ทางสัญญาณด้านล่าง ของ สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

ทางสัญญาณด้านล่าง (Ventral stream) เกี่ยวข้องกับการรู้จำอารมณ์ (Object recognition) และการเป็นตัวแทนรูปร่าง (Form representation) มีการเชื่อมต่อกับ

ทางสัญญาณด้านล่างได้รับสัญญาณเข้าจากชั้น Parvocellular[lower-roman 4]ของ LGN ในทาลามัส นิวรอนใน LGN ส่งสัญญาณไปในชั้นย่อย 4Cβ, 4A, 3B และ 2/3a[6] ของ V1 จากนั้น ผ่าน V2 และ V4 ไปยังเขตต่าง ๆ ในสมองกลีบขมับด้านล่าง คือ

  • PIT (Posterior inferotemporal)
  • CIT (Central inferotemporal)
  • AIT (Anterior inferotemporal)

เขตสายตาแต่ละเขตประกอบด้วยแผนที่ของโลกในการเห็นทั้งหมดของตนเอง คือในแต่ละเขต มีนิวรอนเมื่อรวม ๆ กันมีลานรับสัญญาณ (Receptive field) รวมกันที่รองรับสัญญาณจากลานสายตาได้ทั้งหมด[lower-roman 5] ข้อมูลสายตาเข้ามาในทางสัญญาณด้านล่างผ่าน V1 และดำเนินไปสู่เขตที่เหลือตามลำดับ

เมื่อสำรวจดูนิวรอนที่อยู่ในทางสัญญาณไปตามลำดับเขตจาก V1 จนถึง AIT จะพบว่า นิวรอนจะมีลานรับสัญญาณที่ใหญ่ขึ้น มีการตอบสนองที่ช้าลง และมีการเลือกตัวกระตุ้น[lower-roman 6] (Tuning) ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

เขตสายตาทั้งหมดในทางสัญญาณด้านล่างนอกจากจะมีปฏิกิริยาต่อตัวกระตุ้นที่อยู่ในลานรับสัญญาณของตนแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากเหตุอื่นนอกเหนือจากสัญญาณจากจอสายตา (Extraretinal factors) รวมทั้ง

  • การใส่ใจ
  • ความจำชั่วคราว (Working memory)[lower-roman 7]
  • ความเด่นหรือความชัดเจน (Salience) ของตัวกระตุ้น

ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทางสัญญาณด้านล่างไม่เพียงแต่พรรณนาถึงวัตถุต่าง ๆ ในโลกของการเห็นเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการตัดสินความสำคัญของวัตถุเหล่านั้นด้วย

ใกล้เคียง

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 1) สมมุติว่า..? สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 2) สมมุติฐานเฉพาะกิจ สมมุติฐานว่าง สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม สมมุติฐาน สมมุติสงฆ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1374953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18037456 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19428404 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7552179 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9751656 //doi.org/10.1016%2F0166-2236(92)90344-8 //doi.org/10.1016%2FS0959-4388(98)80042-1 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822(95)00133-3 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2007.10.005 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2009.02.009