ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ของ อะมิกาซิน

ในกลุ่มที่มีประวัติการแพ้ต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้อะมิกาซินในการรักษา เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาข้ามชนิดได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีความไวต่อซัลไฟต์มากกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคหอบหืด ซึ่งก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้เช่นกัน[9] เนื่องจากในส่วนผสมของเภสัชภัณฑ์ของอะมิกาซินส่วนใหญ่นั้นมักมีส่วนผสมของโซเดียมเมทาไบซัลไฟต์รวมอยู่ด้วย[2]

โดยปกติแล้ว ไม่ควรบริหารยาอะมิกาซิน ร่วมกับ หรือก่อน หรือหลัง ยาอื่นที่ทำให้เกิดพิษต่อไต ระบบประสาท และหู เช่นเดียวกับอะมิกาซิน ซึ่งยาเหล่านั้นได้แก่ ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ทุกชนิด, อะไซโคลเวียร์, แอมโฟเทอริซินบี, แบซิทราซิน, คาพรีโอไมซิน, โคลิสติน, โพลีมิกซิน บี, แวนโคมัยซิน, และซิสพลาติน[2] รวมถึงการห้ามใช้ร่วมกับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents) เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาตได้[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะมิกาซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.34635... http://reference.medscape.com/drug/amikin-amikacin... http://www.wedgewoodpetrx.com/learning-center/prof... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11810483 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24216518 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28365471 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4568692 http://apps.who.int/medicinedocs/documents/s16879e... http://www.who.int/medicines/publications/essentia... http://www.kegg.jp/entry/D02543