All-Americans" ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดลำดับ 3 ของสถาบันทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของ NCAA และเป็นจำนวนมากที่สุดในภาค 3[285]

ศูนย์ Zesiger sports and fitness center (สั้น ๆ ว่า Z-Center) ซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 2002 ได้ขยายสมรรถภาพและคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อนักกีฬา พละศึกษา และการพักผ่อนหย่อนคลาย รวมเป็นอาคาร 10 อาคารและสนามกีฬาเป็นพื้นที่ 66 ไร่ ศูนย์ Z-Center มีพื้นที่ 11,520 ต.ร.ม. มีสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก สนามเล่นกีฬา squash ขนาดสากล และศูนย์ออกกำลังกาย 2 ชั้น[285]

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ http://scitech.people.com.cn/GB/10294899.html http://news.163.com/09/1031/17/5MVIKNT90001124J.ht... http://www.american-school-search.com/safety/massa... http://www.bbc.com/news/business-29086590 http://www.bloomberg.com/news/2011-03-10/harvard-m... http://www.boston.com/lifestyle/articles/2008/07/1... http://www.boston.com/news/education/higher/articl... http://www.boston.com/news/globe/magazine/articles... http://www.boston.com/news/globe/magazine/articles... http://www.boston.com/news/local/articles/2007/02/...