ความสำคัญของอะมิกดะลาทางประสาทจิตวิทยา ของ อะมิกดะลา

งานวิจัยในยุคเบื้องต้นที่ทำในไพรเมตได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของอะมิกดะลา และเป็นฐานสำหรับงานวิจัยต่อ ๆ มา เช่นในงานวิจัยปี ค.ศ. 1888 ลิงวอกที่มีรอยโรคในคอร์เทกซ์สมองกลีบขมับรวมทั้งอะมิกดะลา ปรากฏว่ามีความบกพร่องทางด้านการเข้าสังคมและทางอารมณ์ความรู้สึก[34]

ไฮน์ริค คลูเวอร์ และพอล บูซี่ ภายหลังได้ต่อยอดผลงานนี้โดยแสดงว่า รอยโรคขนาดใหญ่ในสมองกลีบขมับด้านหน้าก่อให้เกิดผลที่สังเกตได้ รวมทั้งการตอบสนองเกินส่วนต่อตัวกระตุ้นทั้งหมด ระดับอารมณ์ความรู้สึกที่ต่ำกว่าปกติ การสูญเสียความกลัว เซ็กซ์จัด (hypersexuality) และ hyperorality ซึ่งเป็นภาวะที่เอาวัตถุที่ไม่สมควรเข้าไปในปากลิงบางตัวยังมีภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia) คือไม่สามารถรู้จำวัตถุที่คุ้นเคยได้อีกด้วย คือ จะเข้าไปหาสิ่งมีชีวิตและวัตถุไม่มีชีวิตโดยไม่ทำการแยกแยะ และเกิดความสูญเสียความกลัวในผู้ทดลอง ความผิดปกติทางพฤติกรรมเช่นนี้ภายหลังได้ชื่อว่า Klüver-Bucy syndrome ตามชื่อผู้ทดลอง[35]

แต่เพราะว่า คอร์เทกซ์สมองกลีบขมับมีโครงสร้างต่าง ๆ มากมาย ทำให้ยากที่จะแยกแยะความสัมพันธ์ของโครงสร้างหนึ่ง ๆ กับอาการของโรคที่แสดงออกหนึ่ง ๆ งานวิจัยต่อมาภายหลังจึงเริ่มพุ่งความสนใจไปที่อะมิกดะลาโดยเฉพาะ แม่ลิงที่มีความเสียหายในอะมิกดะลาปรากฏว่า มีการลดระดับพฤติกรรมของแม่ต่อลูกน้อยของตน และบ่อยครั้งมีการทำทารุณกรรมหรือปล่อยปะละเลยลูกของตน[36]

ในปี ค.ศ. 1981 นักวิจัยพบว่าการทำรอยโรคโดยคลื่นวิทยุ[37] (Radio frequency lesioning) ที่อะมิกดะลาทั้งโครงสร้าง ก่อให้เกิด Klüver-Bucy syndrome[38]

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เช่น MRI นักประสาทวิทยาได้ทำการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับอะมิกดะลาในสมองมนุษย์ข้อมูลงานวิจัยแสดงว่า อะมิกดะลามีบทบาทสำคัญในสภาวะของจิตใจ และมีความสัมพันธ์กับโรคทางใจ (mental illness) หลายอย่าง งานวิจัยบางพวกแสดงว่า เด็กที่มีโรควิตกกังวล (anxiety disorders) มักจะมีอะมิกดะลาซีกซ้ายที่มีขนาดเล็กกว่าปกติอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีโดยมาก มีความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดที่ใหญ่ขึ้นของอะมิกดะลาซีกซ้าย กับการใช้ยา selective serotonin reuptake inhibitor ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้า หรือกับการรักษาโดยจิตบำบัด (psychotherapy)อะมิกดะลาซีกซ้ายมีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการติดต่อกับผู้คน โรคย้ำคิดย้ำทำ และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ รวมทั้งความวิตกกังวลที่เกิดจากความพลัดพรากและความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป[39]

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2003 คนไข้โรคความผิดปกติทางบุคคลิกภาพแบบอารมณ์ไม่คงที่ (borderline personality disorder[40]) มีระดับการทำงานของอะมิกดะลาด้านซ้ายมากกว่าบุคคลกลุ่มควบคุม คนไข้บางพวกประสบความยากลำบากในการระบุใบหน้าที่มีสีหน้ากลาง ๆ หรือกลับเห็นใบหน้าที่เป็นกลาง ๆ เหล่านั้นว่า น่ากลัว[41] บุคคลที่มีภาวะ psychopathy[42] มีการตอบสนองอัตโนมัติทางกายที่ลดลงเมื่อเทียบกับคนอื่น เมื่อประสบกับสิ่งกระตุ้นที่น่ากลัว[43]

