ทางสัญญาณด้านบน ของ สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

ทางสัญญาณด้านบน (Dorsal stream) มีบทบาทในการชี้นำการกระทำและในการจำแนกว่าวัตถุอยู่ที่ไหนในปริภูมิ มีชื่ออื่นอีกว่า

  • ทางสัญญาณสมองด้านข้าง (Parietal stream)
  • ทางสัญญาณบอกว่าที่ไหน (Where stream)
  • ทางสัญญาณบอกว่าอย่างไร (How stream)

ทางสัญญาณนี้ไปจากคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (V1) ในสมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ขึ้นไปถึงสมองกลีบข้าง (Parietal lobe) และมีการเชื่อมต่อกับทางสัญญาณด้านล่าง (ทางสัญญาณบอกว่าอะไร) ซึ่งไปจาก V1 ลงไปถึงสมองกลีบขมับ (Temporal lobe)

คุณลักษณะทั่วไป

ทางสัญญาณด้านบนมีบทบาทในการรู้จำปริภูมิ (Spatial recognition) และในการชี้นำการกระทำเช่นการเอื้อม ลักษณะหน้าที่ของทางสัญญาณนี้มี 2 อย่างคือ มีแผนที่อย่างละเอียดของลานสายตา และมีความสามารถในการตรวจพบและวิเคราะห์การเคลื่อนไหว เขตสมองในทางสัญญาณนี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันเริ่มตั้งแต่การประมวลผลสายตาพื้นฐานในสมองกลีบหลังจนไปถึงการรับรู้ปริภูมิในสมองกลีบข้าง

สมองกลีบข้างด้านหลังนั้นขาดไม่ได้ในการรับรู้และการเข้าใจ

  • ปริภูมิ
  • ขอบเขตของร่างกายในปริภูมิ
  • การเรียนรู้ทักษะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย[5]

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความเสียหายหรือมีรอยโรค

ความเสียหายต่อสมองกลีบข้างด้านหลังก่อให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้ปริภูมิรวมทั้ง

  • Simultanagnosia คือ คนไข้สามารถพรรณนาวัตถุเดียว โดยไม่สามารถจะเห็นวัตถุนั้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุหลาย ๆ อย่างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน (เช่น เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า)
  • Optic ataxia คือ ไม่สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปริภูมิทางตาเพื่อจะชี้นำการเคลื่อนไหวแขนเช่น ไม่สามารถเอื้อมแขนไปหยิบจับวัตถุได้
  • Hemispatial neglect คือ ไม่มีการรับรู้ในปริภูมิในด้านตรงข้ามกับสมองที่เสียหาย (คือถ้าสมองเสียหายด้านขวา ความผิดปกติจะอยู่ทางด้านซ้ายของคนไข้) ตัวอย่างเช่น วาดรูปนาฬิกามีตัวเลข 12, 1, 2, ..., 6 แล้วก็หยุด และเข้าใจว่ารูปสมบูรณ์แล้ว คือไม่มีการรับรู้ถึงตัวเลขทางด้านซ้าย
  • Akinetopsia คือ ไม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหว เห็นโลกเป็นฉาก ๆ เป็นเฟรม ๆ
  • Apraxia คือ ไม่สามารถที่จะขยับกายได้ตามความต้องการแม้ว่าจะไม่มีความผิดปกติในกล้ามเนื้อ

ใกล้เคียง

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 1) สมมุติว่า..? สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 2) สมมุติฐานเฉพาะกิจ สมมุติฐานว่าง สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม สมมุติฐาน สมมุติสงฆ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1374953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18037456 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19428404 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7552179 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9751656 //doi.org/10.1016%2F0166-2236(92)90344-8 //doi.org/10.1016%2FS0959-4388(98)80042-1 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822(95)00133-3 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2007.10.005 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2009.02.009