ข้อมูลขัดแย้งและทัศนคติปัจจุบัน ของ สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

การทดลองที่ทำกันมาในทศวรรษที่แล้วนำทางให้เห็นว่า การทำงานของคอร์เทกซ์สายตานั้น ซับซ้อนกว่าแบบที่แยกหน้าที่ออกเป็นสองทาง[7] การศึกษาหลักฐานที่สนับสนุนแบบของสมมุติฐานในปี พ.ศ. 2553 สรุปว่าแม้ว่าการแบ่งเป็นสองหน้าที่ยังปรากฏว่าใช้ได้ แต่ความเป็นอิสระจากกันและกันของทางสัญญาณทั้งสองนั้นไม่มีเหมือนดังที่กล่าวไว้[8]

ดังนั้น ทัศนคติที่เกิดใหม่ในศาสตร์ของประสาทจิตวิทยาและประสาทสรีรวิทยาก็คือ แม้ว่าแบบทางสัญญาณสองทางจะเป็นความก้าวหน้าทางทฤษฎีที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยหน้าที่ที่ซับซ้อนและแตกต่างของทางสัญญาณทั้งสอง แต่ความเป็นไปจริง ๆ ในคอร์เทกซ์สายตาก็คือ น่าจะมีการทำงานร่วมกันอย่างสำคัญระหว่างระบบสายตาเพื่อการกระทำและระบบสายตาเพื่อการรับรู้ ดังที่ ร็อบ แม็คอินทอช และโทมัส เชงค์ ได้สรุปความคิดนี้ว่า

พวกเราไม่ควรพิจารณาแบบนี้โดยความเป็นสมมุติฐานจริง ๆ แต่พึงพิจารณาโดยความเป็นวิธีการศึกษา (Heuristics) ใช้ในการแนะแนวงานทดลองที่ควรจะทำและทฤษฎีที่ควรจะมี เพราะว่า การรู้จำทางตาและการชี้แนวการกระทำใช้ข้อมูลทางตาที่แตกต่างกัน การที่ทางสัญญาณด้านบนและทางสัญญาณด้านล่างมีกิจเฉพาะทางจึงยังเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ แต่ว่า เพื่อที่จะพัฒนาความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นไป เราอาจจะต้องทิ้งความคิดว่าทางสัญญาณเหล่านี้ทำงานเป็นอิสระจากกันและกันโดยมาก และกลับมาศึกษารายละเอียดว่า เขตคอร์เทกซ์สายตาที่มีมากมายหลายเขตนั้นมาประสานกันเป็นเครือข่ายใหม่ ๆ เพื่อทำกิจต่าง ๆ กัน จากงานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่งได้อย่างไร[8]:62

ใกล้เคียง

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 1) สมมุติว่า..? สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 2) สมมุติฐานเฉพาะกิจ สมมุติฐานว่าง สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม สมมุติฐาน สมมุติสงฆ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1374953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18037456 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19428404 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7552179 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9751656 //doi.org/10.1016%2F0166-2236(92)90344-8 //doi.org/10.1016%2FS0959-4388(98)80042-1 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822(95)00133-3 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2007.10.005 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2009.02.009