ผลที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาแวร์ซาย ของ สนธิสัญญาแวร์ซาย

ฝ่ายสัมพันธมิตร

เฮนรี คาบอท ลอดจ์ สมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งมีความเห็นคัดค้านเนื้อหาของสนธิสัญญาแวร์ซาย

ประธานาธิบดีเกลม็องโซแห่งฝรั่งเศสประสบความล้มเหลวที่ไม่อาจทำตามความต้องการของชาวฝรั่งเศสได้ และต้องพ้นตำแหน่งไปหลังจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1920 ส่วนจอมพลแห่งฝรั่งเศส แฟร์ดีน็อง ฟ็อช ได้แสดงความคิดเห็นออกมาว่า การจำกัดความสามารถของเยอรมนีนั้นเป็นความกรุณามากเกินไป "นี่ไม่ใช่สันติภาพ แต่เป็นสนธิสัญญาพักรบที่มีอายุยี่สิบปีเท่านั้น"[39]

ตรงกันข้ามกับความคิดเห็นที่แตกต่างของเฮนรี คาบอท ลอดจ์ วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ได้ลงมติปฏิเสธที่จะอนุมัติสนธิสัญญาดังกล่าว แม้ว่าจะมีการโต้วาทีครั้งสำคัญก็ตาม ประธานาธิบดีวิลสันได้ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนแก่สนธิสัญญาแวร์ซายเช่นกัน[40] ผลที่ตามมา คือ สหรัฐอเมริกามิได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของสันนิบาติชาติ แม้ว่าประธานาธิบดีวิลสันจะอ้างว่าเขาสามารถ "ทำนายด้วยความมั่นใจเกือบเต็มร้อยว่าในอีกชั่วอายุคนหนึ่งจะมีสงครามโลกเกิดขึ้นอีกครั้ง ถ้าหากประชาชาติไม่ได้ประสานงานกันป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น"[41]

เพื่อนของประธานาธิบดีวิลสัน ชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด แมนเดล เฮาส์ ได้เขียนไว้ในบันทึกส่วนตัวของเขาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1919 ไว้ว่า:

"ผมกำลังออกจากกรุงปารีส หลังจากผ่านช่วงเวลาอันสำคัญนานแปดเดือนด้วยอารมณ์ที่สับสน เมื่อได้มองดูที่ประชุมในห้วงความทรงจำของผม มีหลายสิ่งที่น่ายินดีและหลายสิ่งที่น่าเสียใจ มันเป็นการง่ายมากที่จะกล่าวว่าอะไรควรจะเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่กลับหาทางที่จะลงมือทำอย่างแท้จริงได้ยากยิ่งนัก สำหรับผู้ที่คิดว่าสนธิสัญญานี้เป็นสิ่งที่เลวร้ายและไม่สมควรที่จะถือกำเนิดขึ้นมาเลย และบอกว่ามันจะมีผลเกี่ยวพันถึงทวีปยุโรปในความยุ่งยากไม่สิ้นสุดจากผลของมัน ผมจะมีความรู้สึกเห็นด้วยกับคนคนนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ผมก็จะตอบแก่เขาว่าจักรวรรดิไม่สามารถถูกทำลายลงได้ และรัฐแห่งใหม่ที่เจริญขึ้นมาจากเศษซากของจักรวรรดิเก่าโดยปราศจากความไม่สงบ ความพยายามใด ๆ ที่จะสร้างเขตแดนแห่งใหม่ขึ้นย่อมหมายถึงการก่อปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่มีวันหมดสิ้น ขณะที่ผมควรจะหันไปทางสันติภาพที่แตกต่าง ผมก็สงสัยเป็นอันมากว่ามันจะทำได้จริงหรือ เพราะส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องการในการสร้างสันติภาพขึ้นมานี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นในกรุงปารีสแห่งนี้เลย"[42]

หลังจากที่ผู้แทนของประธานาธิบดีวิลสัน วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง ได้ทำการต่อต้านแนวคิดสันนิบาตชาติต่อไป วุฒิสภาได้ผ่านมติน็อกซ์-พอร์เตอร์ (อังกฤษ: Knox-Porter Resolution) ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและฝ่ายมหาอำนาจกลางอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1921[43]

ประเทศเยอรมนี

ดูเพิ่มเติมที่: ตำนานแทงข้างหลัง

เมื่อวันที่ 29 เมษายน คณะผู้แทนเยอรมนีภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อูริก กราฟ วอน บรอกดอร์ฟฟ์-รันเซา ได้เดินทางมาถึงที่ประชุมแวร์ซาย ในวันที่ 7 พฤษภาคม เมื่อเขาได้เห็นเงื่อนไขที่ผู้ชนะกำหนดขึ้นมานั้น รวมไปถึง "อนุประโยคความผิดฐานเป็นผู้ริเริ่มสงคราม" แล้ว เขาได้ตอบแก่ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในที่ประชุมว่า "เราได้รับทราบถึงความเกลียดชังรุนแรงที่เราได้เผชิญ ณ ที่แห่งนี้ พวกท่านต้องการให้เรายอมรับว่าเราเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ผิดในสงครามครั้งนี้ การยอมรับของข้าพเจ้าก็จะเป็นแค่เพียงคำโกหกเท่านั้น"[44]

