หลายแง่คิดเกี่ยวกับสนธิสัญญาแวร์ซาย ของ สนธิสัญญาแวร์ซาย

ในหนังสือ The Economic Consequences of the Peace ของ จอห์น เมย์เนิร์ด เคนส์ ได้กล่าวถึงสนธิสัญญาแวร์ซายไว้ว่าเป็น สันติภาพคาร์เธจ[6] การวิเคราะห์ดังกล่าวได้รับการโต้แย้งจากนักเศรษฐศาสตร์ของกองทัพเสรีฝรั่งเศส ชื่อว่า Étienne Mantoux ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 เขาได้เขียนหนังสือชื่อว่า The Carthaginian Peace, or the Economic Consequences of Mr. Keynes ในความพยายามดังกล่าว โดยหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว

เมื่อถึงเร็ว ๆ นี้ได้มีการโต้เถียงกัน (จากแนวคิดของเจอร์ฮาร์ด เวนเบิร์ก นักประวัติศาสตร์ ในหนังสือ A World At Arms[50]) ว่า สนธิสัญญาแวร์ซายนั้นในความเป็นจริงแล้ว เอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายเยอรมนีเสียด้วยซ้ำ เพราะว่า Bismarckian Reich ยังคงเป็นหน่วยการเมืองแทนที่จะล่มสลายไป และทำให้เยอรมนีรอดพ้นจากการถูกยึดครองทางทหารครั้งใหญ่ (ซึ่งผิดกับผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง)

นักประวัติศาสตร์การทหารชาวอังกฤษ คอร์เรลลี บาร์เนตต์ กล่าวว่า สนธิสัญญาแวร์ซาย "เป็นความกรุณาอย่างสูงแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับเงื่อนไขแห่งสันติภาพของเยอรมนี เมื่อเยอรมนีปรารถนาที่จะชนะสงคราม และมีจิตใจที่จะบังคับฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่แล้ว" นอกเหนือจากนั้น เขายังกล่าวว่า "เป็นการตบหน้าด้วยข้อมือ" เมื่อเปรียบเทียบสนธิสัญญาแวร์ซายกับสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ซึ่งเยอรมนีบังคับเอาดินแดนจากรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคม 1918 คิดเป็นประชากรกว่าหนึ่งในสามของรัสเซีย (นับเฉพาะเชื้อชาติรัสเซียแท้) อุตสาหกรรมกว่าครึ่ง และเหมืองถ่านหินกว่าเก้าในสิบ พร้อมกับค่าปฏิกรรมสงครามกว่าหกพันล้านมาร์ก[51]

บาร์เนตต์ยังบอกอีกว่า เยอรมนีอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าทางยุทธศาสตร์จากสนธิสัญญาแวร์ซาย มากกว่าเมื่อปี ค.ศ. 1914 เสียอีก[52] ในตอนนั้น ชายแดนด้านตะวันออกของเยอรมนีติดกับพรมแดนรัสเซียและออสเตรีย ซึ่งทั้งสองเป็นผู้คานอำนาจของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีถูกแบ่งแยก และรัสเซียก็ได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติและสงครามกลางเมือง จนประสบความอ่อนแอ และรัฐโปแลนด์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่มีอำนาจพอที่จะโจมตีเยอรมนีได้เลย

ทางตะวันตก อำนาจเยอรมนีคานกับอำนาจของฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม ทั้งสองมีประชากรน้อยกว่าและมีเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า เบอร์เนตต์ได้สรุปว่า แทนที่จะเป็นการทำให้เยอรมนีอ่อนแอ สนธิสัญญาดังกล่าวกลับเป็นการ "ส่งเสริม" อำนาจของเยอรมนี[52] บาร์เนตต์กล่าวว่าอังกฤษและฝรั่งเศสควรจะ "แบ่งแยกและทำให้อ่อนแอตลอดกาล" โดยการลบล้างผลงานของบิสมาร์ก และแบ่งแยกเยอรมนีให้เป็นรัฐขนาดเล็กที่อ่อนแอ เพื่อที่จะได้รักษาสันติภาพในทวีปยุโรป[53] และเมื่อทำไม่สำเร็จแล้ว มันก็มิได้เป็นการแก้ปัญหาอำนาจของเยอรมนีและฟื้นฟูความสงบของทวีปยุโรป อังกฤษนั้น "ได้ประสบความล้มเหลวในการมีส่วนร่วมมีบทบาทในสงครามอันยิ่งใหญ่"[54]

นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เรย์มอนด์ คาเทียร์ได้ชี้ว่ามีชาวเยอรมันที่อยู่ในซูเตเดนแลนด์ และโปเซน-ปรัสเซียตะวันตก ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมของศัตรู ซึ่งถูกจำกัดและลิดรอนสิทธิอยู่เสมอ[24] เขายืนยันว่ามีชาวเยอรมันกว่า 1,058,000 คนในแคว้นโปเซน-ปรัสเซียตะวันตก ในปี ค.ศ. 1921 และกว่า 758,867 คนได้หลบหนีออกจากโปแลนด์ในเวลาภายในห้าปีหลังจากนี้[24] ในปี ค.ศ. 1926 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของโปแลนด์ได้ประมาณการว่ามีชาวเยอรมันอาศัยอยู่ในโปแลนด์อยู่ไม่เกิน 300,000 คน ความขัดแย้งทางเชื้อชาติอันรุนแรงเช่นนี้ได้นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการผนวกดินแดนในปี ค.ศ. 1938 และฮิตเลอร์ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการผนวกเชโกสโลวาเกีย และบางส่วนของโปแลนด์[24]

"2008 School Project History" ได้สำรวจถึงคำถามที่ว่าเยอรมนีที่พรรณนาว่า "ยอมรับผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย" ในตำราเรียนประวัติศาสตร์ของเยอรมนีหลายเล่ม ซึ่งเป็นการสร้างความรู้สึกว่าผู้แทนเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายอย่างอิสระ มากกว่าที่จะอยู่ภายใต้แรงกดดันจากภายนอก[55][56] [57] [58]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนธิสัญญาแวร์ซาย http://www.foundingdocs.gov.au/item.asp?dID=23 http://www.ashatteredpeace.com http://www.baanjomyut.com/library/treaty/treaty4.h... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/1010/03/fzg... http://www.exulanten.com/cr2.html http://www.firstworldwar.com/source/versailles.htm http://books.google.com/books?id=hXaJLfcIBuoC http://video.google.com/videoplay?docid=7176252790... http://www.imdb.com/title/tt0441912/ http://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=940...