หน้าที่ของไต ของ สรีรวิทยาไต

หน้าที่ของไตสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ การหลั่งฮอร์โมน การสร้างกลูโคส (gluconeogenesis) และภาวะธำรงดุลนอกเซลล์ของ pH และองค์ประกอบของเลือด หน่วยไตเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ของไต

การหลั่งฮอร์โมน

การสร้างกลูโคส

ไตในมนุษย์สามารถผลิตกลูโคสได้จากแลกเตด กลีเซอรอลและกลูตามีน ไตรับผิดชอบการสร้างกลูโคสเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในมนุษย์ที่อดอาหาร การกำกับการผลิตกลูโคสในไตเป็นฤทธิ์ของอินซูลิน แคตีโคลามีนและฮอร์โมนอื่น การสร้างกลูโคสของไตเกิดขึ้นในไตส่วนนอก ส่วนไตส่วนในไม่สามารถผลิตกลูโคสได้เนื่องจากขาดเอ็นไซม์ที่จำเป็น

ภาวะธำรงดุลนอกเซลล์

ไตรับผิดชอบต่อการรักษาสมดุลของสารต่อไปนี้

สารคำอธิบายหลอดไตส่วนต้นห่วงเฮนเลหลอดไตส่วนปลายท่อรวม
กลูโคสหากกลูโคสไม่ถูกไตดูดซึมกลับ กลูโคสจะปรากฏในปัสสาวะ เป็นภาวะปัสสาวะมีน้ำตาล ซึ่งสัมพันธ์กับเบาหวาน[1]การดูดซัมกลับ (เกือบ 100%) ผ่าน โปรตีนขนส่งโซเดียม-กลูโคส[2] (ยอด) และ GLUT (ฐานข้าง)
โอลิโกเปปไทด์, โปรตีน, และกรดอะมิโนทั้งหมดถูกดูดซึมกลับแทบทั้งหมด[3]การดูดซึมกลับ
ยูเรียการกำกับออสโมแลลิตี แปรผันตาม ADH[4][5]การดูดซึมกลับ (50%) โดย การลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงานการหลั่งการดูดซึมกลับในท่อรวมส่วนนอก
โซเดียมใช้ แอนตีพอร์ต Na-H, ซิมพอร์ต Na-กลูโคส, ช่องไอออนโซเดียม (เล็กน้อย)[6] การดูดซึมกลับ (65%, ออสโมลเสมอ)การดูดซึมกลับ (25%, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl)การดูดซึมกลับ (5%, ซิมพอร์ตโซเดียม-คลอไรด์)การดูดซึมกลับ (5%, เซลล์พรินซิพอล), กระตุ้นโดย อัลโดสเตอโรน ผ่าน ENaC
คลอไรด์มักตามโซเดียม ใช้พลังงาน (ผ่านเซลล์) และไม่ใช้พลังงาน (ข้างเซลล์) [6]การดูดซึมกลับการดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นบาง, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl)การดูดซึมกลับ (ซิมพอร์ตโซเดียม-คลอไรด์)
น้ำใช้ช่องน้ำเอควาพอริน ดูเพิ่มที่ การขับปัสสาวะการดูดตามออสโมติกร่วมกับสารละลายการดูดซึมกลับ (ส่วนลง)การดูดซึมกลับ (กำกับโดย ADH ผ่าน ตัวรับอาร์จินีนวาโซเพรสซิน 2)
ไบคาร์บอเนตช่วยรักษาสมดุลกรด-เบส[7]การดูดซึมกลับ (80–90%) [8]การดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา) [9]การดูดซึมกลับ (เซลล์แทรก ผ่าน แบนด์ 3 และ เพนดริน)
โปรตอนใช้ โปรตอนเอทีพีเอสช่องว่างการหลั่ง (เซลล์แทรก)
โพแทสเซียมแปรผันตามความต้องการอาหารการดูดซึมกลับ (65%)การดูดซึมกลับ (20%, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl)การหลั่ง (พบมาก, ผ่าน Na+/K+- เอทีพีเอส, เพิ่มขึ้นโดย อัลโดสเตอโรน), หรือการดูดซึมกลับ (พบน้อย, ไฮโดรเจนโพแทสเซียมเอทีพีเอส)
แคลเซียมใช้แคลเซียมเอทีพีเอส, ตัวแลกโซเดียม-แคลเซียมการดูดซึมกลับการดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา) ผ่านการลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงานการดูดซึมกลับสนองต่อ PTH และ ↑ การดูดซึมกลับด้วยยาขับปัสสาวะไทอะไซด์
แมกนีเซียมแคลเซียมและแมกนีเซียมแย่งกัน และส่วนเกินของธาตุหนึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งอีกธาตุหนึ่งการดูดซึมกลับการดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา)การดูดซึมกลับ
ฟอสเฟตขับออกในรูปกรดไทเทรตได้การดูดซึมกลับ (85%) โดย ตัวส่งร่วมโซเดียม/ฟอสเฟต[2] ยับยั้งโดย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์
คาร์บอกซิเลตการดูดซึมกลับ (100%[10]) ผ่าน ตัวส่งคาร์บอกซิเลต

แหล่งที่มา

WikiPedia: สรีรวิทยาไต http://www2.kumc.edu/ki/physiology/course/six/6_1.... http://web.archive.org/web/20070219065040/http://l... http://web.archive.org/web/20070715121612/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w... http://web.archive.org/web/20070715122822/http://w...