การใช้ในการทำอาหาร ของ สาหร่ายพวงองุ่น

Caulerpa lentillifera เช่นเดียวกันกับ C. racemosa เป็นอาหารดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และเอเชียตะวันออก มักจะกินทั้งอย่างนั้นหรือกินในสลัด[8] คนที่ทานมักระบุว่าสาหร่ายพวงองุ่นมีรสชาติ "เหมือนมหาสมุทร" นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยไอโอดีน[9]

ในฟิลิปปินส์ สาหร่ายพวงองุ่นมักรู้จักกันในชื่อ latô หรือ arosep มักจะรับประทานดิบโดยทำเป็นสลัด (ensaladang lato) หลังจากชะล้างสาหร่ายพวงองุ่นด้วยน้ำสะอาดผสมกับหอมแดงสับและมะเขือเทศสด ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือบาโกอองและน้ำส้มสายชู ความนิยมได้แพร่กระจายไปยังรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซียด้วย (ซึ่งสะกดว่า latok) เนื่องจากการอพยพของชาวบาเจา[10][5]

ในโอกินาว่าประเทศญี่ปุ่น สาหร่ายพวงองุ่นมีชื่อเรียกกันว่า อุมิบุโด (ญี่ปุ่น: 海ぶどう; โรมาจิ: umi-budō) ซึ่งแปลว่า "องุ่นทะเล" รับประทานโดยการจุ่มพนซุ ทำเป็นซูชิ ใส่สลัด หรือทานทั้งอย่างนั้น

สาหร่ายพวงองุ่นยังมีรับประทานกันในเวียดนามซึ่งเรียกว่า rong nho หรือ rong nho biển ซึ่งหมายถึง "สาหร่ายองุ่น" ในประเทศเกาหลีเรียกกันว่า bada podo (바다포도) ซึ่งหมายถึง "องุ่นทะเล"; และในประเทศอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี) ซึ่งเรียกว่า bulung

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาหร่ายพวงองุ่น http://www.authenticworldfood.com/en/ingredients/s... http://www.lemanger.fr/index.php/reportages/lato-t... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25183280 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25889508 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30643691 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4032834 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4350654 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6329336 http://www.algaebase.org/search/species/detail/?sp... //doi.org/10.1007%2Fs10811-013-0227-9