ในปี ค.ศ. 2006 นักวิจัยพบว่ามีการทำงานสูงกว่าปกติในอะมิกดะลาเมื่อคนไข้ดูใบหน้าที่ดุ หรือประสบกับสถานการณ์ที่น่ากลัว และอาการของคนไข้โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder) ที่อยู่ในขั้นรุนแรงพบว่ามีสหสัมพันธ์ (correlation) กับการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นของอะมิกดะลา[44] โดยนัยเดียวกัน คนไข้ซึมเศร้ามีระดับการทำงานในอะมิกดะลาซีกซ้ายที่สูงกว่าปกติเมื่อพยายามที่จะระบุอารมณ์ในใบหน้าทุกประเภท และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้าที่ดุ เป็นที่น่าสนใจว่า ระดับการทำงานเกินนี้ เข้าสู่ระดับปกติเมื่อคนไข้ใช้ยาแก้ซึมเศร้า[45] ในนัยตรงกันข้ามกัน คนไข้โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder[46])[47] งานวิจัยจำนวนมากได้เพ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์กันระหว่างอะมิกดะลาและโรคออทิซึม[48]

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2004 และ 2006 แสดงว่า บุคคลปกติที่เห็นภาพใบหน้าดุหรือภาพใบหน้าของคนเชื้อชาติอื่น จะมีระดับการทำงานที่สูงขึ้นในอะมิกดะลา แม้ว่าภาพที่เห็นนั้นจะสั้นกว่าที่จะรู้ได้ด้วยจิตใต้สำนึก[49][50] ถึงอย่างนั้น อะมิกดะลาก็ไม่ได้เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการแปลผลไปเป็นความกลัวในสมอง เพราะว่า ในบุคคลที่มีอะมิกดะลาทั้งสองซีกสมองถูกทำลาย ก็ยังแสดงการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อใบหน้าที่ดุ แม้ว่าจะปราศจากอะมิกดะลาที่ใช้งานได้[51]

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้บอกเป็นนัยว่า ปรสิตต่าง ๆ โดยเฉพาะ Toxoplasma gondii ก่อให้เกิดซีสต์ในสมองของหนู และมักจะเข้าไปอยู่ที่อะมิกดะลา ผลงานวิจัยนี้อาจจะเป็นตัวช่วยไขปริศนาว่า ปรสิตต่าง ๆ เป็นส่วนทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ รวมทั้งโรคจิตเภทแบบระแวง (paranoia[52]) ได้อย่างไร[53]

มีการเสนอแนวทางงานวิจัยในอนาคตว่า ควรจะตอบปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของอะมิกดะลาในอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก และวิธีการที่อะมิกดะลาทำงานร่วมกันกับเขตสมองอื่น ๆ[54]

รสนิยมทางเพศ

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้บอกเป็นนัยถึงสหสัมพันธ์ (correlation) ที่อาจมีอยู่ระหว่างโครงสร้างทางสมอง รวมทั้งความต่าง ๆ กันของขนาดและรูปแบบการเชื่อมต่อทางประสาทในอะมิกดะลา กับรสนิยมทางเพศ (sexual orientation)ผู้ชายรักเพศเดียวกันมักจะมีรูปแบบของอะมิกดะลาที่คล้ายผู้หญิงมากกว่าผู้ชายรักต่างเพศ เป็นนัยเดียวกันกับที่ผู้หญิงรักเพศเดียวกันมักมีรูปแบบของอะมิกดะลาที่คล้ายผู้ชายมากกว่าผู้หญิงรักต่างเพศ มีข้อสังเกตว่า การเชื่อมต่อกันทางประสาทในอะมิกดะลาซีกซ้ายนั้นมีมากกว่าในผู้ชายรักร่วมเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบในผู้หญิงรักต่างเพศเช่นเดียวกัน ในขณะที่ การเชื่อมต่อกันทางประสาทในอะมิกดะลาซีกขวามีมากกว่าในผู้หญิงรักร่วมเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบในผู้ชายรักต่างเพศเช่นเดียวกัน

หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันบอกเป็นนัยว่า การเกิดขึ้นของรสนิยมทางเพศปรากฏในช่วงพัฒนาการในครรภ์[55][56]