ชาวเยอรมันมารวมตัวกันหน้ารัฐสภาไรซ์ตาร์กเพื่อต่อต้านการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย

เพราะว่าเยอรมนีไม่มีส่วนใด ๆ ในการเข้าร่วมประชุม รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีจึงยื่นคำร้องประท้วงต่อข้อเรียกร้องอันไม่เป็นธรรม และ "การทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ"[45] และยกเลิกการเดินหน้าการประชุมแวร์ซายในเวลาไม่นานหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีเยอรมนีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ฟีลิพพ์ ไชเดมันน์ ได้ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายและถอนตัวออก และในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1919 เขาได้เรียกสนธิสัญญาดังกล่าวว่าเป็น "แผนการสังหาร" และเปล่งเสียงออกมาว่า:

"มือที่พยายามจะจับเราล่ามโซ่จะไม่ร่วงโรยหรือ สนธิสัญญานี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้"[46]

ภายหลังจากการถอนตัวของไชเดมันน์ รัฐบาลผสมใหม่ของเยอรมนีภายใต้การนำของ กุสตาฟ เบาเออร์ มีความจำเป็นที่จะต้องลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ที่ประชุมแห่งชาติไวมาร์ได้ลงคะแนนเสียง โดยคะแนนเสียงให้ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายชนะไป 237 ต่อ 138 เสียง รวมทั้งไม่ลงคะแนน 5 เสียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เฮอร์มันน์ มึลเลอร์ และ โจฮานเนส เบล เป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญา สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 และได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ด้วยคะแนนเสียง 209 ต่อ 116[47]

พวกอนุรักษนิยม พวกชาตินิยม และนายทหารนอกประจำการได้เริ่มต้นการพูดคุยอย่างฉุกเฉินเกี่ยวกับสันติภาพ และพวกนักการเมือง พวกสังคมนิยม พวกคอมมิวนิสต์ และชาวยิวถูกจับตามอง เนื่องจากว่ามีความเห็นโอนเอียงไปหาต่างประเทศ รวมทั้งยังมีข่าวลือออกมาว่า พวกเขาเหล่านี้ไม่สนับสนุนสงคราม และขายชาติให้กับศัตรู สมาชิกขององค์การไซออนโลกได้พยายามที่จะชักจูงนโยบายของรัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกาให้มุ่งไปยังจักรวรรดิออตโตมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชะตากรรมของปาเลสไตน์ และกลายมาเป็น การประชุมสันติภาพปารีส[48] พวกอาชญากรเดือนพฤศจิกายน(อังกฤษ: November Criminals) หรือ ผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศเยอรมนีที่กำลังอ่อนแอ และสาธารณรัฐไวมาร์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งถูกมองว่าเป็น "ผู้แทงข้างหลัง" จาก แนวหน้าที่บ้าน โดยวิจารณ์ลัทธิชาตินิยมของชาวเยอรมัน หรือไม่ก็ยุยงให้เกิดการจลาจลและการประท้วงหยุดงานในอุตสาหกรรมทางทหารที่สำคัญ หรือ การลักลอบขายสินค้าราคาแพง โดยแนวคิดดังกล่าวมีผู้เชื่อว่าเป็นความจริงจำนวนมาก เพราะว่าหลังจากที่เยอรมนียอมจำนนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองทัพเยอรมันส่วนมากยังคงอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม ไม่เท่านั้น ทางแนวรบด้านตะวันออกก็ได้รับชัยเหนือจักรวรรดิรัสเซีย และมีการบังคับใช้สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ และทางด้านตะวันตก กองทัพเยอรมันก็เกือบจะเอาชนะสงครามได้ในการรุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ความล้มเหลวทำให้เกิดการประท้วงในอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ ทำให้ทหารเยอรมันมียุทธสัมภาระที่ไม่เพียงพอ การประท้วงดังกล่าวได้รับการยุยงจากพวกกบฏ โดยพวกยิวได้รับการตราหน้ามากที่สุด การมองข้ามตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีทำให้แนวหน้าต้องประสบกับความพ่ายแพ้ในที่สุด

ตำนานแทงข้างหลังได้รับความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันจากพรรคการเมืองตั้งแต่ฝ่ายซ้ายจัดไปจนถึงฝ่ายขวาจัด เนื่องจากเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายถูกมองว่า ไม่อาจยอมรับได้

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนธิสัญญาแวร์ซาย http://www.foundingdocs.gov.au/item.asp?dID=23 http://www.ashatteredpeace.com http://www.baanjomyut.com/library/treaty/treaty4.h... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/1010/03/fzg... http://www.exulanten.com/cr2.html http://www.firstworldwar.com/source/versailles.htm http://books.google.com/books?id=hXaJLfcIBuoC http://video.google.com/videoplay?docid=7176252790... http://www.imdb.com/title/tt0441912/ http://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=940...