ลักษณะการวางท่า ของ สิงโตในมุทราศาสตร์

ลักษณะการวางท่าของสิงโตก็มีด้วยกันหลากหลายเพราะความพยายามที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างตราหรือธง แต่ในยุคกลางลักษณะการวางท่าของสิงโตมีอยู่เพียงไม่กี่ท่าที่ใช้กัน[1] สิ่งที่มักจะสร้างถกเถียงกัน (โดยเฉพาะในตราอาร์มของฝรั่งเศส) คือความแตกต่างระหว่างสิงโตในท่าเดินว่าเป็น “เสือดาว” หรือไม่[1] ลักษณะการวางท่าหลักของสิงโตในตราอาร์มก็ได้แก่:

ชื่อท่าตัวอย่างคำบรรยาย
“Rampant”
“ยืนผงาด”
“ยืนผงาด” เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[2] ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไป บางท่าก็จะยืนกางขาบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” มักจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ

ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร[3]

“Passant”
“ยืนยกเท้าหน้า”
“ยุรยาตรยกเท้าหน้า”
“ยืนยกเท้าหน้า” เป็นท่ายืนขณะที่ยกอุ้งเท้าหน้า สามขายืนบนดิน[4] “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour) [4]

ข้อสังเกต: สิงโตที่ใช้ท่านี้อาจจะเรียกว่า “เสือดาว” (ดูคำอธิบายข้างล่าง)

“Statant”
“ยืน” / “ยุรยาตร”
“ยืน” เป็นท่าที่ทั้งสี่เท้าอยู่บนพื้น และขาหน้ามักจะชิดกัน[5] ท่านี้เป็นท่านิยมใช้สำหรับบนเครื่องยอดมากกว่าที่จะท่าที่ใช้เป็นตราบนโล่หลัก[6]
“Salient”
“กระโจน”
“กระโจน” เป็นท่าที่ยืนบนขาหลังสองขาชิดกัน และสองขาหน้ายกขึ้นพร้อมกันในท่าพร้อมที่จะกระโจน[6] ท่านี้หาดูได้ยากสำหรับการใช้กับสิงโต[6] แต่เป็นท่าที่ใช้ได้กับสัตว์อื่นๆ บนตราได้
“Sejant”
“นั่ง”
“นั่ง” เป็นท่านั่งคร่อมที่ขาหน้าทั้งสองขาอยู่บนพื้น[7]
“Sejant erect”
“นั่งยกเท้าหน้า”
“นั่งยกเท้าหน้า” เป็นท่านั่งแต่หลังตรง และขาหน้าทั้งสองยกขึ้นในท่าเดียวกับท่ายกขาหน้าของท่า “Rampant” ที่บางครั้งทำให้เรียกท่านี้ว่า “Sejant-rampant”[7]
“Couchant”
“นอนสง่า”
“นอนสง่า” เป็นท่านอนแต่ยกหัว[8]
“Dormant”
“หลับ”
“หลับ” เป็นท่านอนก้มหัวหนุนอุ้งเท้าหน้าและปิดตาเหมือนหลับ[8]

ลักษณะการวางท่าอื่นนอกจากนี้ก็ยังเป็นการและบรรยายอย่างละเอียด สิ่งที่น่าสังเกตคือตราอาร์มจะมีด้านซ้าย และ ขวา (dexter และ sinister) ของผู้ถือโล่ - ฉะนั้นเมื่อวาดเป็นรูปด้านซ้ายของโล่จึงเรียกว่าด้านขวา (sinister) เพราะเป็นด้านขวาของผู้ถือโล่ และ ด้านขวาของโล่จึงเรียกว่าด้านซ้าย (dexter) เพราะเป็นด้านซ้ายของผู้ถือโล่ (ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายของคำ เพราะตามปกติแล้วคำว่า “dexter” แปลว่า “ขวา” และ คำว่า “sinister” แปลว่า “ซ้าย”) หัวสิงห์โดยทั่วไปแล้วจะบรรยายว่าหันหน้าไปทางขวา ซึ่งเมื่อวาดเป็นรูปจึงหันไปทางซ้ายของผู้ดูโล่ นอกจากจะระบุเป็นอื่น ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันไปทางขวา ก็เท่ากับหันไปทางซ้าย (to sinister) หรือ “contourné” ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันมาหน้ามาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “ประจันหน้า” (affronté) ถ้าหันแต่หัวมาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “หันหน้า” (guardant หรือ gardant) ถ้าหันข้ามไหล่ไปทางด้านหลักก็จักเรียกว่า “เอี้ยวคอ” (regardant)

ถ้าบรรยายว่า สิงโต (หรือสัตว์อื่น) ทำท่า “ขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง[9] หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) ตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียใช้สิงห์หางแฉก

  • สิงห์หันหน้า
    (Lion guardant)
  • สิงห์เอี้ยวคอ
    (Lion regardant)
  • สิงห์ขลาด
    (Lion coward)
  • สิงห์หางแฉก
    (Lion with forked tail)
  • สิงห์หางไขว้
    (Lion with Crossed tail)
  • สิงห์หางบิด
    (Lion with Crossed tail (reverse))
  • สิงห์หางปม
    (Lion with tail nowed)