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ปริมาตรของอะมิกดะลาในบุคคลมีสหสัมพันธ์ (correlation) เชิงบวกกับทั้งขนาด (คือจำนวนคนที่บุคคลรู้จัก) และความซับซ้อน (คือจำนวนของกลุ่มหรือพวกที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิก) ของเครือข่ายสังคม[57][58] บุคคลที่มีอะมิกดะลาที่ใหญ่กว่ามีเครือข่ายทางสังคมที่ใหญ่กว่าและซับซ้อนกว่า และสามารถประเมินสถานการณ์ทางสังคมโดยดูหน้าผู้อื่นได้อย่างแม่นยำกว่า[59] มีการสันนิษฐานว่า อะมิกดะลาที่ใหญ่กว่าทำให้มีเชาวน์ปัญญาด้านอารมณ์ (emotional intelligence[60]) ที่ดีกว่า จึงเข้ากับผู้อื่นและมีการร่วมมือร่วมใจกับผู้อื่น ให้เป็นไปในระดับที่ดีกว่า[61]

อะมิกดะลาทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองต่อการที่ผู้อื่นเข้ามาใกล้เกินไป ปฏิกิริยาเหล่านี้ไม่มีในบุคคลที่มีอะมิกดะลาเสียหายในทั้งสองซีกสมอง[62] นอกจากนั้นแล้ว โดยใช้ fMRI อะมิกดะลาปรากฏว่าทำงานเมื่อบุคคลนั้นสังเกตว่าผู้อื่นมาอยู่ใกล้ ๆ ตน เช่นเมื่อบุคคลที่ได้รับการตรวจด้วย fMRI รู้ว่า ผู้ทำการทดลองกำลังยืนอยู่ใกล้ ๆ เครื่องวัด เมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อผู้ทำการทดลองที่ยืนอยู่ในที่ไกล ๆ[62]

ความก้าวร้าว

งานวิจัยกับสัตว์แสดงว่า การกระตุ้นอะมิกดะลาเพิ่มพฤติกรรมทางเพศและความก้าวร้าว และในนัยตรงกันข้ามกัน งานวิจัยที่ใช้เทคนิครอยโรคในสมองแสดงว่า ความเสียหายที่อะมิกดะลาก่อให้เกิดผลตรงกันข้ามกัน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า เขตนี้ในสมองมีบทบาทในการแสดงและการควบคุมความดุร้าย[63]

ความหวาดกลัว

มีกรณีคนไข้ที่มีรอยโรคในอะมิกดะลาทั้งสองซีกสมอง เนื่องจากเหตุพันธุกรรมที่เรียกว่า Urbach-Wiethe disease[64] คนไข้เช่นนี้ไม่มีพฤติกรรมที่ประกอบด้วยความหวาดกลัว ข้อมูลนี้สนับสนุนผลสรุปที่กล่าวว่า "อะมิกดะลาเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการก่อให้เกิดความกลัว"[65]

โรคพิษสุราและความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสุรา

อะมิกดะลามีบทบาทในการดื่มสุราไม่บันยะบันยัง (binge drinking)[66] เพราะมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะการเมาบ่อย ๆ[67] โรคพิษสุราเกี่ยวข้องกับการทำงานในระดับต่ำในเครือข่ายประสาทที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลทางอารมณ์ รวมทั้งอะมิกดะลาด้วย[68] โปรตีน Protein kinase C-epsilon[69] ในอะมิกดะลามีความสำคัญในการควบคุมการตอบสนองทางพฤติกรรมต่อมอร์ฟีน เอทานอล และในการควบคุมพฤติกรรมที่ประกอบด้วยความวิตกกังวลโปรตีนนี้ควบคุมการทำงานของโปรตีนชนิดอื่น ๆ และมีบทบาทในความสามารถในการดื่มสุราเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ[70][71]

ความชำนาญพิเศษเฉพาะสมอง

อะมิกดะลาในสมองซีกซ้ายและซีกขวามีการทำงานแตกต่างกัน ในงานวิจัยหนึ่ง การกระตุ้นอะมิกดะลาซีกขวาด้วยไฟฟ้าก่อให้เกิดอารมณ์เชิงลบ โดยเฉพาะความหวาดกลัวและความเสียใจ ส่วนการกระตุ้นอะมิกดะลาซีกซ้ายก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่น่าปรารถนา เช่นความสุขใจ หรือที่ไม่น่าปรารถนา เช่นความกลัว ความวิตกกังวล และความเสียใจ[72] หลักฐานอื่น ๆ ยังบอกเป็นนัยว่า อะมิกดะลาซีกซ้ายมีบทบาทในระบบรางวัล (reward system[73]) ของสมอง[74]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะมิกดะลา http://www.benbest.com/science/anatmind/anatmd9.ht... http://bps-research-digest.blogspot.com/2013/02/ex... http://www.bprcem.com/article/S1521-690X(07) http://www.cell.com/current-biology/retrieve/pii/S... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.nature.com/nature/journal/v439/n7078/ab... http://www.nature.com/neuro/journal/vaop/ncurrent/... http://dictionary.reference.com/search?q=amygdala http://www.sciencedaily.com/releases/2004/12/04120... http://www.sciencedaily.com/releases/2006/01/06011...